ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. นพ.ศรายุทธ อุตตมางคพงค์ ผอ.สนง.ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี (สคร.7) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูฝน ประชาชนเกิดพฤติกรรมการกักเก็บน้ำในภาชนะ ก็ยิ่ง ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพิ่มขึ้นอีก

จากรายงานสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของกลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-27 มิ.ย.58 พบว่า มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วทั้งสิ้น จำนวน 1,753 ราย เสียชีวิต 1 ราย เป็น ด.ช.อายุ 11 ปี ชาว อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี เสียชีวิตเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดที่ จ.อุบลราชธานี พบ ผู้ป่วย 725 ราย รองลงมาคือ จ.ศรีสะเกษ พบผู้ป่วย 503 ราย และคาดว่าในปีนี้จะพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วถึง 900 ราย

EyWwB5WU57MYnKOuXuZZwrlL4fsVAfCSRYBvdCszQ4BagyE1OFesNV

นพ.ศรายุธ กล่าวต่อว่า การป้องกันไข้เลือดออกจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือกันของหน่วยงานภาครัฐฯ เช่น อปท. ผู้นำในชุมชน ครู นักเรียน และ ประชาชนในพื้นที่ช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายทุก 5-7 วัน โดยเน้นกิจกรรม 5ป 1ข ได้แก่

  • 1.ป ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำทุกชนิด
  • 2.ป เปลี่ยนน้ำทุกๆ 7 วัน
  • 3.ป ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะกักเก็บน้ำ
  • 4.ป ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ
  • 5.ป ปฏิบัติเป็นประจำให้เป็นนิสัย

ส่วน 1 ข คือ ขัดภาชนะที่อาจมีคราบไข่ยุงเกาะอยู่ รวมถึงการให้ ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันไม่ให้ยุงกัดด้วยการนอนในมุ้งและทายากันยุง เชื่อว่าจะลดจำนวนผู้ป่วยและลดการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกได้

ส่วนที่ จ.มหาสารคาม นพ.คิมหันต์ ยงรัตนกิจ สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า สถานการณ์ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.มหาสารคาม มี แนวโน้มสูงขึ้นและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิต เป็นชายไทย อายุ 17 ปี อยู่ที่ อ.ชื่นชม เสียชีวิตเมื่อ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา สสจ.มหาสารคามได้ประสานไปยัง อสม.หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ประจำตำบล รพ.สต.ให้ลงพื้นที่ให้ความรู้ สถานศึกษา จำเป็นต้องฉีดพ่นสารกำจัดยุงลายและผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เล่นที่มืด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น ล้างร่อง ระบายน้ำเป็นประจำ ใส่ทรายอะเบทในน้ำ หาภาชนะ มาปิดฝาโอ่งไม่ปล่อยให้ยุงวางไข่ เป็นต้น.

เรื่องน่าสนใจ