โรคอ้วนกับการนอนกรน ปัจจัยอันตรายที่อาจทำให้คุณหยุดหายใจได้! วัดดัชนีมวลกายวิธีง่ายๆ คือ ชายไทย เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร นอกจากนี้ กรรมพันธุ์ก็มีส่วนเสริมให้เกิดโรคนอนกรนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรายที่ไม่อ้วน แต่มีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย จะถือว่ามีโอกาสเสี่ยงกว่าคนปกติ 1.5 เท่า
โรคอ้วนกับการนอนกรน
นอกจากนี้ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือการทานยาบางชนิด ทําให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมทั้งกล้ามเนื้อที่คอยพยุงช่องทางเดินหายใจให้เปิด หมดแรง จนเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อหัวใจและสมอง ล้วนเป็นปัจจัยเสริมทําให้หยุดหายใจได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
นอนกรน…รักษาได้
วิธีรักษาผู้มีอาการนอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จําเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสม การรักษาแบ่งออกได้ 3 วิธีคือ
- การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นวิธี
แรกที่แพทย์จะแนะนําให้ผู้ป่วย เริ่มจากลดน้ำหนัก ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เช่น เครื่องดื่มแอกอฮอล์ ยานอนหลับ เป็นต้น รวมถึงการปรับเปลี่ยนท่านอน ไม่ควรนอนหงาย
- การรักษาโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจขณะนอน
เครื่องมือดังกล่าว จะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น ลดการอุดกั้นขณะนอนหลับ
- การรักษาโดยวิธีผ่าตัด
หากการเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนดีขึ้น การผ่าตัดจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา เพื่อเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจส่วนบน และเพื่อแก้ไขการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
วิธีการดูแลตนเอง
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่ม
เพราะความอ้วนทําให้ไขมันไปสะสมอยู่ที่ผนังช่วงคอ ทําให้ทางเดินหายใจกลับมาแคบใหม่ได้ จนอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กลับมาเป็นเหมือนเดิม
- ออกกําลังกายสม่ำเสมอ
เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนตึงตัว กระชับและชะลอไม่ให้หย่อนยาน การออกกําลังกายแบบแอโรบิค โดยการเดินเร็ว ขี่จักรยานอยู่กับที่ การว่ายน้ำให้ได้ 40 นาที ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาทิ หมั่นเดินขึ้นลงบันได แทนที่จะใช้ลิฟท์ มีผลทําให้รอบเอวลดลง รอบคอลดลง และหัวใจแข็งแรงขึ้นได้
………………………………………………….
ไม่น่าเชื่อเลยนะ ว่าอาการนอนกรนจริงๆ แล้วอันตรายกว่าที่เราคิด ดังนั้น หากรู้ตัวว่านอนกรน หรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคนอนกรน ควรรีบหา ทางปรึกษาแพทย์เพื่อทําการรักษาเป็นดีที่สุดนะคะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com