ปิดฉากไปอย่างสวยงาม พร้อมๆ กับองค์ความรู้ใหม่ๆ มากมาย ในการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 16 และการประชุมวิชาการสุขภาพจิตและจิตเวชเด็กครั้งที่ 14 ประจำปี 2560
โดยชูแนวคิด “ซึมเศร้า…เราคุยกันได้” ตอกย้ำความสำคัญปัญหาโรคซึมเศร้า รักษาได้ ทุกคนช่วยได้ พร้อมมอบรางวัล Mental Health Award และรางวัลเกียรติยศ ให้บุคคลและหน่วยงานที่มีผลงานด้านสุขภาพจิตดีเด่น รวม 10 รางวัล
ได้แก่ Father Adams B.Gudalefskyจากองค์กร Interaidsและ ศาสตราจารย์พิเศษ แพทย์หญิงเพ็ญแข ลิ่มศิลา รางวัลเกียรติยศ ศ.นพ.ประสพ รัตนากร (ด้านสังคม)
ประเภทบุคคล ได้แก่ นายสุชาติ โอวาทวรรณสกุล นายกสมาคมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาแห่งประเทศไทยประเภทองค์กร ได้แก่ สมาคมเพื่อผู้บกพร่องทางจิตแห่งประเทศไทยรางวัลเกียรติยศ นพ.อุดม ลักษณวิจารณ์ (ด้านชุมชน) ด้านบริหารจัดการงานสุขภาพจิตและจิตเวช ได้แก่ นายแพทย์ประมวล ไทยงามศิลป์ โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์นายแพทย์ชาญชัย ปวงนิยม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
และนายแพทย์สามภพ สาระกุล โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรีด้านงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ได้แก่ นางขวัญใจ วงศระศีล โรงพยาบาลเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมานางนิตยามีหาดทราย ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร อดีต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ อดีต ผ.อ. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่มีความโดดเด่นเรื่องโรคซึมเศร้า ซึ่ง นายแพทย์ธรณินทร์ เป็นแพทย์ที่มีบทบาทความสำคัญต่อการวิจัย และพัฒนาการรักษาโรคซึมเศร้าในไทยอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคซึมเศร้าที่กำลังสร้างปัญหาให้กับสุขภาพคนไทยทั่วประเทศ
นายแพทย์ธรณินทร์ กล่าวกับโดดเด่นว่า อุปสรรคที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงบริการ คือ การขาดความตระหนัก ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าเป็นความเจ็บป่วย ตลอดจนอคติจากสังคม มองเป็นการเรียกร้องความสนใจ ขี้เกียจ อ่อนแอ แต่จริงๆ แล้วเขาป่วย
ทั้งนี้ ทั่วโลกต่างรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงนี้ หลักการสำคัญคือการคัดกรองด้วยเครื่องมือที่ง่าย หากประชาชนสามารถคัดกรองญาติ ผู้ใกล้ชิดและเพื่อนที่สงสัยและสังเกตเห็นแนะนำให้ส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการโดยเร็ว ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ่งการรักษาที่เป็นมาตรฐานในปัจจุบัน มีทั้งการรักษาด้วยยาต้านเศร้า การรักษาด้วยจิตบำบัด และการรักษาด้วยไฟฟ้าตามระดับความรุนแรงของอาการโรคที่วินิจฉัยทั้งนี้ ขอย้ำว่า โรคซึมเศร้า รักษาหายได้ หาหมอให้เร็ว ไม่ต้องอาย เหมือนเวลาเราไม่สบายก็ไปหาหมอ รับประทานยาให้ต่อเนื่องตามที่หมอสั่ง
นายแพทย์ธรณินทร์ กล่าวว่า ในปี 2561 ตนได้มีนโยบายให้ปรับปรุงสถานที่ โรงพยาบาลสวนปรุง จ.เชียงใหม่ ให้ดูร่มรื่น มีต้นไม้ปลูกทั่วพื้นที่โรงพยาบาล ทำให้ดูเหมือนบ้าน ผู้ป่วยก็จะผ่อนคลาย บรรดาอาการทางจิตเวชไปด้วย โดยจะต้องสร้างทัศนคติใหม่ ลืมคำว่า “หลังคาแดง” ซึ่งเป็นชื่อที่อยู่อาศัยของผู้ที่ป่วยทางจิตได้เลย
“สำหรับถุงยา ซองยา บัตรประจำตัวผู้ป่วย ต่างๆ นั้น ผมจะเริ่มทำที่ถุงยาก่อน ด้วยการเปลี่ยนจากถุงยาโรงพยาบาลทั่วๆไป ที่ผู้ป่วยบางท่านอาจจะกังวล ซึ่งจะทำให้ออกมามีสีสันสวยงาม และ น่าเก็บไว้สะสม หรือ ทำประโยชน์ต่างๆ ได้ ส่วนคำว่าสวนปรุง เราก็คงไว้เหมือนเดิม เพราะเป็นสัญลักษณ์ แต่จะอาจจะปรับตำแหน่ง หรือ ดูให้เหมาะสม
ขณะที่ในส่วนของซองยาโรงพยาบาลนั้น เภสัชกร จะอธิบายคำแนะนำพิเศษบนซองยาหรือขวดยา ก็จะเป็นสติ๊กเกอร์ที่สามารถแกะออกได้ เมื่อกลับไปบ้านแล้วสามารถนำไปใส่ซองยาอื่นๆ ได้ แต่ต้องจำให้ได้ว่ากินเวลาไหน ให้ครบทุกมื้อ”
