เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม
ข่าวคราวโด่งดังในนาทีนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของนักแสดงสาวอย่าง “แตงโม ภัทรธิดา” ที่มีโรคประจำตัวเป็น “โรคซึมเศร้า” ประกอบกับผิดหวังทางด้านความรักอย่างรุนแรง ทำให้เกิดความรู้สึกน้อยอกน้อยใจ จนถึงขั้นคิดสั้นทำร้ายตัวเองถึงขั้นฆ่าตัวตาย หลายคนคงอาจจะคิดว่าโรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่แท้จริงแล้วเป็นภัยเงียบที่ไม่มีใครรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นกับเราตอนไหน วันนี้ Dodeden.com เลยขอมาพูดถึงโรคนี้ให้หลายคนได้รู้จัก และเช็คตัวเองว่าเข้าข่ายป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า … อย่ามองข้ามนะคะ เพราะไม่มีใครรู้ว่าเป็นหรือเปล่า นอกจากตัวคุณเองค่ะ!
โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพจิต ที่ไม่อาจมองข้ามได้ เป็นภัยเงียบที่หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา จะทำให้ผู้ป่วยต้องติดอยู่กับความรู้สึกหดหู่ตลอดกาล ซึ่งเป็นโรคที่มีความน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก
ในสังคมแต่ละวันเรามักจะได้เห็นข่าวสลดใจ ทั้งการฆ่าตัวตาย การทำร้ายร่างกายตัวเอง หรือผู้อื่น ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะภาวะซึมเศร้า สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการผิดหวัง, การโดนรังแก, การโดนทำร้ายจิตใจ, หรือภาวะเครียดจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันต่างๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมองตัวเองว่าไร้ค่า การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์รายงานเองของผู้ป่วย พฤติกรรมที่ญาติหรือเพื่อนรายงาน และการตรวจสถานะทางจิต
หากไม่แน่ใจว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวเป็นเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ลองสำรวจ ประเมินเหตุการณ์ เหล่านี้ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งความคิดและความรู้สึกของตัวเราหรือคนใกล้ตัวเป็นแบบนี้หรือไม่
โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น
การรักษาโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยและครอบครัวจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำ ร่วมไปกับการรับประทานยาแก้ซึมเศร้า ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำอาจเป็นจิตแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัว ปรับใจ กับปัญหาชีวิตได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยได้รับการรักษาติดต่อกันตามคำแนะนำของแพทย์ โดยรับประทานยาสม่ำเสมอ ในเวลา 6 เดือน จะรู้สึกเหมือนฝันร้ายได้ผ่านพ้นไป
การรับประทานยาแก้ซึมเศร้า ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อน เพราะส่วนใหญ่ ยาจะมีฤทธิ์ยับยั้งการดูดซึมสารสื่อประสาทกลับเข้าเซลล์ จึงทำให้มีปริมาณสารสื่อประสาทเพิ่มขึ้นหรือสมดุลย์ขึ้น โดยยาจะมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้คลื่นไส้ รู้สึกมึนๆ หรือง่วงนอนง่าย บางรายอาจเกิดอาการ หวิวๆ หน้ามืดจะเป็นลม ตาพร่า ปากแห้ง ท้องผูก ปัสสาวะขัดและอ้วนขึ้น เป็นต้น
ข้อสำคัญคือ ยาแก้ซึมเศร้าไม่มีฤทธิ์เสพย์ติด แต่ราคาค่อนข้างสูง ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาต่อเนื่องประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากที่อาการเริ่มดีขึ้น ให้รับประทานต่อไปอีก หากหยุดรับประทานยาเร็วเกินไปอาจกลับมีอาการซึมเศร้าได้อีก องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ควรรับประทานยาต่อไปนาน 4-6 เดือนเพื่อป้องกันอาการซึมเศร้ากำเริบอีก มีผู้ป่วยร้อยละ 20 ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องไปอีกหลายๆ ปี
สุดท้าย โดดเด่นขอแนะนำว่า การพูดคุยกับผู้ป่วย หรือผู้ป่วยได้ออกมาพูดคุยกับคนรอบข้าง ได้เจอผู้คนสังคมบ้าง จะทำให้โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้านั้นน้อยลง กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด รวมไปถึงการออกกำลังกาย การได้วิ่งในสวนสาธารณะ จะทำให้ร่างกายของเราสดชื่น เพราะฉะนั้น หากมีปัญหา หรือคิดว่าตัวเองกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้า ควรใช้สติไตร่ตรอง ค่อยๆแก้ปัญหา เครียดมากๆ ก็หาทางออกด้วยการออกกำลังกาย หรือวิ่งให้มากๆ ก็จะช่วยให้ได้สุขภาพที่ดีขึ้นด้วย
ข้อมูลจาก : thaifamilylink, wikipedia, kanchanapisek, kapook