หลังผ่าตัดโครงหน้า ต้องดูแลตัวเองยังไง ให้เข้าที่เร็วขึ้น! ซึ่งแน่นอนว่า การปรับรูปหน้านั้น จะต้องเกิดบาดแผลจากการผ่าตัดที่ต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าร่างกายจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ จึงต้องมีแนวทางในการดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงปรารถนา
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เนื่องจากแพทย์จะให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละคน เช่น การใช้ยา การดูแลแผล และกิจกรรมประจำวัน ตามไลฟ์สไตล์ที่เราควรหลีกเลี่ยง สิ่งสำคัญคือการรักษาความสะอาดของบริเวณที่ผ่าตัดและแผลให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ตามคำแนะนำของแพทย์ ในบางรายอาจมีการใช้ยาหรือครีมเพื่อช่วยในการรักษา
ในช่วงพักฟื้นที่โรงพยาบาล หลังการผ่าตัดโครงหน้า อาหารที่ทาน ต้องคำนึงถึงความสะดวก เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย เป็นอาหารที่นิ่ม และไม่ทำให้แผลอักเสบหรือระคายเคือง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตามโรงพยาบาลจะเสิร์ฟเป็นอาหารอ่อนๆ เช่น ซุป นมโปรตีน พุดดิ้ง
ในช่วงระยะที่สอง อาจจะเป็นโจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ตุ๋น ปลาเนื้อนุ่ม ที่ไม่ต้องใช้กรามในการบดเคี้ยวมากๆ เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ในช่วงแรกๆ ก็ยังควรทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด และไม่แข็งมาก และแนะนำให้เสริมอาหารต่างๆ เพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมความเสียหาย
เป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับทานเพื่อซ่อมแซมร่างกายหลังการผ่าตัด
คาร์โบไฮเดรตที่ดีจากผัก
คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุที่พบในผัก เป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุด ในอาหารเพื่อการฟื้นตัวหลังผ่าตัดโครงหน้า อาจนำมาปรุงอาหารให้อ่อนๆ เช่น นำไปนึ่ง เพื่อให้เคี้ยวง่าย เช่น แครอท กะหล่ำดอก บร็อคโคลี กะหล่ำปลี มันเทศ คาร์โบไฮเดรตที่ดีจากผัก จะช่วยฟื้นฟูให้ร่างกายสามารถ Recovery ตัวเองได้ไวขึ้น และไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากนัก ที่สำคัญ ร่างกายจะได้รับวิตามินเอและซีเพิ่มขึ้นด้วย รวมไปถึงไฟเบอร์ในผักที่มีเป็นจำนวนมาก จะช่วยลดอาการท้องผูก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นจากยาแก้ปวด และการเคลื่อนไหวที่ลดลงหลังผ่าตัดโครงหน้านั่นเองค่ะ
ผักใบเขียว
ผักใบเขียวเข้ม อาจไม่อร่อยเท่าผลเบอร์รี่หลากสีและไขมันดี แต่มีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงพักฟื้น การทานผักใบเขียวในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย จะทำให้เราได้รับวิตามินเอ ซี และอี รวมถึงวิตามินเค ซึ่งจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือด ผักใบเขียวจึงเป็นเหมือนมัลติวิตามิน และประกอบด้วยไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แคลเซียม และวิตามินบีคอมเพล็กซ์ กุญแจสำคัญต่อการฟื้นตัวของร่างกาย ซึ่งผักใบเขียวที่ผู้คนนิยมทานหลังการผ่าตัด คือ ผักคะน้า ผักโขม ผักโขมใบสวิส เป็นต้น
ไขมันที่ดีก็สำคัญ
หลังการผ่าตัด ไขมันดีมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก เพราะจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินที่ได้จากผลไม้และผักได้ดี ไขมันมีความจำเป็นต่อการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และลดโอกาสการติดเชื้อ ไขมันดีบางชนิดที่เราแนะนำให้เพิ่มเข้าไปในมื้ออาหาร คือน้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่ว (เช่น อัลมอนด์) เมล็ดพืช น้ำมันมะพร้าว ไขมันดียังเป็นแหล่งพลังงานที่มีวิตามินอีสูง ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น และช่วยลดรอยแผลเป็น
โปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่
กรดอะมิโนในโปรตีน จะช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่เสียหาย โดยการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และเร่งการสมานแผล นอกจากนี้ ธาตุเหล็กที่พบในเนื้อสัตว์ จะช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ หลังผ่าตัด จึงควรเสริมธาตุเหล็กและโปรตีนจากอาหาร เช่น เนื้อหมู เนื้อปลา ไก่ ถั่ว ไข่ เต้าหู้
การกลับไปทานอาหารปกติหลังการผ่าตัดโครงหน้าอาจใช้เวลาต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัดและความรุนแรงของกรณีที่คุณได้รับ รวมถึงการตอบสนองของร่างกายของคุณต่อการฟื้นตัว นี่คือแนวทางทั่วไปที่อาจช่วยให้คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับเวลาที่จะกลับไปทานอาหารปกติได้
จะต้องเริ่มด้วยอาหารที่นิ่มและง่ายต่อการย่อย เช่น ซุป, โยเกิร์ต, พุดดิ้ง,ผลไม้บด
ไข่ตุ๋น, ผักนึ่ง หรือบด, และปลาเนื้อนุ่ม เพราะช่วงแรกหลังการผ่าตัด
จะมีการบวมและความรู้สึกไม่สบายในบริเวณที่ผ่าตัด
การทานอาหารที่นิ่ม จะช่วยหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนที่แผล และทำให้การกลืนง่ายขึ้น
สามารถเริ่มทานอาหารที่มีเนื้อสัมผัสปกติได้
แต่ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็ง หรือเหนียวในบางกรณี
อาการบวมหลังการผ่าตัดโครงหน้า เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากการตอบสนองของร่างกายต่อการผ่าตัดและการบาดเจ็บ โดยทั่วไปอาการบวมจะแตกต่างกันไปตามร่างกายของแต่ละคน
วันแรกหลังผ่าตัด (24-48 ชั่วโมง)
อาการบวมมักจะเริ่มขึ้นในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด อาจมีการบวมที่ชัดเจนรอบ ๆ บริเวณที่ผ่าตัด รวมถึงรอบดวงตาและใบหน้า
สัปดาห์แรก (2-7 วัน)
อาการบวมจะสูงสุดในช่วง 2-3 วันแรก และอาจเริ่มลดลงในช่วงปลายสัปดาห์แรก บางครั้งอาจมีการบวมที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ ของใบหน้า ควรลดการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้บวมมากขึ้น
สัปดาห์ที่สอง (7-14 วัน)
อาการบวมส่วนใหญ่ จะเริ่มลดลงในช่วงนี้ แต่ยังอาจมีอาการบวมบางส่วน และความรู้สึกไม่สบายอยู่บ้าง
หลังจาก 4 สัปดาห์ ขึ้นไป
อาการบวมส่วนใหญ่ จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้ แต่บางคนอาจยังมีอาการบวมเล็กน้อย ที่อาจใช้เวลานานกว่านั้นในการหายสนิท จึงควรปรึกษาแพทย์หากอาการบวมยังไม่ลดลงหรือมีความผิดปกติ
ติดตามอาการบวม และการฟื้นฟูตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด หากอาการบวมไม่ลดลง หรือรู้สึกมีปัญหาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของเคสทันที