เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม

Compartment Syndrome คือ ภาวะที่ “ความดันในช่องปิดของกล้ามเนื้อสูงขึ้น” หลังได้รับบาดเจ็บ อาจมีกระดูกหักหรือมีเลือดออก หรือมีเพียงอาการการบวมของกล้ามเนื้อ ซึ่งไปรบกวนระบบการไหลเวียนของเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเยื่ออ่อนอื่นๆ ในบริเวณนั้น มีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ (Poor tissue Perfusion) เกิดการขาดเลือดที่รุนแรง จนทำให้เนื้อเยื่อในช่องกล้ามเนื้อนั้นตาย

ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ทำให้สูญเสียความสามารถตามปกติของเนื้อเยื่อส่วนนั้น ทำให้เกิดความพิการ บางรายอาจสูญเสียแขน ขา หรือแม้แต่เสียชีวิต

compartment-syndrome-fasciotomyรูปประกอบจาก insidetheclinic

สาเหตุของการเกิดภาวะ Compartment Syndrome นั้นมักเกิด หลังได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร การตกจากที่สูง ถูกยิง ถูกงูกัด และการหกล้ม เป็นต้น  อาจมีหรือไม่มีภาวะกระดูกหักร่วมก็ได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการปวดในช่วงเริ่มต้น หลังจากนั้นจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง จนเป็นอัมพาต ในขณะเดียวกันจะมีการรับความรู้สึกที่ผิดไปจากเดิม แต่ยังไม่ถึงกับชาจนไม่รู้สึก

หากปล่อยทิ้งไว้ จะเกิดอาการชาและไม่ปวด ตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อตาย เป็นพังผืด (Muscle necrosis and fibrosis) เส้นประสาทตายการอักเสบติดเชื้อ ในช่องกล้ามเนื้อ (Deep infection with muscle necrosis) จนไปถึงการเสียชีวิตจากภสวะแทรกซ้อน

756148-828456-827ภาพประกอบจาก orthopaedicsone

ปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่ออัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ “ความล่าช้าในการวินิจฉัย และความล่าช้าในการรักษา”

เราจะสังเกตุได้อย่างไร?

หลังเกิดการบาดเจ็บ ให้สังเกตอาการปวดเหล่านั้นว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น ปวดตลอดแนวกล้ามเนื้อ ปวดแน่น ปวดมากขึ้น แม้จะได้รับยาแก้ปวดแล้วก็ตาม หรือหากมีอาการหนัก กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการปวดที่รุนแรงเมื่อทำให้กล้ามเนื้อตึง เริ่มมีการสูญเสียความรู้สึก ซึ่งควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน

หากถูกวินิจฉัยว่าเป็น Compartment Syndrome จะต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ขยายช่องปิดกล้ามเนื้อ ซึ่งบริเวณที่พบอาการบาดเจ็บบ่อยได้แก่ บริเวณขา, มือ, แท้า, แขน และต้นแขน

ดังนั้น หากเกิดอาการเหล่านี้หลังจากได้รับอุบัติเหตุ โดดเด่นขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อให้แพทย์เฝ้าดูอาการ หากปล่อยทิ้งไว้จนเกิดอาการหนัก อาจทำให้ต้องพิการไปตลอดชีวิต หรือเกิดการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ยังไงก็ตาม อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองด้วยนะ

ข้อมูลจาก : digitaljournals, orthopaedicsone

เรื่องน่าสนใจ