เนื้อหาโดย : โดดเด่นดอทคอม

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน เพราะปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีมีมากเกินไป

Gallstones develop because cholesterol and pigments in bile sometimes form hard particles. Cholesterol stones and pigment stones

นิ่วในถุงน้ำดี ชิ้นส่วนแข็งที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี ชิ้นส่วนเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อนคล้ายกับน้ำตาลที่ตกตะกอนอยู่ด้านล่างของขวดน้ำเชื่อม โดยก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นนี้อาจมีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายหรือใหญ่เท่าลูกกอล์ฟ และอาจมีได้ตั้งแต่หนึ่งก้อนจนถึงหลายร้อยก้อนก็เป็นได้

ชนิดของนิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิดหลัก ได้แก่

  • ชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล (cholesterol stones) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยประมาณ 80% ของนิ่วในถุงน้ำดีทั้งหมด มีลักษณะเป็นก้อนสีขาว เหลือง หรือเขียว เกิดจากการมีคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นในน้ำดี หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้อในถุงน้ำดีมีสมรรถภาพไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบีบสารออกได้หมด
  • ชนิดที่เกิดจากเม็ดสีหรือบิลิรูบิน (pigment stones) ก้อนนิ่วชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าและมีสีคล้ำกว่าชนิดที่เกิดจากคอเลสเตอรอล มักพบในผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจางจากการขาดเอนไซม์ G6PD

อาการผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดี บางคนอาจไม่มีอาการเลย หรือมีอาการบางอย่าง ดังต่อไปนี้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ ได้แก่

  • ท้องอืด
  • แน่นท้องหลังรับประทานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก
  • ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว
  • ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขวา
  • ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม

Fat woman sitting at a table and eating a hamburger

ปัจจัยเสี่ยงของนิ่วในถุงน้ำดี

  • พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีจะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มากขึ้น
  • ภาวะอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลมาก เนื่องจากความอ้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในน้ำดีเพิ่มขึ้น
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจนและการตั้งครรภ์ มีผลเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลและลดการเคลื่อนตัวของถุงน้ำดี ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนทดแทนจึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้
  • เพศและอายุ โรคนิ่วในถุงน้ำดีพบมากในเพศหญิงและผู้สูงอายุ
  • โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะมีระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และถุงน้ำดีจะมีการบีบตัวน้อยในผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
  • การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตับหลั่งคอเลสเตอรอลออกมามากขึ้น รวมถึงถุงน้ำดีจะบีบตัวลดน้อยลง น้ำดีจึงค้างอยู่ในถุงน้ำดีนานขึ้น โอกาสเกิดการตกตะกอนก็มากขึ้น
  • อาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสูงและเส้นใยต่ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากโรคนิ่วในถุงน้ำดีคือ ถุงน้ำดีอักเสบติดเชื้อ หรือก้อนนิ่วหลุดเข้าท่อน้ำดี ก่อให้เกิดการอุดตันและ/หรือการอักเสบของท่อน้ำดี หรือหลุดเข้าท่อตับอ่อน (อยู่ติดกับท่อน้ำดี) ก่อให้เกิดตับอ่อนอักเสบ ซึ่งทั้งสองโรคเป็นโรครุนแรง อาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อในกระแสโลหิตหรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

การรักษา

การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีคือ การผ่าตัดถุงน้ำดี อาจโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือการผ่าตัดผ่านทางกล้อง หรือบางครั้งอาจให้ยาละลายนิ่วแต่มักไม่ค่อยได้ผล นอกจากนั้น คือการรักษาประคับประคองตามอาการเช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียของถุงน้ำดีร่วมด้วย

ข้อมูล : หาหมอ, โรงพยาบาลกรุงเทพ,

เรื่องน่าสนใจ