เรียบเรียงเนื้อหาโดย Dodeden.com
ในตอนเช้าที่ลุกจากที่นอน คุณเคยมีอาการเวียนหัวจนต้องล้มตัวลงนอนอีกครั้งไหม? สำหรับใครที่มีอาการนี้อยู่ ลองมาอ่านกันดูค่ะว่ามันเกิดจากอะไร และสามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยวิธีใดบ้าง
โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด จะเกิดขึ้นที่บริเวณหูชั้นใน ซึ่งหูชั้นในแต่ละข้างจะมีกระดูกรูปก้นหอย (Cochlea) ทำหน้าที่รับเสียง และกระดูกหูรูปห่วงครึ่งวงกลมอยู่ ข้างละ 3 ชิ้น (Semicircular canal) ทําหน้าที่ควบคุมการทรงตัวภายในกระดูกหูชั้นใน และมีชิ้นตะกอนหินปูนเล็กๆ เกาะอยู่ (Otoconia) ใต้ตะกอนจะมีเซลล์ขนเล็กๆ ทําหน้าที่รับกระแสสัญญาณ หากหินปูนเคลื่อนหลุดจากที่เกาะ มักจะลอยอยู่ในท่อ ทําให้การรับรู้ การเคลื่อนที่ของศีรษะผิดไป ดวงตาของคนไข้จะกระตุก ภาพสิ่งของรอบๆ ตัวจะหมุนทันที
โรคนี้เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อยที่สุดในคนไข้ที่มีอาการเวียนศีรษะ ซึ่งจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมักพบในผู้ใหญ่ที่มีอายุประมาณ 30 – 70 ปี โดยอาการเวียนศีรษะจะเกิดในทันทีที่เปลี่ยนท่าทาง มักจะเกิดตอนล้มตัวลงนอน หรือผงกศีรษะตอนลุกจากที่นอน บางรายพลิกตัวเปลี่ยนท่า จะมีอาการเวียนศีรษะทุกครั้ง มีอาการบ้านหมุน สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราหมุน หากหลับตานิ่งๆ สักครู่ จะหายหมุน แต่อาจมีอาการมึนงงอยู่ต่อสักประมาณ 10 -30 นาที ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคนี้อาจเกิดขึ้นจากการได้รับการกระทบกระเทือน หรือบาดเจ็บที่บริเวณศีรษะ หูชั้นในอักเสบ ติดเชื้อ, โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือเกิดขึ้นเองตามวัย เป็นต้น
วิธีการวินิจฉัยอาการมี 2 ขั้นตอนคือ
หลังจากทําการตรวจวินิจฉัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการรักษา ซึ่งการรักษาโรคหินปูนในหูชั้นในหลุดนั้นมี 3 วิธี คือ
อย่างไรก็ตาม แพทย์มักจะแนะนำการดูแลตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ คือ ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองที่ทําได้ทุกวัน รวมถึงแนะนําให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนว่าให้ระวังการขยับศีรษะ ค่อยๆ ลุก และนั่งพักสัก 1-2 นาที แล้วค่อยลุกขึ้นเดิน แต่ถ้าพบว่าตัวเองมีอาการบ่อยๆ หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคที่รุนแรงตามมาได้ค่ะ