ความดันพุ่ง ถ้ามุ่งกินเค็ม อยากสุขภาพดี ต้องเริ่มต้นที่อาหาร ปัจจุบัน คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนมากจะเกิดกับกลุ่มคนที่บริโภคอาหารเกินความต้องการร่างกาย และเป็นอาหารที่มีรส หวาน มัน เค็ม มากเกินไป รวมทั้งขาดการออกกําลังกาย แต่โรคต่างๆ เหล่านี้ สามารถป้องกันได้ โดยเริ่มที่เรากินอาหารแบบ ลดหวาน มัน เค็ม

ความดันพุ่ง

 

ความดันพุ่ง ถ้ามุ่งกินเค็ม อยากสุขภาพดี ต้องเริ่มต้นที่อาหาร

อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายได้รับโดยการกิน ดื่ม หรือการได้รับทางหลอดเลือด ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าพฤติกรรมการกินไม่ถูกต้อง เหมาะสม อาหารก็ทําร้ายร่างกายได้ โดยทําให้เกิดโรคที่เรียกว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือโรควิถีชีวิต ดังนั้น เราต้องฉลาดที่จะกินอาหาร ไม่ปล่อยให้อาหารกินเรา อาหารที่เราควรมีสติอย่างมากในการกินคือ ไขมัน แป้ง (ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ขนมจีน ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ) น้ำตาล เกลือ และโดยเฉพาะเครื่องปรุงที่มีรสเค็ม

มารู้จักความเค็ม
ความเค็มที่เรารู้จักกันดีคือเกลือ และเกลือมาจากโซเดียมคลอไรด์ ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรุงเค็ม ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ้ว และซอสต่างๆ การที่กินเค็มได้มากน้อยแค่ไหนกําหนดไว้ ด้วยปริมาณโซเดียม ซึ่ง 1 วัน ไม่ควรบริโภคเกิน2,000 มิลลิกรัม (ไม่ควรบริโภคเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา)

แหล่งของโซเดียม

  • อาหารธรรมชาติ
  • การปรุงแต่งรสชาติอาหาร โดยเฉพาะการเติมเครื่องปรุงรสจําพวกเกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว
  • อาหารแปรรูป เช่น ผักดอง ไข่เค็ม ไส้กรอก หมูยอ
  • อาหารสําเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ของขบเคี้ยว

ความดันพุ่ง

อาหารเค็มเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงจาก รายงานทางระบาดวิทยาระบุว่า การกินเกลือมาก สัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตสูง เมื่อลดการกิน เกลือลงจะลดความดันโลหิตทั้งในผู้ที่มีความดัน โลหิตปกติและผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และยัง ทําให้การทํางานของอินซูลินดีขึ้น

การกินเกลือในปริมาณสูง ยังเป็นสาเหตุของโรคไต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจ ทําให้เกิดการบวมน้ำ และหัวใจวายได้ และหากร่างกายได้รับโซเดียมมาก จะทําให้การขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น พบได้ในทุกเพศทุกวัย นําไปสู่การสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก ทําให้มีภาวะกระดูกบางได้ เทคนิคง่ายๆ ในการลดอาหารเค็มคือ ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง ลดการเติมเครื่องปรุงรส เพราะในเครื่องปรุงรสเกือบทุกชนิดมีโซเดียมสูง ลดการกินอาหารแปรรูปต่างๆ ได้แก่ ไส้กรอก หมูยอ แหนม เบคอน ผักดอง ผลไม้ดอง ปลาเค็ม ไข่เค็ม เต้าหู ลดการกินอาหารกึ่งสําเร็จรูป และไม่ควรใส่เครื่องปรุงจนหมดซอง ลดความถี่และปริมาณน้ำจิ้มของการกินอาหารที่มีน้ำจิ้ม เช่น อาหารประเภททอด สุกี้ หมูกระทะ หอยทอด เฟรนช์ฟรายส์ เพราะในน้ำจิ้มมีโซเดียมสูง

…………………………………………….

ที่สำคัญ ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารจานด่วน เพราะจะมีโซเดียมสูง ลดการกินขนมกรุบกรอบให้น้อยลง อย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง หรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

 

เรื่องน่าสนใจ