ที่มา: มติชน

จากรายงานของเดอะเจแปนไทม์ส ผู้เชี่ยวชาญชี้ การที่ศาลแขวงโตเกียวพิพากษายกฟ้องคำร้องเรียกค่าเสียหายจากพนักงานต้อนรับในไนท์คลับที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับลูกค้าที่แต่งงานแล้ว ไม่ต่างจากการประกาศยอมรับ “การร่วมเพศนอกสมรส”

14343678381434367857l

คำพิพากษาดังกล่าวชี้ว่า ภรรยาของลูกค้าไนท์คลับไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากพนักงานต้อนรับคนดังกล่าวที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับลูกค้าเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจด้วยการใช้ “การร่วมเพศ” เพื่อรักษาฐานลูกค้าเอาไว้

ขณะที่แนวคำพิพากษาเดิมศาลจะสั่งให้บุคคลที่สามที่มีสัมพันธ์ทางเพศกับบุคคลที่สมรสแล้วต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับคู่สมรส อันเป็นมาตรการเพื่อสนับสนุนความมั่นคงของการแต่งการ

คำพิพากษานี้ตัดสินโดยผู้พิพากษามาซามิตซึ ชิเซกิ ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2014 ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์ในนิตยสารด้านกฎหมายฉบับหนึ่ง ซึ่งนิตยสารนี้ได้อ้างคำพูดของผู้เชี่ยวชาญวงการยุติธรรมว่า คดีนี้ถือเป็นคดีแรกที่มีการถกเถียงถึงความชอบด้วยกฎหมายของพฤติกรรมที่เรียกว่า “makua eigyo” ซึ่งแปลคร่าวๆได้ว่า “เทคนิคการขายด้วยหมอน”

ทั้งนี้ “makura eigyo” หมายถึงการที่พนักงานต้อนรับ คงความสัมพันธ์ทางเพศกับลูกค้าเอาไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าคนดังกล่าวจะกลับมาแวะเวียนไนท์คลับของตนเป็นประจำ

ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่าคำพิพากษานี้อาจกลายเป็นบรรทัดฐานที่ให้การยอมรับการมีสัมพันธ์ทางเพศนอกการสมรส หากว่าบุคคลนอกสมรสมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่ผ่านการสมรสแล้วเพียงเพราะแรงจูงใจทางธุรกิจ

ในการฟ้องร้องคดีดังกล่าว ภรรยาของลูกค้าประจำไนท์คลับแห่งนี้ได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสภาพจิตใจเป็นจำนวน 4 ล้านเยน (ราว 1 ล้านบาท) จากพนักงานต้อนรับประจำไนท์คลับแห่งนี้ โดยเธอกล่าวหาว่า พนักงานคนดังกล่าวมีสัมพันธ์ทางเพศกับสามีของเธอซึ่งเป็นประธานบริษัทแห่งหนึ่ง เป็นเวลานานถึง 7 ปี

แต่ศาลได้ปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าว โดยผู้พิพากษามองว่าการมีเพศสัมพันธ์ของพนักงานต้อนรับคนดังกล่าวแทบไม่ต่างไปจากการมีสัมพันธ์ทางเพศของโสเภณี ซึ่งมีส่วนต่างเพียงว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการร่วมเพศนั้นเป็นผลประโยชน์โดยตรงหรือโดยอ้อมเท่านั้น และเมื่อศาลตัดสินเช่นนี้ผู้เสียรายก็มิได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์แต่อย่างใด

ด้านทนายความคัตซึยูกิ อาโอชิมะ ซึ่งว่าความให้กับผู้เสียหายรายนี้ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงอย่างมากต่อคำตัดสินดังกล่าว โดยกล่าวว่า คำพิพากษาดังกล่าวเป็น “บรรทัดฐานอันต่ำทราม”

“ผู้พิพากษาไม่จำเป็นต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับการมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส ด้วยการอ้าง ′makura eigyo′ ขึ้นมาเอง” นายอาโอชิมะกล่าว โดยยืนยันว่า ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยไม่มีใครเป็นผู้กล่าวอ้างถึง makura eigyo มาก่อนในการฟ้องร้องและต่อสู้คดี และเขาเชื่อว่าศาลควรให้ความสำคัญกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริง หลังจำเลยอ้างว่าตนไม่เคยร่วมเพศกับลูกค้าแต่อย่างใด

นายอาโอชิมะกล่าวว่า เขากลัวว่าคดีนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐาน และทำให้การป้องกันการ “เล่นชู้”ด้ วยกฎหมายอ่อนแอลง

“ประชาชนควรถกเถียงกันว่าพนักงานต้อนรับรายนี้ควรจะต้องจ่ายค่าเสียหายจากการร่วมเพศกับชายที่แต่งงานแล้วหรือไม่ คำตัดสินแบบนี้ไม่ควรกลายเป็นบรรทัดฐานโดยปราศจากการให้เหตุผลที่แจ้งชัด” นายอาโอชิมะกล่าว

เรื่องน่าสนใจ