ที่มา: Posttoday

นายไนเจล ตัน ผู้อำนวยการประจำประเทศมาเลเซียและไทย ไซแมนเทค คอร์ปอเรชั่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการปกป้องข้อมูล เปิดเผยรายงานภัยคุกคามความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ตประจำปี 2559 ว่า ในปีที่ผ่านมาอาชญากรรมไซเบอร์ในไทยสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการหลอกลวงทางโซเชียลมีเดีย ประเทศไทยติดอันดับที่ 11 ในภูมิภาคเอเชีย มีการหลอกลวงทางโซเชียลมีเดียวันละเกือบ 82 ครั้ง ขยับขึ้นจากอันดับ 12 ในปี 2557 ส่วนอันดับโลกยังอยู่ที่ 52 ไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากคนไทยเข้าสู่ระบบออนไลน์เป็นครั้งแรกเพิ่มขึ้น 

22

ขณะที่ภาพรวมการจารกรรมไซเบอร์ทั่วโลก พบว่า ข้อมูลส่วนตัวกว่า 500 ล้านรายการถูกจารกรรมหรือสูญหาย ซึ่งเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เพราะนักจารกรรมไซเบอร์จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เจาะข้อมูลทางการเงินของผู้บริโภค หรือนำไปขายต่อให้กับกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ในตลาดมืด ซึ่งผู้บริโภคควรปรับตัว ด้วยการเปลี่ยนรหัสผ่านทุก 3 เดือน ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก อย่านำเอารหัสผ่านเก่ากลับมาใช้ หรือใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่าน เพื่อยกระดับการปกป้องข้อมูล รวมถึงพิจารณาก่อนเปิดไฟล์ต่างๆ อย่างรอบคอบ ระวังการแชร์ข้อมูลที่เสี่ยงต่อการโจมตีทางเทคนิคที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบนโลกออนไลน์

นอกจากนี้ นักตุ๋นเงินออนไลน์ยังเริ่มปรับรูปแบบการหลอกลวง จากเดิมจะโทรตรงหาเหยื่อให้โอนเงินให้ หรือทำธุรกิจทางการเงินผ่านมือถือ แต่ปัจจุบันเริ่มใช้การส่งข้อความต่างๆ ทั้งผ่านเอสเอ็มเอสหรือข้อความบนแอพพลิเคชั่น ที่กระตุ้นให้เกิดการโทรกลับไปหาแก๊งหลอกลวงทางไซเบอร์นั้นเอง ซึ่งรูปแบบนี้เริ่มเกิดขึ้นในต่างประเทศแล้ว แต่คาดว่าอาจจะเริ่มเห็นในไทยปีนี้ ด้านการจารกรรมข้อมูลระดับองค์กรยังมีความถี่มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มองค์กรขนาดเล็กหรือเอสเอ็มอี โดนจารกรรมเพิ่มจาก 34% เป็น 43%

เรื่องน่าสนใจ