เพื่อนๆรู้หรือไม่ว่าไขมันในร่างกายของเรามีหลายชนิดด้วยกัน บางชนิดมีประโยชน์มาก ช่วยห่อหุ้มอวัยวะภายใน บางชนิดมีไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกาย บางชนิดมีไว้งั้นๆเอาไว้หนักร่างกายเฉยๆ แต่มีไขมันชนิดหนึ่งในร่างกายที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลา ยิ่งมีไขมันชนิดนี้มากอาจทำให้เกิดโรคที่ถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว เจ้าไขมันชนิดนี้เรียกว่า Visceral Fat มันเป็นอย่างไรมารู้จักกับมันกันเลยครับ

15-75

Visceral Fat คืออะไร

โดย ปกติถ้าเราพูดถึงไขมัน เราก็จะนึกถึงสิ่งที่นุ่มๆอยู่ใต้ผิวหนังของเราใช่ไหมครับ ยิ่งเราอ้วนขึ้นมากเท่าไร ไขมันใต้ผิวหนังก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ เจ้าไขมันพวกนี้หลายคนไม่ชอบมันเลยเพราะมันทำให้ดูอ้วน แต่จริงๆแล้วไขมันพวกนี้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเท่าไรครับ มันเป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกายที่ขนมาเก็บไว้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ (แค่มันทำให้เราดูอ้วนซึ่งจริงๆก็ไม่มีใครชอบเท่าไรนัก ” )

แต่ไขมันตัวร้ายจริงๆอยู่อีกที่หนึ่งครับ ไขมันชนิดนี้เรียกว่า Visceral Fat ซึ่งอาศัยอยู่ภายในบริเวณช่องท้องครับ มันอยู่ลึกลงไปในท้องของเรา มันเป็นไขมันที่ห่อหุ้มอวัยวะภายใน ไขมันชนิดนี้จะแข็งกว่า มันเป็นไขมันที่ทำให้พุงของเราแข็งเสมือนกับกินลูกบอลลงไปเลยยังไงยังงั้น ทุกๆคนมีเจ้านี่เป็นจำนวนที่แตกต่างกันไป ไขมันชนิดนี้ยิ่งมีเยอะยิ่งอันตรายครับ มันเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงหลายชนิดทีเดียว เช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคความดันสูง และโรคอื่นๆอีกมากมาย

“ไม่เกี่ยวกับความอ้วน.. คนผอมก็มี Visceral Fat เยอะได้!”

มันไม่เหมือนกับไขมันใต้ผิวหนังครับ ไขมันใต้ผิวหนังเกิดจากการที่เรารับแคลอรี่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะใช้หมด ร่างกายจึงนำไปเก็บสะสมไว้ แต่ Visceral Fat เกิดจากการที่เรามีไลฟ์สไตล์ที่มีการเคลื่อนไหวน้อยในแต่ละวันครับ ใช่แล้วครับ Visceral Fat เกิดจากการที่เราไม่ได้ออกกำลังกาย
และทำให้หายไปด้วยการออกกำลังกาย!

มีงานวิจัยกับผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนและเบาหวาน โดยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้ควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว ส่วนกลุ่มที่สองให้ควบคุมอาหารพร้อมๆกับการออกกำลังกาย
ผลค้นพบว่าการกลุ่มแรกมีไขมันใต้ชั้นผิวหนังลดลงแต่ visceral fat ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ส่วนกลุ่มที่สองที่มีการออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย พบว่าทำให้ ทั้งไขมันใต้ผิวหนังและ visceral fat ลดลงอย่างชัดเจน
อีกงานวิจัยหนึ่งพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นเวลา 45 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ สามารถช่วยลด Visceral Fat ในผู้ที่เป็นโรคอ้วนที่มีอายุระหว่าง 50-75 ปี ได้ 3.4-6.9% ด้วยกัน

หลายๆ คนเมื่อเริ่มออกกำลังกายไปสักพักจะพบว่ากางเกงหลวมขึ้นทั้งๆที่น้ำหนักยังคง ที่เท่าเดิม คำอธิบายโดยทั่วไปก็จะบอกว่าเพราะกล้ามเนื้อมีมากขึ้นและไขมันมีน้อยลงจึงทำ ให้น้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลง(ประมาณว่าน้ำหนักไขมันลดลงแต่มีน้ำหนักกล้ามเนื้อ มาแทน) แต่อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้ก็คือ Visceral Fat เป็นไขมันชนิดแรกที่ถูกเบิร์นจากการออกกำลังกาย ดังนั้นเมื่อ Visceral Fat ซึ่งแข็งและอยู่บริเวณช่องท้องหายไป เราจึงรู้สึกว่าพุงเรายุบลงครับ

ขอขอบคุณ เฟสบุ๊ค Elmi Trainer

เรื่องน่าสนใจ