1. สำรวจนิสัยการกินของตัวเอง
เช่น ชอบกินอาหารตอนกลางคืนหรือ ชอบกินอาหารในเวลาที่ทำอาหารหรือเปล่า หรือชอบกินอาหารที่ลูกกินไม่หมด เมื่อสำรวจตัวเองจนรู้จุดอ่อนแล้ว ก็จะตัดแคลอรี่ออกไปได้ง่ายขึ้น
2. ไปช็อปปิ้งตอนกินอิ่มแล้วเสมอ
ทุกคนคงเห็นตรงกันว่าถ้าไปช็อปปิ้งตอนท้องว่างมักทำให้เลือกซื้ออาหารตามใจ ปาก ในทางกลับกัน หากไปช็อปปิ้งตอนอิ่มแล้วก็จะมีสติในการหยิบของใส่ตะกร้ามากขึ้น
3. นั่งกิน และกินในจาน
มีการศึกษาพบว่าการกินอาหารจากแพ็กเกจและยืนกิน ทำให้กินอาหารปริมาณมากกว่าการนั่งกินอาหารในจานบนโต๊ะอาหาร เพราะการกินอาหารจากแพ็กเกจบรรจุอาหารหรือยืนกินจะทำให้เรากินจนเพลินนั่น เอง
4. ตักอาหารใส่จานส่วนตัว
หากกำลังควบคุมน้ำหนัก ลองตักอาหารที่จะกินในปริมาณที่อิ่มกำลังดี ใส่จานส่วนตัว (ซึ่งอาจมีขนาดเล็กกว่าจานของคนอื่น) โดยไม่ตักกับข้าวหลากหลายชนิดมาวางร่วมสำรับด้วย เพราะอาหารที่วางอยู่บนโต๊ะจะเรียกร้องให้เราตักกินอยู่เรื่อยๆ
5. วางแผนอาหารว่าง
การกินอาหารแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ ดีต่อการเผาผลาญ จึงควรจัดอาหารว่างที่แคลอรี่ต่ำ และดีต่อสุขภาพสำรองไว้ เพื่อจะได้ไม่คว้าอาหารแคลอรี่สูงมากินตอนหิว
Credit : www.n3k.in.th