kbreast11

ภาคแรก กล่าวถึง การเลือก ซิลิโคนมาทำเป็นถุงเต้านมเสริมหน้าอก
ภาคสองกล่าวถึง ความแตกต่างระหว่างถุงน้ำเกลือ และ ซิลิโคนเจล
ภาคสุดท้ายนี้จะ มาเล่าถึงการแตกของถุงซิลิโคนเจล

อย่างที่เคยบอกไว้ในภาคสองนะครับว่าโอกาสเกิด 2% ใน 10 ปี ก็ยังเป็นที่สงสัยว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง สาเหตุที่เป็นไปได้เช่น อุบัติเหตุ โดนกระแทก ความผิดพลาดทางการผลิต การใส่ซิลิโคนแบบรุนแรง ซิลิโคนไม่ได้คุณภาพ เป็นต้น

อาการที่พบบ่อยคือ

1.ไม่มีอาการครับ ตรวจเจอโดยบังเอิญ จากการตรวจเต้านมจากสาเหตุอื่นๆ
2. มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเต้านม
3.เกิดอาการของพังพืดรัดถุงซิลิโคน เช่น แข็ง เจ็บ ผิดรูป
4.น้อยรายอาจมีอาการของการอักเสบแบบเฉียบพลัน จากการติด
เชื้อแทรกซ้อน ได้แก่ ปวด บวม แดง ร้อน

การตรวจวินิจฉัยได้แก่ซักประวัติ ตรวจเต้านม กรณีสงสัย ให้เน้นส่งตรวจ อัลตราซาวด์ หรือ MRI ไว้ก่อน เพื่อ การวางแผนการรักษา

การรักษา ก็ตรงไปตรงมาครับ เอาถุงซิลิโคนเก่าออก รวมทั้งพังพืดที่หุ้มอยู่

บางรายที่เป็นซิลิโคนคุณภาพดี แตกไม่มากและเพิ่งแตก ก็จะเอาออก ได้ง่ายโดยไม่มีการปนเปื้อนของซิลิโ๕นเจลกับเนื้อรอบๆเลย และสามารถใส่ซิลิโคนใหม่ได้เลย

บางรายที่ ซิลิโคนไม่ได้มาตราฐาน เกิดการแตกขนาดใหญ่ และแตกมานาน จะเกิดพังพืดรัดรุนแรง เอาออกยาก และมีโอกาสติดเชื้อ ควรเอาออกแล้วพักเต้านมไปอย่างน้อย6เดือนถึง 1ปี ค่อบพิจารณาการใส่ใหม่

ซิลิโคนแตกมานาน มีโอกาสเกิดมะเร็งไหม คำตอบคือ ณ ข้อมูลปัจจุบัน ซิลิโคนแตกไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้น ถ้าซิลิโคนนั้นเป็น ซิลิโคนคุณภาพดี ได้มาตราฐาน

จากภาพ คนไข้มีซิลิโคนแตกมาสิบกว่าปี มาตรวจด้วยเต้านมห้อยคล้อย ต้องการยกกระชับ เนื่องจากประวัติอาการแตกไม่ชัดเจน ลักษณะตอนตวรจเต้านมเป็นพังพืดรัดถุงซิลิโคนเกรดสาม
จึงวางแผน จะเอาซิลิโคนออก แล้วยกกระชับเต้านมพร้อมใส่ซิลิโคนใหม่

แต่หลังจากผ่าตัดเข้าไป พบการเกิดพังพืดด้านซ้ายรุนแรงมากและมีถุงซิลิโคนแตก เป็นมานานจนเนื้อเจลเปลี่ยนสีและแตกเป็นวุ้นเล็กๆ ดังนั้จึงทำได้แค่เอาซิลิโคนออกและตัดพังพืดเกือบทั้งหมดทิ้ง รายนี้คงไม่ใส่ใหม่เนื่องจากการอักเสบรุนแรงมาก
ระหว่างผ่าจะพบต่อมน้ำเหลืองโตจากการที่ภูมิคุ้มกันร่างกายพยายามกินซิลิโคนแล้วส่งไปที่ต่อมน้ำเหลือง

หลังผ่าตัด ให้ยา ส่งตรวจชิ้นเนื้อ คนไข้แผลหายดี ผลชิ้นเนื้อเป็นแค่พังพืด แนะนำให้คนไข้ตรวจมะเร็งเต้านมตามปกติทุกปี

ก็จบครบแล้วเรื่องถุงซิลิโคนแตก ต่อไปก็จะมีเรื่อง พังพืดรัดถุงซิลิโคน เต้านมเชื่อมติดกันหลังเสริม(symmastia) ซิลิโคนเต้านมเลื่อนมาต่ำผิดรูป(bottom out) ราวนมมีสองลอน(double buble) และอีกหลายๆเรื่องครับ ก็ติดตามกันต่อไป จะพยายามเขียนเมื่อว่างครับ

 

เขียนโดย นพ.ธนคม ใหลสกุล

                  ศัลยแพทย์ตกแต่ง

kongjulogo

 

 

 

Clinic : 086-691-9969, 02-693-6198, 02-693-7143
Hotline : 094-948-2226
Line ID : @kongju , kongjuclinic.thon
FB : www.facebook.com/kongjuclinic
www.kongjuclinic.com

Kongju Mobile Application : Kongju

เรื่องน่าสนใจ