12 กรกฎาคม 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา มีการตรวจสอบสายพันธุ์ ส่วนใหญ่ 74% เป็นอัลฟา (อังกฤษ) เดลตา (อินเดีย) 24% เบตา (แอฟริกาใต้) 1.7% เพียงแต่ว่าถ้าเราดูว่าของสัปดาห์ที่ผ่านมา เราจะพบว่าสายพันธุ์เดลตา เพิ่มมาเป็นเกือบ 57% ในกทม. ภูมิภาค 23% ทำให้ภาพรวมทั้งประเทศ เป็นเดลตา 46.1 % พบ 60 จังหวัด บวกกทม. เป็นที่น่าสังเกตช่วงนี้ลงไปยังภาคใต้พอสมควร ส่วนจังหวดที่พบมากขึ้นคืออุดรธานี 40 กว่าราย นครสวรรค์ 40 กว่าราย ชลบุรี 32 ราย กำแพงเพชร 14 ราย เป็นต้น จึงต้องปรับแนวทางการฉีดวัคซีน ทั้งนี้จะเห็นว่าเดลตาเบียดอัลฟาแล้ว ส่วนจังหวัดอื่นๆ เพิ่มประปราย คาดอีกไม่นานจะกินพื้นที่สายพันธุ์ในประเทศไทยทั้งหมด ส่วนเบตา ส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคใต้
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ที่น่าแปลกใจ เราพบ 1 ราย ที่บึงกาฬ คอนเฟิร์มด้วยการจตรวจสายพันธุกรรมทั้งตัว เป็นคนงานที่กลับมาจากไต้หวัน ตอนกักตัว 14 วัน ไม่พบว่าติดโควิด เมื่อกลับบ้านไปแล้ว ป่วย พอตรวจตอนหลังพบว่าติดโควิด พบสายพันธุ์เป็นเบตา ซึ่งเราได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อเทียบกับของไต้หวัน และภาคใต้ พบว่าไม่ได้มาจากทั้ง 2 แหล่ง เป็นเรื่องที่ต้องไปไล่ดุ แจ้งกรมควบคุมโรค แล้ว ส่วนคนที่ใกล้ชิดก็เอามาตรวจแล้ว
“วันนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจ การตรวจเชื้อในแคมป์คนงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ในกทม. ซึ่งปรากฎว่า เราพบผู้ติดเชื้อผสม(Mix infection) ซึ่งหมายถึงว่า ในตัวคนๆ เดียวตรวจพบทั้ง 2 สายพันธุ์ โดยมีพบ 7 รายจากการตรวจทั้งหมด 200 กว่าราย โดยสัญญาณคือหากเราปล่อยให้การติดเชื้อผสมเยอะๆ ก็อาจเกิดเป็นลูกผสม(Hybrid) เป็นสายพันธุ์(Varian) ตัวใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น ที่รัฐบาลขอความร่วมมือทุกคนหยุดเดินทาง ทำเซมิล็อกดาวน์ เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อผสม” นพ.ศุภกิจ กล่าว
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างเดียว แต่ประเทศอื่นๆ ในโลกนี้ก็มี และทั้ง 7 รายนี้ยังสบายดีไม่มีอาการ ดังนั้นไม่ได้บอกว่าติดเชื้อผสม 2 ตัวจะทำให้รุนแรงขึ้น แต่ต้องจับตาดูต่อไป อย่างไรก็ตาม ตรวจพบรหัสพันธุกรรมในคนๆ เดียวกัน ซึ่งการตรวจ 7 รายนี้เป็นการเข้าได้ทั้งอัลฟาและเดลตา แต่ทั้งหมดแข็งแรงดี ไม่มีปัญหาอะไร
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่