พสกนิกรชาวไทย ต่างประทับใจ พระบรมฉายาลักษณ์ โดยสมาชิกเฟสบุ๊ค คุณปริญญา เปรมชัย ได้เผยแพร่พระบรมฉายาลักษณ์ โดยใช้ชื่ออัลบั้มว่า “ผมจะไม่ยอมเก็บรูปเหล่านี้ไว้ดูคนเดียว” ซึ่งเป็นภาพเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์ที่หาดูได้ยากมาก
สำหรับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเป็นพระองค์ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เสวยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี 22 วัน เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ สิริรวมพระชนมายุ 58 พรรษาพระองค์ได้รับพระราชสมัญญาว่า “ปิยมหาราช” แปลว่า มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก และ “พระพุทธเจ้าหลวง”
ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุด
พระองค์ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระภัทรมหาราช” หมายความว่า “พระมหากษัตริย์ผู้ประเสริฐยิ่ง” ต่อมาในปี 2539 มีการถวายใหม่ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” และ “พระภูมิพลมหาราช” อนุโลมตามธรรมเนียมเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า “พระปิยมหาราช”
ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกพระองค์ว่า “ในหลวง” ซึ่งคาดว่าย่อมาจาก “ใน (พระบรมมหาราชวัง) หลวง” หรืออาจออกเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า “นายหลวง” ซึ่งแปลว่าเจ้านายผู้เป็นใหญ่
อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย
พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
ภาพแถวทหารกำลังจัดขบวนต้อน
การรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจ
พระที่นั่งอภิเษกดุสิต : รัชกาลที่ ๕ ประทับ ณ เฉลียงพระที่นั่งอภิเษกดุสิ
เจ้านายฝ่ายในสมัยรัชกาลที่
ห้องประชุมเสนาบดีในพระที่น
พระที่นั่งอนันตสมาคม ค.ศ. 1956
ต้นแบบ พระบรมรูปทรงม้า ช่างกำลังแก้ พระมาลา (หมวก) ค.ศ.1907 (พ.ศ.๒๔๕๐)
พระบรมรูปทรงม้า ระหว่างการปั้น ในสตูดิโอของจอร์จ เซาโล ณ กรุงปารีส เมื่อ ค.ศ.1907 (พ.ศ.๒๔๕๐)
พระราชพิธี เปิดพระบรมรูปทรงม้า ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