ไขมันในเลือดสูง ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ พบอัตราความชุกภาวะอ้วนในคนไทยเพิ่มขึ้นทุกกลุ่มอายุ ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว (Artherosclerosis) และทําให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) ตามมา
ที่พบบ่อย ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heartdisease) โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (peripheral arterial disease) นอกจากนี้ อาจก่อให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้ ซึ่งเป้าหมายในการรักษาภาวะระดับไขมันในเลือดผิดปกติระดับปฐมภูมิ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว เราจะต้องควบคุม Total cholesterol ให้ไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดําเนินการลดระดับไขมันในเลือดของผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าไม่ได้ดูแลตั้งแต่เริ่มต้น ปัญหาความเจ็บป่วยอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้ที่เป็นโรค อันเกิดจากสภาพร่างกายที่เสื่อมมากกว่าเจริญเติบโต อวัยวะต่างๆ สูญเสียหน้าที่และตายไปในที่สุด
เป็นเหตุนํามาซึ่งความเจ็บป่วยและความผิดปกติมากขึ้น ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพ เป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ จนเป็นลักษณะนิสัยในการดําเนินชีวิตประจําวัน ส่งเสริมให้เกิดความสมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ยกระดับภาวะสุขภาพ เพื่อให้เกิดความผาสุก อิ่มอกอิ่มใจ มีคุณค่าในตนเอง ประกอบด้วยพฤติกรรมหลักๆ 2 ด้าน คือ
พฤติกรรมการกินอาหาร
คือ กินอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสมในแต่ละวัน เช่น การกินอาหารครบ 5 หมู่ ชนิดและปริมาณของอาหารต้องเหมาะสมกับวัย และสภาพร่างกาย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มและอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น สุรา กาแฟ
พฤติกรรมการออกกําลังกาย
คือ การปฎิบัติตัว เพื่อให้ร่างกาย กล้ามเนื้อ และกระดูก มีการเคลื่อนไหว เป็นการทํากิจกรรมที่ใช้พลังงาน การบริหารกล้ามเนื้อ เช่น การเดิน การถีบจักรยาน โดยใช้ระยะเวลาในการออกกําลังกายครั้งละ 30 นาที เป็นเวลา 3 – 5 วันต่อสัปดาห์
……………………………………………………..
นอกจากนี้ การป้องกันหรือหลีกเลี่ยงจากภาวะซึมเศร้า โดยการพบปะ พูดคุยหรือการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ก็จะช่วยให้รู้สึกสบายทั้งร่างกายและจิตใจได้ค่ะ
เนื้อหาโดย Dodeden.com