1. โบกี้สำหรับผู้หญิง

809347-topic-ix-0

ที่ญี่ปุ่นจึงจัดให้รถไฟซักโบกี้นึงเป็นโบกี้เฉพาะสำหรับผู้หญิง โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนที่เบียดๆ สาวๆ ทั้งหลายจะได้ไม่ต้องกลัวโดนลวนลามหรือเบียดกับผู้ชายในตู้ทั่วไป โดยมากตู้สำหรับผู้หญิงจะเป็นช่วงเวลาเช้าและเลิกงานที่คนเยอะจริงๆ ในระหว่างวันตู้นั้นผู้ชายก็สามารถขึ้นได้ตามปกติครับ ใครจะไปญี่ปุ่นโดยเฉพาะโตเกียวลองสังเกตสติกเกอร์สีชมพูๆ แบบนี้ให้ดีนะครับ เป็นประโยชน์แน่นอนเพราะหมายถึงตู้นั้น สำหรับผู้หญิงขึ้นโดยเฉพาะ  แต่สำหรับข้อนี้ รถไฟไทยเริ่มจัดทำตู้สำหรับผู้หญิงแล้วเหมือนกันนับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี มากๆ

 

2. โบกี้สำหรับคนขี้หนาว

809347-topic-ix-1

ด้วยความขี้หนาวของคนญี่ปุ่นนี้เอง ก็ไม่แปลกที่ญี่ปุ่นจะมีรถไฟบางขบวนที่เปิดแอร์เบาๆ เบาแบบว่าบางทีพ่นลมเฉยๆ ไม่ปรับอุณหภูมิ จริงๆ นะ ไม่ได้หลอก เรียกกันว่าเปิดแบบ  ใครอ่านตัวจีนออกก็จะเข้าใจทันทีว่าแปลว่า พ่นลม/ส่งลม การเปิดแอร์แบบนี้ คนไทยที่เพิ่งมาญี่ปุ่นมั่นใจว่าตายแน่ๆ
รถไฟหลายๆ ขบวนที่ญี่ปุ่นมักจะมีรถไฟสำหรับคนขี้หนาวนี้อยู่ นั่นหมายถึง หน้าร้อนจะเปิดแอร์ไม่แรง แต่หน้าหนาวโบกี้นี้ก็จะอุ่นกว่าโบกี้อื่นๆ ถ้าใครมาญี่ปุ่นก็อย่าลืมสังเกตสัญลักษณ์แอร์เบานี้ด้วย ไม่งั้นต้องทนร้อนไปตลอดทาง ไอเดียนี้ที่ไทยน่าจะเอาไปประยุกต์เป็นขบวนแอร์แรง รับรองว่าคนขึ้นกันตรึม

 

3. แยกแถวต่อ สำหรับคนที่จะขึ้นก่อนขึ้นหลัง

809347-topic-ix-2

อันนี้อาจงงหน่อย แต่เหมาะมากในการสร้างระเบียบในการต่อแถว ยกตัวอย่างเช่น เรากำลังจะกลับบ้านด้วยรถด่วน แต่รถที่มาถึงก่อนเป็นรถแบบจอดทุกสถานี (หวานเย็น) ที่ญี่ปุ่นก็จะมีที่ยืนให้เราต่อแถวรอรถขบวนต่อไปแบบไม่เกะกะคนที่จะขึ้นรถ ขบวนก่อนเรา โดยเขียนเป็นเส้นที่พื้น ปัดหางแถวสวยงามไม่ขวางทางใคร ป้องกันการแซงแถวและการยืนออกันมั่วๆ ซึ่งอาจสร้างความลำบากแก่คนขึ้นลงขบวนก่อนหน้าเรา  วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึง ดูเป็นประเทศที่เป็นระเบียบมากเวลาจะขึ้นหรือลงรถไฟ นอกจากจะสวยงามน่าดูชมแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดความเครียดจากการแย่งชิงเพราะไม่ต่อแถวอีกด้วย

 

4. ไม่ใช้มือถือพูดคุยเด็ดขาด

809347-topic-ix-3

ที่ญี่ปุ่นเป็นเรื่องปกติมากที่จะไม่พูดโทรศัพท์ในที่สาธารณะ โดยเฉพาะในรถไฟนี่แทบจะเรียกว่าต้องห้ามเลยด้วยซ้ำ ใครหยิบโทรศัพท์ขึ้นมา “ฮัลโหลลลลล” เมื่อไหร่นี่โดนมองตั้งแต่หัวจรดเท้าแน่นอน

