สมาร์ทโฟนกับชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องธรรมดาของคนยุคใหม่ไปแล้วค่ะ แต่เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ดูข่าวรังสีอันตรายในญี่ปุ่นไหมคะ? ถึงแม้เมืองไทยจะไม่มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ให้หวาดหวั่น (ว่าจะรั่วไหล) แต่สาวๆ ยุคสมาร์ทโฟนหาง่าย ชายดีๆ หายากอย่างพวกเรานั้น อาจกําลังถูกแวดล้อมด้วยรังสีที่ไม่ดีต่อสุขภาพอยู่ทุกวันก็เป็นได้ ไม่ว่าจะในออฟฟิศ บนรถไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งในห้องนอนก็เถอะ โดยผู้ต้องสงสัยหนนี้ อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ไม่เชื่อ มองที่มือคุณสิ…ใช่แล้ว เราหมายถึง มือถือสุดเลิฟ แก็ดเจ็ตเปลี่ยนโลก ที่อาจกําลังเปลี่ยนสุขภาพของคุณให้ดิ่งเหวโดยที่คุณไม่รู้ไม่เห็น อยู่ก็เป็นได้

 

สมาร์ทโฟนกับชีวิตประจำวัน

 

อ่านแล้วคุณแทบไม่อยากเชื่อเลยใช่มั้ยคะ? แม้จะมีข้อสงสัยเรื่องมือถือทําให้เกิดมะเร็ง แต่ก็ยังไม่มีผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนออกมาซะหน่อย สําsรับ มือถือกับสุขภาพนั้น อาจยังพิสูจน์ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่จากงานวิจัยหลายชิ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาชี้ให้เห็นว่า โอกาสของอันตรายนั้นมีอยู่ ทว่าข่าวดีก็คือ คุณไม่จําเป็นต้องเชิดใส่มือถือไปตลอดชีวิตหรอก มันมีหนทางที่สามารถลดระดับความเสี่ยงจากรังสีอันตรายที่รายล้อมอยู่รอบตัวได้ แต่ก่อนจะเล่าให้ฟังถึงขั้นนั้น มาทําความรู้จักกับเบื้องหน้าเบื้องหลังว่า มือถือกลายเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสุขภาพไปได้อย่างไรดีกว่าค่ะ

 

สมาร์ทโฟนกับชีวิตประจำวัน ทำไมถึงอันตราย ?

มือถือทุกเครื่องนั้น ใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งคลื่นวิทยุก็คือรูปแบบหนึ่งของรังสี ที่เกิดจากการปลดปล่อยหรือการแปรรูปพลังงานที่มีอยู่ในจักรวาล พลังงานนี้ สามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เช่น คลื่นเสียง อนุภาคอะตอม การสลายตัวของอนุภาคนิวเคลียร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็ถือเป็นรังสี ทั้งนี้รังสีจากโทรศัพท์มือถือนับเป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทนัน-ไอออนในซ์ เป็นรังสีที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับรังสีจากความร้อน รังสีจากแสงแดด และรังสีจากเตาไมโครเวฟ ใช่แล้ว !!! ไมโครเวฟที่เราใช้อุ่นอาหารกันนั่นแหล่ะค่ะ!

 

สมาร์ทโฟนกับชีวิตประจำวัน
ภาพจาก : thyroidnosurgery.com

 

ปัญหาคือ รังสีมือถือ เป็นรังสีที่อาจทําให้ดีเอ็นเอของเซลล์เกิดการบาดเจ็บเสียหาย นี่คือเหตุผลว่าทําไม เรื่องนี้ถึงสําคัญ มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่า คลื่นวิทยุที่ปล่อยจากมือถือ (RF) สามารถทําลายดีเอ็นเอเราได้ การที่ดีเอ็นเอถูกทําลายถือเป็นขั้น เริ่มต้นที่นําไปสู่มะเร็งแล้ว ซึ่งเรื่องน่ากลัวไม่ได้จบลงที่ตรงนี้ เพราะคราวนี้ไม่ใช่แค่มือถืออย่างเดียวที่ปล่อยรังสีทําลายดีเอ็นเอได้ (ถ้าได้รับบ่อยๆ ในปริมาณมาก) แต่อุปกรณ์ส่งสัญญาณแบบไร้สายอื่นๆ ก็ปล่อยรังสีพวกนี้เหมือนกัน เช่น อินเตอร์เน็ตแบบไร้สายหรือไวร์เลสนั่นไง แล้วลองเหลียวมองรอบตัวดูซิว่า ทุกวันนี้ ชีวิตเราล้วนเกี่ยวพันกับไวร์เลสตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่บ้าน (ต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเร้าเตอร์) หรือไปออฟฟิศ เรียกได้ว่าชีวิตไร้สายนี่แหละ ที่ทําให้เราถูกล้อมไว้ด้วยรังสีซะแล้ว

 

สมาร์ทโฟนกับชีวิตประจำวัน

 

ไม่เคยมียุคไหนที่เราจะเผชิญหน้ากับรังสีในทุกจุดที่เราไปเช่นนี้ พวกเราอยู่ในออฟฟิศที่มีสัญญาณไวร์เลส แล้วก็อาศัยอยู่ในบ้านที่เต็มไปด้วยสัญญาณ ไวร์เลส แม้กระทั่งชายหาดหรือสวนสาธารณะ ก็ยังเต็มไปด้วยไวร์เลส พวกเราต้องสัมผัสกับรังสีในทุกๆ ที่เลย

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เห็นด้วยว่าคลื่นวิทยุที่ปล่อยจากมือถือนั้นเป็นสาเหตุ ของมะเร็งและอาการอื่นๆ ทุกวันนี้ยังไม่มีรายงานว่าการใช้มือถือมีผลลบต่อสุขภาพ แต่เพียงการใช้มือถือ 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกัน 10 ปี ความเสี่ยงในการเกิดโรคเนื้องอกในสมองชนิด Glioma (ชนิดที่พบมากสุด) จะเพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ แม้จะพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกสมองก็ตาม แต่เนื่องจากงานวิจัยหลายชิ้นมักสรุปว่า “ยังไม่มีบทสรุปในเรื่องนี้” ทําให้ประเด็นที่ว่ามือถือเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งหรือไม่ ยังคงคลุมเครือต่อไปค่ะ

 

••••••••••••••••••••

ทุกวันนี้เราใช้โทรศัพท์กันตลอดเวลา แถมใช้มากกว่าเดิมเยอะมาก ดังนั้น ถ้ารายงานการศึกษาพวกนั้นโชว์ให้เห็นถึงความเสี่ยงของเนื้องอกที่เพิ่มขึ้น แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเราในอนาคตอันใกล้? เพราะยุคนี้เราใช้มือถือบ่อยครั้ง แถมเด็กยังพกสมาร์ทโฟน กันตั้งแต่อนุบาลแล้ว เมื่อใช้มือถือ (แทนที่จะใช้ โทรศัพท์บ้าน) พวกเราจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกชนิดร้ายแรง ในสมองที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง (Malignant Brain) เพิ่ม 2-4 เท่าเลยทีเดียว

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

 

เรื่องน่าสนใจ