วัคซีนป้องกัน COVID-19 ความหวังของมวลมนุษยชาติในยุคนี้  คาดการณ์กันว่าจะเป็นการทำให้การระบาดใหญ่สงบลง โดยมีบริษัทยาทำการผลิตวัคซีนจากหลายแห่งทั่วโลกออกมาใช้ได้สำเร็จ ขณะนี้มีวัคซีนมากกว่า 40 ชนิดที่อยู่ในระหว่างการทดลองในมนุษย์ และมากกว่า 150 ชนิดที่อยู่ในขั้นทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือทดลองในสัตว์

วัคซีนป้องกัน COVID-19

วัคซีนป้องกัน COVID-19 ความหวังของมวลมนุษยชาติในยุคนี้

จำนวนเข็มของการรับวัคซีนจะขึ้นอยู่กับวัคซีนที่ได้รับ วัคซีนที่ผลิตในขณะนี้ บางชนิดจะให้ฉีดเพียงครั้งเดียว แต่ส่วนมากจะให้ฉีด 2 ครั้ง โดยครั้งที่สองจะกำหนดไว้ประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีนครั้งแรก การฉีดวัคซีน จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายสูงเพียงพอที่จะทำให้ไม่เกิดโรค หรือถ้าเกิดโรค ก็จะไม่รุนแรงเท่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

วัคซีนป้องกัน COVID-19 มีหลายชนิด

วัคซีนป้องกัน COVID-19
ภาพจาก creative-biolabs.com
  • วัคซีนชนิดเชื้อเป็น แต่อ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine)
    เป็นการใช้เชื้อที่ปรับแต่งพันธุกรรมให้มีฤทธิ์อ่อนลง ที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ แต่ไม่สามารถทำให้เกิด COVID-19 ได้ เป็นวัคซีนที่มีการพัฒนาทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และให้วัคซีนผ่านทางจมูก เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อบุต่าง ๆ

 

วัคซีนป้องกัน COVID-19
ภาพจาก https://www.who.int
  • วัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated or killed vaccine)
    เป็นการผลิตโดยการเพาะเซลล์ไวรัส แล้วนำสารเคมีมาทำให้เชื้อตาย ภูมิคุ้มกันจะทำลายทั้งโปรตีนหนาม (spike protein) และส่วนอื่น ๆ ของไวรัส ส่วนมากมักฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ขณะนี้มีการพัฒนาในจีน อินเดีย และคาซัคสถาน ซึ่งเป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย

 

วัคซีนป้องกัน COVID-19
ภาพจาก future-science.com
  • วัคซีนแบบใช้พาหะของไวรัสอื่น (viral vector vaccine)
    เป็นการใช้ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ มาเป็นพาหะ (vector) โดยการนำสารพันธุกรรมที่ตัดต่อเอาเฉพาะส่วนที่จะถอดรหัสเป็นหนาม (spike) ของไวรัสซาร์สโควี-2 เข้าไปในเซลล์ของมนุษย์ เมื่อร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ทำให้ร่างกายสามารถใช้ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายจดจำเอาไว้ จากวัคซีนมาทำลายไวรัสที่เข้ามาสู่ร่างกายได้

 

  • วัคซีนที่ฉีดสารพันธุกรรม
    ดีเอ็นเอ วัคซีน (DNA vaccine)
    คือวัคซีนที่มีสารพันธุกรรมหลักนิวเคลียสของเซลล์ (nucleus) สามารถผลิตได้ง่ายและได้ปริมาณมากโดยใช้แบคทีเรียบางชนิด เช่น อีคอไล (E. coli) แต่อาจมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในผู้ที่ได้รับวัคซีนที่ไม่ค่อยสูงได้
    – เอ็มอาร์เอ็นเอ วัคซีน (mRNA vaccine)
    ซึ่งย่อมาจากคำว่า messenger RNA เป็นอาร์เอ็นเอ ที่ได้จากการถอดรหัสของยีน (gene) สำหรับสังเคราะห์เป็นโปรตีนต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำคัญในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลพันธุกรรม โดยตัวมันเองอยู่นอกนิวเคลียสของเซลล์ (nucleus) ทำให้วัคซีนไม่มีผลกับดีเอ็นเอทำให้ผลิตได้ง่ายในห้องปฏิบัติการ

 

วัคซีนป้องกัน COVID-19
ภาพจาก genscript.com
  • วัคซีนที่ผลิตจากการตัดต่อโปรตีน (recombinant protein vaccine)
    เป็นการรวมโปรตีนที่ผลิตออกมาจากสารพันธุกรรมของไวรัส ซึ่งมีหลายแบบที่ขณะนี้กำลังพัฒนา ได้แก่ กลุ่มที่เน้นที่โปรตีนหนามเป็นหลัก หรือ ใช้อนุพันธ์โครงสร้างที่เหมือนไวรัส

 

วัคซีนที่มีในประเทศไทยขณะนี้

  • ซีโนแวค (Sinovac)
    มีการศึกษาในประเทศบราซิลว่า มีประสิทธิภาพประมาณ 50.4% ซึ่งมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอยู่ในด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยในประเทศไทย

 

  • แอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)
    หรือเรียกว่า AZD1222 สาธารณสุขประเทศอังกฤษ พบว่าหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครบทั้งสองเข็มแล้ว วัคซีนมีประสิทธิผลสูงถึง 92% ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลและไม่มีผู้ที่เสียชีวิตจากสายพันธุ์เดลต้าในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน โดยมีการศึกษาพบว่าการให้ระยะเวลาระหว่างเข็มแรกและเข็มที่สองห่างกัน 8-12 สัปดาห์ จะยิ่งทำให้วัคซีนประสิทธิภาพดีขึ้น โดยความเสี่ยงในการหญิงตั้งครรภ์ยังไม่ทราบชัดเจน ให้พิจารณาว่าวัคซีนนั้นมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วย COVID-19 ที่ตั้งครรภ์อาจมีประโยชน์ในการป้องกันมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิด เป็นต้น

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่

โดดเด่น
ศัลยกรรม
webdodeden

เรื่องน่าสนใจ