คาเฟอีนคับแก้ว ลดความเสี่ยงเป็นโรคนิ่ว ลดความเครียดได้ชะงัด! ซึ่งผู้คนที่ไปดื่มกาแฟในร้านกาแฟ มีทั้งคนที่นั่งทอดอารมณ์แก้เครียด ฆ่าเวลารถติด ติวหนังสือ คุยธุรกิจ และอาจจะรวมถึงออกเดตกันด้วย ร้านกาแฟจึงต้องแข่งขันกันตกแต่งบรรยากาศให้ชวนนั่ง หอมอวลกลิ่นกาแฟ และลาเต้อาร์ตในแก้ว กาแฟใบเล็กๆ ว่าไปแล้วบรรยากาศร้านกาแฟช่างดูอิสระ เท่ เก่ จนกลายเป็นความฝันของเด็กวัยรุ่นสมัยนี้ การนั่งดื่มกาแฟในร้านแบรนด์ดังหรือร้านเล็กชิคๆ ดูชวนเท่ ทันสมัย จนบางครั้งก็ไม่ได้ให้ความสำคัญจริง ๆ กับกาแฟ เพราะเราหลงไปกับบรรยากาศเสียมากกว่า มาดูกันค่ะว่าในเมล็ดกาแฟเล็กๆ นี้มีอะไรซ่อนอยู่
ครั้งดั้งเดิม เมล็ดกาแฟถูกค้นพบว่าหากนํามาคั่วและบด เมื่อนําไปชงจะได้น้ำกาแฟสีนําตาลรสชาติขม ซึ่งทําให้ตื่นตัว ไม่รู้สึกง่วง เพราะในกาแฟมีคาเฟอีน (Caffeine) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาทที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้สมองที่เฉื่อยเนือยตื่นตัวขึ้น คาเฟอีนยังช่วยกระตุ้นกระเพาะอาหารให้หลั่งกรดออกมาช่วยย่อยอาหาร และขยายถุงลมในปอดด้วย กาแฟจึงกลายเป็นเครื่องดื่มยามเช้าที่ทําให้หลายคนตื่นจากความงัวเงีย นอกจากนี้กาแฟยังมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะช่วยให้ขับถ่ายในยามเช้าได้อย่างดี ฤทธิ์ที่เป็นยาระบายนี้ไม่ได้มาจากคาเฟอีน แต่น่าจะมาจากสารตัวอื่นๆ ที่มีอยู่ในกาแฟอีก 300 ชนิด
คุณค่าอาหารในกาแฟอีกส่วนหนึ่ง มาจากนมและน้ำตาลที่ใส่เพื่อเพิ่มรส (แต่ถ้าใส่มากเกินไปก็จะเกิดโทษได้) คาเฟอีนไม่ได้มีอยู่ในกาแฟเท่านั้น แต่ยังมีในเครื่องดื่ม เช่น ชา โกโก้ ช็อกโกแลต โคล่า และยาแก้ปวดอีกด้วย คาเฟอีนในกาแฟบดต้ม (จากเมล็ดกาแฟที่เรียกกันว่ากาแฟสด ซึ่งขายกันในร้านกาแฟและเป็นที่นิยม) ในปริมาณ 1 ถ้วย มีคาเฟอีนอยู่ 115 มก. ในขณะที่กาแฟผงชง 1 ถ้วย มี 65 มก. ชา 1 ถ้วย มี 40 มก. และโคล่ากระป๋อง มี 40 มก. และไดเอตโคล่ามี 53 มก. แม้ว่าคาเฟอีนจะไม่มีพิษภัย แต่ก็ทําให้เสพติดได้ เพราะฉะนั้นคนที่ดื่มกาแฟและชามากเกินไป อาจทําให้เกิดอาการใจสั่น เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หายใจหอบถี่ นอนไม่หลับ และทําให้ปวดศีรษะไมเกรนได้
กาแฟกับสุขภาพ
แม้ว่ากาแฟจะทําให้คุณรู้สึกกระชุ่มกระชวยในยามเช้า แต่การดื่มกาแฟให้เป็นไลฟ์สไตล์ คือดื่มเกือบตลอดวัน หวังจะให้สมองแล่นและไม่รู้สึกง่วง น่าจะมีโทษมากกว่าประโยชน์ เพราะมีการศึกษาว่าคนที่ดื่มกาแฟจัดๆ คือมากกว่าวันละ 5-6 ถ้วย จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามความเสี่ยงนี้น่าจะเป็นผลมาจากวิธีการชงมากกว่าคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟ หากคุณชงกาแฟโดยใช้หม้อต้มหรือเครื่องชง แบบให้น้ำเดือดซึมผ่านผงกาแฟ (Percolator) หรือชงแบบเอสเปรสโซ คือให้ไอนําอัดผ่านผงกาแฟ หรือแบบเทน้ำร้อนใส่กาแฟบดแล้วนําไปต้ม (ซึ่งเป็นวิธีการชงที่นิยมกันในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย) โดยจะมีสารสองชนิดที่มีอยู่ตามธรรมชาติในกาแฟ ถูกขับออกมาด้วยคือ คาเฟสทอลและคาห์เวออล สารทั้งสองชนิดนี้มีฤทธิ์ทําให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น และทําให้มีอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย แต่ถ้าคุณชงโดยใช้กาแฟผงสําเร็จรูปหรือชงแบบกระดาษกรองก็จะช่วยขจัดสารนี้ได้
…………………………………………………………………………………..
การดื่มกาแฟแม้จะทําให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันสูงขึ้นเล็กน้อย แต่กาแฟไม่ได้ทําให้เป็นโรคความดันสูง หากดื่มพอประมาณ (ไม่เกินวันละสองแก้ว) และคนที่มีความดันสูงก็ดื่มกาแฟได้บ้าง ส่วนคนที่เป็นโรคหัวใจซึ่งเชื่อว่าคาเฟอีนอาจจะทําให้หัวใจวายได้ มีการศึกษาว่าถ้าดื่มกาแฟที่ชงแบบกรอง (Filtered Coffee) ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทําให้หัวใจเต้นผิดปกติในคนที่เคยมีอาการหัวใจวายมาก่อน แต่อย่างไรก็ตามควรต้องระวังและดื่มพอประมาณ
เนื้อหาโดย Dodeden.com