จากกรณีที่มีการส่งต่อข้อความจากแอพฯ “wechat” อย่างแพร่หลายในสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าทุเรียนไทยแช่ยาสีเหลือง 1 วัน และตากแห้ง แล้วทายาสีส้ม เพื่อเก็บความสดของทุเรียนและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค โดยที่ล้งที่ประเทศไทยทำกันเกือบทุกเจ้า ไม่ว่าเป็นล้งเล็กหรือล้งใหญ่นั้น
วันนี้ (28 พ.ค.) นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร เกษตรจังหวัดจันทบุรี นายนิอันนุวา สุไลมาน พาณิชย์จังหวัดจันทบุรี และนายสุรพงษ์ สุวรรณหิตาธร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี ได้ตบเท้าออกมาชี้แจง กรณีดังว่าทุเรียนจังหวัดจันทบุรีไม่มีการแช่สารต้องห้าม หรือน้ำยาที่มีผลอันตรายต่อการบริโภคทุเรียน ซึ่งสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศภาคตะวันออก (จันทบุรี) ได้นำเรียนข้อมูลเกี่ยวกับข่าวทุเรียนไทยในจีน โดยประกาศของกงสุลฝ่ายเกษตร ณ นครเซี่ยงไฮ้ มีข้อความสรุปชี้แจงว่า “น้ำยาที่ใช้ไม่มีผลหรืออันตรายต่อการบริโภคทุเรียน”
ทั้งนี้ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เพิ่มเติมว่า ยืนยันว่าทุเรียนไทยไม่มีการใช้ฟอร์มาลีนในการเก็บความสดของทุเรียนแน่นอน แต่จะมีการใช้สารเอทิลีนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสุกได้เร็วขึ้น และสุกพร้อมกันสม่ำเสมอ ซึ่งผลทุเรียนที่ตอบสนองต่อเอทิลีนได้นั้นต้องมีเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์แล้ว หรือทุเรียนต้องเป็นทุเรียนที่แก่ โดยจังหวัดจันทบุรีนั้นได้มีการใช้เอทิลีนป้ายขั้วผลก่อนส่งออกในปริมาณที่เหมาะสม
ทั้งนี้ เกษตรจังหวัดจันทบุรี เพิ่มเติมว่า ยืนยันว่าทุเรียนไทยไม่มีการใช้ฟอร์มาลีนในการเก็บความสดของทุเรียนแน่นอน แต่จะมีการใช้สารเอทิลีนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสุกได้เร็วขึ้น และสุกพร้อมกันสม่ำเสมอ ซึ่งผลทุเรียนที่ตอบสนองต่อเอทิลีนได้นั้นต้องมีเนื้อเยื่อที่สมบูรณ์แล้ว หรือทุเรียนต้องเป็นทุเรียนที่แก่ โดยจังหวัดจันทบุรีนั้นได้มีการใช้เอทิลีนป้ายขั้วผลก่อนส่งออกในปริมาณที่เหมาะสม