สำหรับคำว่า “หลังคาแดง” มาจากในยุคโบราณเชื่อกันว่า การเจ็บป่วยทางจิตเกิดจากการกระทำของอำนาจเหนือธรรมชาติ อาทิ ผีสางเทวดา จนบางภูมิภาคเรียกผู้ป่วยทางจิตว่า ผีบ้า เพราะเชื่อว่าผีเข้าสิงทำให้เกิดอาการเป็นบ้า
ดังนั้น ทำให้ผู้ป่วยถูกนำตัวไปรักษาตามวัด หรือรับการเสกเป่าจากพ่อมดหมอผีต่างๆ แทนที่จะนำตัวไปรับการรักษาพยาบาล
โรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางจิตในประเทศไทย เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นยุคเดียวกับการจัดตั้งโรงพยาบาลอื่นๆ สถานที่เดิมของโรงพยาบาลผู้ป่วยโรคจิตตั้งอยู่ปากคลองสานฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเรือนเก่าพระยาภักดีภัทรากร มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “โรงพยาบาลคนเสียจริต” เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2432
ในยุคแรกนั้นไม่มีความมุ่งหมายอื่น นอกจากจะนำคนเสียจริตมาฝากขัง การดูแลจึงมีแต่ขังไว้ ในบางครั้งก็มีการรักษาบ้าง เป็นประเภทยาต้ม ยาหม้อ ยาระบาย ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม ที่วุ่นวายนักก็เป่าด้วยยาสลบ ถ้าไม่ทุเลาลงก็ถึงขั้นทรมานทุบหนักๆ หรือไม่ก็ให้อดอาหาร
บางทีก็ถึงขั้นกอกเลือด ซึ่งหมายถึง การดูดเลือดออกโดยใช้เขาควาย หรือไม่ก็ใช้ปลิงดูด มีเวทมนตร์คาถาบ้างตามความรู้ของแพทย์สมัยนั้น
จนกระทั่งปี 2445 รัฐบาลต้องการพัฒนาการแพทย์ด้านการรักษาผู้ป่วยโรคจิต จึงอนุญาตให้สร้างโรงพยาบาลคนเสียจริตขึ้นใหม่ ซึ่งก็คือ โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในทุกวันนี้
โรงพยาบาลแห่งใหม่นี้มีลักษณะเป็นโรงพยาบาลแบบตะวันตก เปลี่ยนแปลงวิธีการดูแลจากการคุมขัง และการรักษาแผนโบราณมาเป็นการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน มีการเลี้ยงดูอาหาร การหลับนอนต่างๆ ให้บริบูรณ์ขึ้น เลิกการล่ามโซ่อย่างแต่ก่อน และพยายามให้เป็นรูปแบบโรงพยาบาลจริงๆ
สำหรับ โรงพยาบาลคนเสียจริต แห่งใหม่นี้ อยู่ในความดูแลของนายแพทย์ชาวอังกฤษ งานชิ้นสำคัญนอกจากการวางผังป่าอันสวยงามร่มรื่น โดยถือหลักว่า ป่าเป็นเครื่องหมายของการระบายทุกข์ และความสงบแห่งจิตแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่ทำให้เกิดศัพท์แสลงว่า “หลังคาแดง” อันลือลั่นจากการไปเหมาซื้อสีแดงค้างสต็อกราคาถูกคุณภาพดีมาผสมน้ำมัน แล้วทาหลังคาอาคารสังกะสีทุกหลังเพื่อป้องกันสนิม
ทำให้หลังคาโรงพยาบาลจึงเป็นสีแดงเพลิงสะดุดตาคนทั่วไป เป็นที่มาของสมญา “หลังคาแดง” ที่เรียกกันติดปากมาจนปัจจุบันนั้นเอง
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้สังคมไทยเข้าใจผู้ป่วยจิตเวชมากขึ้น ประเทศไทยของเรามีโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยทางจิตอยู่หลายแห่ง.. ซึ่งก็มีวิวัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงของชื่อเรียกขาน เช่น
– โรงพยาบาลโรคจิตธนบุรี เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
– โรงพยาบาลโรคจิตภาคกลาง [ นนทบุรี ] เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลศรีธัญญา
– โรงพยาบาลโรคจิตภาคใต้ เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
– โรงพยาบาลโรคจิตภาคเหนือ เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลสวนปรุง
– โรงพยาบาลโรคจิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
ดังนั้น ผู้ป่วยโรคทางจิตเวช และ โรคซึมเศร้า สามารถเข้าถึงการักษาได้ง่ายขึ้นภายใต้การนำของ นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นั่นเอง
ขอบคุณภาพจาก นานาสาระ ถิ่นสยามหลังคาแดง คือ…บ้านของคนเสียสติ ผีบ้า คนบ้า คนเสียจริต มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ?, รพ.สวนปรุง