ไฟโบรสแกน (Fibro Scan) เป็นศัพท์ใหม่ทางการแพทย์ที่หลายคนอาจไม่รู้จักและไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดความสงสัยว่ามันคืออะไร? และมีความสำคัญกับการรักษาทางการแพทย์อย่างไร เราลองมาทำความรู้จักกับไฟโบรสแกนกันดูค่ะ!
ไฟโบรสแกน เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ตรวจหาไขมันที่สะสมอยู่ในตับ และภาวะพังผืดในเนื้อตับโดยเฉพาะ ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้ จะไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บ หรือเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหมือนกับการตรวจแบบเดิมๆ ที่ต้องใช้วิธีการเจาะตับ สามารถตรวจก่อนป่วยได้ เพราะยิ่งตรวจก่อน รู้ก่อน ก็จะยิ่งทำให้รักษาได้ทันและมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
การทำงานของไฟโบรสแกน จะใช้เทคนิค VCTETM ในการตรวจพังผืดในตับ โดยปล่อยคลื่นความถี่ต่ำที่ 50 เฮิรตซ์ออกมา ซึ่งคลื่นตัวนี้จะถูกส่งเข้าไปในตับและสะท้อนกลับมาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงต่ำ จากนั้นตัวเครื่องไฟโบรสแกนจะทำการอ่านค่า และประมวลผลออกมาว่ามีพังผืดในเนื้อตับหรือไม่ และมีมากน้อยเพียงใด
ส่วนการตรวจหาไขมันในตับ จะใช้เทคนิค CAP โดยการปล่อยคลื่นเสียงความถี่ต่ำเข้าไปในเนื้อตับเช่นเดียวกับการตรวจพังผืด แต่จะวัดค่าไขมันจากความต้านทานแทน ซึ่งหากมีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับเป็นจำนวนมาก ก็จะพบว่ามีแรงต้านทานสูงนั่นเอง นอกจากนี้ การตรวจรักษาด้วยเครื่องไฟโบรสแกน ไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออันตรายใดๆ ทั้งสิ้น ใช้เวลาเพียงแค่ 5-10 นาทีเท่านั้น แถมยังสามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งโดยไม่เป็นอันตรายอีกด้วย
และถึงแม้ว่า ไฟโบรสแกนจะเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความทันสมัย และสามารถตรวจซ้ำหลายครั้งได้โดยไม่เป็นอันตราย แต่ก็มีข้อห้ามในการใช้งานอยู่บ้างเหมือนกัน เพราะในบางกรณีก็อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่เข้ารับการตรวจได้ค่ะ
ในปัจจุบันได้มีการนำไฟโบรสแกนมาใช้ในทางการแพทย์อย่างแพร่หลาย แทนวิธีแบบดั้งเดิม ที่มีความเสี่ยงมากกว่า และให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเป็นสองเท่า ดังนั้น หากใครมีอาการผิดปกติ หรือมีปัจจัยที่อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ สามารถเข้ารับการตรวจด้วยเครื่องไฟโบรสแกนำ พร้อมทำการรักษาได้ทันที
เนื้อหาโดย โดดเด่นดอทคอม