บางคนอาจถามว่าทำว่าทำไมที่ญี่ปุ่นต้องซีเรียสกับการห้ามคุยโทรศัพท์บน รถไฟด้วย เหตุผลแรกๆ เลยคือ มารยาท มีงานสำรวจความเห็นคนญี่ปุ่น สิ่งที่น่ารำคาญที่สุดบนรถไฟคือเสียงโทรศัพท์เรียกเข้าและเสียงการคุย โทรศัพท์ ถ้าใครนึกไม่ออกว่าน่ารำคาญยังไง ให้นึกถึงเสียงริงโทนแสนแซ่บเมกะฮิตซ์แดนซ์กระจายในรถไฟบ้านเรา หรือคนที่นั่งเม้าท์โทรศัพท์ตลอดทาง จนเราซึ่งแอบฟังอยู่แทบจะช่วยนางออกความเห็นตามไปด้วย

 

5. ต้องปิดสัญญาณมือถือในที่นั่งคนชรา หญิงมีครรภ์ ผู้มีปัญหาทางร่างกาย

809347-topic-ix-4

นอกจากจะไม่ค่อยเจอคนคุยด้วยเสียงดังในรถไฟแล้ว ที่ญี่ปุ่นจะมีการแบ่งที่นั่งที่หัวหรือท้ายขบวนให้กับผู้ชรา หญิงมีครรภ์ และคนที่อาจมีปัญหาทางร่างกาย เป็นต้น ที่นั่งนี้จะมีป้ายเขียนประมาณว่า…นอกจากเราจะต้องสละที่นั่งให้พวกเขาเหล่า นั้นก่อนแล้ว หากอยากอยู่บริเวณนั้น ก็ต้องปิดสัญญาณสื่อสารให้หมดด้วย พูดง่ายๆ คือปิดมือถือนั่นเอง

 

6. การขึ้นบันไดเลื่อน

809347-topic-ix-5

ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ไม่ว่าจะที่ไทยหรือที่ไหนๆ ว่า เวลาขึ้นบันไดเลื่อนต้องชิดซ้ายหรือชิดขวากันแน่?? อย่างที่โตเกียว คนส่วนมากจะชิดซ้าย ส่วนที่โอซาก้า คนจะชิดขวากันหมด เช่นเดียวกับที่เรากำลังรณรงค์กันในรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดินที่กรุงเทพฯ

จริงๆ ที่ญี่ปุ่นมีการชิดด้านใดด้านหนึ่งอย่างเป็นระเบียบนี้มานานมากแล้ว ในขณะที่บ้านเรากำลังเริ่มต้นรณรงค์จริงจัง แต่ที่น่าแปลกใจคือ ตอนนี้ที่ญี่ปุ่นกำลังกลับไปสู่จุดเริ่มต้น พยายามให้คนยืนทั้งสองฝั่งของบันไดเลื่อน ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยบ้างล่ะ จะได้ไม่มีคนวิ่งบนบันไดเลื่อน หรือด้วยเหตุผลของการบำรุงรักษา เพราะถ้ายืนออกันด้านเดียวอาจเกิดความไม่สมดุลของบันไดเลื่อน

 

7. พนักงานช่วยยัดคนลงไปในรถไฟ

809347-topic-ix-6

ตอนชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟในโตเกียวโดยเฉพาะสายจากชานเมืองเข้ามาตัวเมือง อัดแน่นยิ่งกว่าอะไรในโลกใบนี้ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือนายสถานีที่ต้องทำหน้าที่พิเศษ นั่นคือคอยผลักและยัดผู้โดยสารเข้าไปในรถให้ได้มากที่สุด ไม่ต้องพูดอะไรมากแล้ว หวังว่าที่ไทยยังคงไม่ต้องมีนะ

 

8. ใบแจ้งว่ามาสายเพราะรถไฟ

809347-topic-ix-7

สมมติว่าวันไหนเกิดเหตุที่ทำให้รถไฟมาช้า แล้วทำให้เราไปโรงเรียนหรือที่ทำงานไม่ทัน ที่สถานีรถไฟจะมีกระดาษวางตั้งเอาไว้ให้เราหยิบไปเป็นหลักฐานว่าไม่ใช่ความ ผิดของเรานะ แต่เป็นเพราะรถไฟช้า หัวหน้าหรืออาจารย์จะได้ไม่สามารถเอาผิดเราได้ บางที่มีให้เลือกหยิบได้ว่าสายไปแล้วกี่นาทีแบบในรูปที่พี่โชหามาให้ดู เขาเขียนเป็นเลขเวลา 10 20 30 นาทีเลยทีเดียว แหม อยากให้ที่จ่ายเงินทางด่วนบ้านเรามีใบนี้ให้หยิบบ้างจังเลย

ที่มา: http://travel.mthai.com/

เรื่องน่าสนใจ