เนื้อหาโดย Dodeden.com
หัวใจเต้นแรงสม่ำเสมอ ย่อมแสดงถึงสุขภาพที่ดี แต่มีงานวิจัยใหม่ออกมาว่าจังหวะการเต้นของหัวใจต่างหาก ที่คุณควรใส่ใจมากที่สุด ถ้าจะพูดตามหลักวิทยาศาสตร์ HRV เป็นปริมาณความผันแปรของช่วงเวลาระหว่างการเต้นของหัวใจแต่ละครั้ง ลองคิดตามง่ายๆ ว่าอัตราการเต้นของหัวใจคุณ (จํานวนครั้งที่หัวใจเต้นต่อนาที) ก็เหมือนจังหวะเพลงซึ่งดําเนินไปเรื่อยๆ HRV จะเป็นตัวสั่งการเกิดจังหวะที่ซับซ้อนขึ้น เหมือนกับเพลงที่บางช่วงก็มีจังหวะเร็วและบางช่วงก็ช้า ค่า HRV มีหน่วยวัดเป็นมิลลิวินาที จึงไม่สามารถฟังได้ด้วยหูคน และที่ฟังแล้วขัดกับความรู้สึกของเราก็คือ ค่า HRV นี้ยิ่งผันแปรมาก (ค่าสูง) ก็ยิ่งดี “คนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจคงที่ และมีค่าความผันแปรระหว่างจังหวะการเต้นของหัวใจน้อยนั้นไม่ดีเอาเสียเลย” หัวใจที่ไม่สามารถเปลี่ยนจังหวะได้อย่างรวดเร็ว ถือว่ามีสุขภาพไม่ดีค่ะ
ใส่ใจจังหวะหัวใจ
คุณอาจยังไม่รู้ว่าอะไรทําให้ค่า HRV เพิ่มขึ้นหรือลดลง ก่อนอื่นให้ทําความรู้จักกับระบบประสาทอัตโนมัติ (ANS-autonomic nervous system) ANS ที่เเข็งเเรงจะส่งผลต่ออวัยวะสําคัญ รวมไปถึงหัวใจด้วย ระบบประสาทนี้แบ่งออกเป็น 2 สาย ได้แก่พาราซิมพาเทติก ซึ่งทําให้หัวใจเต้นช้าลง และซิมพาเทติก ซึ่งทําให้หัวใจเต้นเร็ว ระบบประสาทสองสายนี้จะสลับกันคุมบังเหียน ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายว่าคุณเครียดผ่อนคลาย หรือกําลังต่อสู้กับโรคภัยอยู่ แต่ถ้าคุณมีสภาพร่างกายหรือจิตใจตึงเครียดเป็นเวลานาน ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทําตัวเป็นนายใหญ่สั่งให้ร่างกายคุณอยู่ในโหมดสู้หรือถอยหนีอย่างต่อเนื่อง ค่า HRV ก็จะลดลง สภาวะนี้ส่งสัญญาณให้รู้ว่าร่างกายคุณมีบางอย่างเกิดขึ้น ก่อนอาการจะปรากฏชัดเจนออกมา ค่า HRV ของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม เราจึงไม่มีค่าเป้าหมายให้คุณทําตาม แต่โดยทั่วไป การมีค่า HRV เพิ่มขึ้นแปลว่าระบบ ANS ของคุณสมดุลดีแล้ว อีกทั้งคุณจะฟื้นตัวจากความเครียด การเจ็บป่วย ความเจ็บปวด และความอ่อนล้าทางกายได้เร็วกว่าคนอื่น ซึ่ง HRV น่าจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุดสําหรับสุขภาพหัวใจ ซึ่งเราสามารถเอามาแปลผลเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวมได้
ออกกําลังกายเป็นประจํา
ดร.คอนราด เอิร์นเนสต์ นักสรีรวิทยาการออกกําลังจากมหาวิทยาลัยบาธ เมืองผู้ดี กล่าวว่าวิธีนี้ช่วยเพิ่มค่า HRV ได้ดีที่สุด งานวิจัยของเขาชี้ชัดว่า การออกกําลังหนักปานกลาง เช่น จ๊อกกิ้ง วันละ 30-45 นาที นับว่าดีที่สุด นอกจากนี้ กิจกรรมคาร์ดิโอยังช่วยสลายไขมันช่องท้องที่ซ่อนอยู่ และเป็นตัวการฉุดค่า HRV ให้ตํ่ำลงอีกด้วย
หายใจลึกๆ ยาว ๆ
ทําให้ระบบประสาทผ่อนคลายและเพิ่มค่า HRV ได้ ให้กําหนดลมหายใจเข้า-ออกยาวๆ และคงที่ให้ได้ 7 รอบต่อนาที พยายามทําบ่อยที่สุดเท่าที่จะทําได้
หลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ
วิธีนี้ก็ช่วยเพิ่มค่า HRV ได้เหมือนกัน พยายามอย่าออกไปเพ่นพ่านใกล้บริเวณที่การจราจรหนาแน่น ถ้าคุณต้องติดอยู่บนท้องถนนทุกวัน ให้เพิ่มอาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น ปลา หรือกินในรูปอาหารเสริมก็ได้ มีงานวิจัยระบุว่าโอเมก้า 3 ช่วยปกป้อง HRV จากมลพิษในอากาศได้
เลิกใช้ของที่มี BPA
สารชนิดนี้พบมากในพลาสติก การเลิกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีสารนี้ก็ช่วยได้เช่นกัน มีงานวิจัยแสดงว่าคนที่ตรวจพบสาร BPA ในระดับสูงจะมีค่า HRV ต่ำ
และที่สำคัญ หากเพิ่มวิตามินบี 12 ก็จะช่วยเพิ่มค่า HRV ได้ผล การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าคนที่มีวิตามินชนิดนี้ไม่เพียงพอ จะมีค่า HRV ต่ำกว่าปกติ แต่พอกินวิตามินบี 12 เพิ่มสัก 3 เดือนค่า HRVกลับเพิ่มขึ้นมา คุณสามารถรับวิตามินบี 12 ได้จาก ปลา ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำผลไม้ หรือซีเรียลที่เสริมวิตามินบี 12 ได้ค่ะ