ในโลกออนไลน์ ได้มีสมาชิกเฟสบุ๊ค หลายๆ คนที่สนใจเกี่ยวกับบัตรทอง โพสต์ข้อความ และ ภาพน่าสนใจ ซึ่งระบุว่า จู่ๆ ก็คิดถึงคนๆ นี้ขึ้นมา “หมอหงวน” นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.) คนแรก ซึ่งก็คงไม่ต่างจากหลายคนที่คิดถึงท่านขึ้นมาในช่วงเวลาแห่งการทำประชาพิจารณ์ ร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ……..
โดย นายแพทย์มงคล ณ สงขลา เป็นแพทย์ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุขมายาวนาน ทั้งปลัด และ รัฐมนตรี โพสต์ข้อความว่า “ก่อนอื่นผมขอขอบคุณท่านนายกแทนประชาชนคนไทยที่ยืนยันต่อสาธารณะว่าไม่มีการยกเลิกหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า หรือ 30บาท แต่ต้องรีบเสนอเรื่องนี้ต่อไปเพื่อขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบถึงการที่มีความพยายามจากผู้ให้บริการ พยายามเสนอแก้กฏหมายเพื่อให้อำนาจการตัดสินใจการบริหารจัดการ สปสช.และงบประมาณไปอยู่ในอำนาจของตน
ถ้าท่านนายกปล่อยไปจะเป็นการทำลายหลักการแยกผู้ซื้อบริการ คือสปสช.ที่ทำหน้าที่แทนประชาชน ออกจาผู้ให้บริการ
เพราะหากเงินเอาไปใส่มือให้ผู้ให้บริการแล้วจะไม่มีหลักประกันใดๆว่าผู้บริการจะควักกระเป๋าเอาเงินมาจ่ายค่าบริการให้ประชาชนอย่างเหมาะสม เรื่องนี้มีที่มาที่ไป
เมื่อครั้งวางหลักเกณฑ์โครงการ30บาทปี2540 ผมเป็นผู้นำปฏิบัติตกลงกันว่าถ้ากระทรวงสาธรณสุขกระจายอำนาจให้หน่วยบริการออกไป กระทรวงจะทำหน้าที่ซื้อบริการ สปสช. ก็ไม่จำเป็นตัองตั้งขึ้นมา แต่สุดท้ายกระทรวงไม่ยอมปล่อยหน่วยบริการออกไป และต่างก็เห็นพ้องด้วยกันว่าต้องตั้งสปสช.ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แทนประชาชน
ท่านนายกครับกฎหมายที่แก้ไขหลายประเด็นที่ทำลายหลักการที่กล่าวมาแล้ว เช่นตัดเงินเดือนไปให้กระทรวงสาธารณสุข เพิ่มสัดส่วนกรรมการผู้ให้บริการ และให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน ลดกรรมการภาคประชาชนลง ดึงงบจัดซื้อยาราคาแพงและจำเป็นไปทำเอง ทั้งที่ประจักษ์ชัดว่า สปสช. บริหารงบฯก้อนนี้ประหยัดไปได้เป็นแสนล้านในระยะไม่กี่ปี
ท่านนายกครับ กฎหมายที่กรรมการแก้ไขและกำลังจะเสนอท่านนั้น ผมพิจารณาเห็นว่ามีลักษณะเป็นการระเมิดสิทธิของประชาชนและใช้งบประมาณแผ่นดินที่ไม่เป็นธรรมครับ
ขณะที่ชาวเน็ตได้แสดงความคิดเห็นว่า ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี สปสช. ได้เห็นทั้งฝั่งประชาชนและฝั่งผู้ให้บริการเข้ามาร้องเรียน ร้องทุกข์ และขอคำแนะนำหลากหลายเรื่องในการใช้สิทธิบัตรทอง
ข้อเสนอการให้ผู้มีสิทธิบัตรทองไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ไหนก็ได้นั้น เป็นข้อเสนอที่อยู่ในรายงานการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปฯ ประจำปี ทุกปี …. แต่ยังไม่สามารถผลักดันให้ทำเป็นนโยบายได้ ด้วยเหตุหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่
หลายครั้งที่เจอ “ประชาชน” ต้องการขอย้ายมารับสิทธิบัตรทองที่ “โรงพยาบาลศรีนครินทร์” ด้วยเหตุว่ามั่นใจในคุณภาพการรักษา บางรายขนาดย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในเขตบริการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เพราะไม่ต้องการไปเริ่มรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน … ไม่ต้องการไปตามระบบการส่งต่อ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ขอบคุณภาพจาก อ.ประชาสรรค์ ค่ะ