นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบกระดูกนิ้วมือมนุษย์ยุคใหม่ในแอฟริกาตะวันออกที่เก่าแก่ที่สุดย้อนกลับไปได้ถึง 2 ล้านปี
วันนี้(20 ส.ค.58) นักวิทยาศาสตร์รายงานเมื่อวันที่(18 ส.ค.)ที่ผ่านมา มีการค้นพบกระดูกชิ้นเล็กอายุ 1.85 ล้านปี จากนิ้วเล็กๆของบรรพบุรุษมนุษย์ถูกขุดขึ้นจากแอฟริกาตะวันออก ซึ่งเป็นมือของมนุษย์ยุคใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบการค้นพบกระดูกนิ้วก้อยจะเป็นกุญแจย้อนกลับไปในการวิวัฒนาการของบรรพบุรุษจากการปีนต้นไม้สู่การใช้เครื่องมือล่าสัตว์ รูปร่างของมือบรรพบุรุษนั้นเป็นทั้งภาพสะท้อนของระยะเวลาของการวิวัฒนาการและการเคลื่อนที่ของวิวัฒนาการ มานูเอล โดมินเกสซ์ โรดิโก้ นักวิจัยสถาบันวิวัฒนาการแอฟริกาในมาดริด กล่าว
ทั้งนี้ มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกระดูกของมนุษย์สายพันธุ์โฮโม ฮาบิลิส ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่มนุษย์เริ่มสามารถทำเครื่องมือเครื่องใช้จากหินได้กระดูกนิ้วมือที่พบนั้นมีขนาดที่ใหญ่กว่านิ้วมือของมนุษย์ในวงศ์ hominin เดียวกัน ซึ่งอาจหมายถึงขนาดตัวที่ใหญ่กว่าด้วยมีข้อสันนิษฐานว่าเหตุที่ตัวมีขนาดใหญ่นั้นก็เพราะต้องล่าสัตว์ซึ่งในเวลานั้นมีขนาดตัวที่ใหญ่
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆไม่ค่อยเห็นด้วยนักกับข้อสรุปนี้ ฌ็อง ฌัก ฮับลิน หัวหน้าของแผนกวิวัฒนาการมนุษย์ ที่สถาบัน แม๊กซ์ แพลงส์ มองว่าการสรุปนั้นว่าเป็นการสรุปจากหลักฐานที่อ่อนเกินไปกระดูกเพียงชิ้นเดียวจากนิ้วก้อยไม่ได้หมายความว่า มนุษย์ยุคใหม่จะมีกระดูกเช่นนั้นทุกคน เช่นเดียวกับ เทรซี แอล คีเวลล์ แห่งคณะมานุษยวิทยา และ การอนุรักษ์ แห่งมหาวิทยาลัยเค้นท์ มีความคิดเห็นเป็นไปในทางเดียวกันว่ากระดูกชิ้นเดียวไม่ได้บอกว่าทุกๆมือของมนุษย์ในยุคนั้นจะต้องเป็นเช่นนั้น