ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

สวัสดีค่ะ คุณครูลิลลี่ก็ไม่แน่ใจนะคะว่าเรื่องราวของภาษาไทยที่จะหยิบยกมาพูดถึงในวันนี้ เรื่องราวจะหักมุมจบลงตรงที่ใด แต่เอาเป็นว่า ณ วันนี้จะมาบอกเล่าเก้าสิบกันถึงกรณีที่เป็นเรื่องโต้แย้งกันอยู่ในขณะนี้ นั่นก็คือ เรื่องของการใช้คำศัพท์และการทับศัพท์รวมทั้งสะกดคำว่า โรฮิงญา และ โรฮีนจา ค่ะ จริงๆ คำนี้ เราๆ ได้ยินกันมานานแล้วนะคะ ทั้งตามข่าวโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่เชื่อว่าก็ยังมีคุณผู้อ่านจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักและไม่เข้าใจว่าจริงๆ แล้ว คำๆ นี้หมายถึงกลุ่มคนกลุ่มใดกันแน่

NjpUs24nCQKx5e1D7R3rzGqAUpuYtbPQI35gr6KCwQD

จนมาเมื่อประมาณช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาที่มีการค้นพบศพของชนกลุ่มนี้ที่ทางภาคใต้ของประเทศไทย เรื่องราวข่าวคราวความเห็นที่แตกต่างของการบัญญัติใช้คำๆ นี้จึงกลายเป็นกรณีโต้แย้งกันขึ้นมา ก่อนอื่นคุณครูลิลลี่ขออนุญาตอธิบายความหมายหรือความเป็นมาของคนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ก่อนนะคะ และก็ขออนุญาตใช้คำเดิมว่า โรฮิงญา ก่อนก็แล้วกันนะคะ

โรฮิงญา (คำเดิมคำนี้) ภาษาอังกฤษสะกดว่า Rohingya เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศพม่า อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ หรือทางตะวันตกของประเทศ คนกลุ่มนี้มีถิ่นฐานอยู่ในบริเวณรัฐยะไข่มาตั้งแต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในอดีตบริเวณนี้เป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมอาหรับที่เดินทางค้าขายมาตั้งแต่โบราณ

ชาวโรฮีนจามีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับชาวเอเชียใต้ โดยเฉพาะชาวเบงกอล บางส่วนสืบเชื้อสายมาจากชาวอาหรับ เปอร์เซีย และปาทาน ที่อพยพมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโมกุล ในปี พ.ศ. 2521 ชาวโรฮีนจาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่า ชาวโรฮีนจาถูกปฏิเสธที่จะได้รับสัญชาติพม่า ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนัก จนเป็นเหตุให้มีการอพยพออกนอกประเทศจนสร้างปัญหามาถึงปัจจุบันนี้ค่ะ

ต่อไปนี้ก็มาถึงเรื่องที่ขัดแย้งและโต้เถียงกันอยู่ก็คือการใช้คำทับศัพท์ระหว่าง โรฮิงญา แต่เดิม กับคำใหม่นั่นคือ โรฮีนจา เรื่องราวก็มาจากการที่โฆษก กอ.รมน. อ้างอิงความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน ตั้งแต่ 31 กรกฎาคม 2556 ว่า คำเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ต้องใช้คำว่า โรฮีนจา พร้อมทั้งระบุว่า การใช้ว่า โรฮิงญา นั้นผิด ทำให้เกิดความสงสัยและสับสนกันว่าจำเป็นต้องใช้สองคำนี้อย่างไร และหากเขียนผิดจะมีความผิดอย่างไรหรือไม่

เรื่องน่าสนใจ