เรียบเรียงข่าวโดย โดดเด่นดอทคอม
ภาพประกอบข่าวจาก ผู้จัดการ , เฟซบุ๊ก “Mitpol Saelim”
ชาวเน็ตโวยซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมเข้าไทยแค่ใบเดียว โดนศุลกากรของสุวรรณภูมิเรียกเก็บภาษี 37,000 บาท ขอต่อรองเต็มที่ลดให้เหลือ 30,000 แต่พอจะขอถ่ายรูปเจ้าหน้าที่เพื่อลงเฟซบุ๊กเท่านั้น ยอมลดฮวบเหลือแค่ 10,000 บาท
ผู้สื่อข่าว www.dodeden.com ระบุว่าทางเว็บผู้จัดการได้เสนอว่า เมื่อวันที่ 9 ก.พ. มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า “Mitpol Saelim” ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า ช่วยแชร์กันเยอะๆนะครับ ไม่อยากให้ประชาชนต้องเสียค่าโง่ครับ
“เตือนภัยสาวๆที่ชอบซื้อของแบรนด์เนมเข้าประเทศ”
เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2558 เวลาประมาณ 20:08 น. เหตุเกิดที่ ห้องฝ่ายบริการผู้โดยสาร (ขาเข้าระหว่างประเทศ) สนามบินสุวรรณภูมิ
ผมได้เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงประเทศไทยพร้อมคณะทัวร์ที่ไปเที่ยวด้วยกัน เมื่อลงจากเครื่องบินก็ต้องไปตรวจคนเข้าเมือง ทุกคนผ่านไปด้วยดี หลังจากนั้นก็มาถึงการสำแดงสิ่งของ ทุกคนก็ผ่านไปด้วยดี
แต่มีคนๆหนึ่งในลูกทัวร์ไม่ผ่าน ลูกทัวร์คนนี้ก็ถามว่าทำไมไม่ผ่าน ทางคนตรวจบอกว่ามีกระเป๋าอยู่ใบหนึ่ง (ย้ำนะครับว่าใบเดียว) ต้องขอดูก่อน ปรากฎว่า เป็นกระเป๋าที่มีราคาแพง ต้องไปคุยกับนักวิชาการในด้านนี้ ว่าจะให้ผ่านได้ไหม
ผมอยู่ในเหตุการณ์และรู้จักกับลูกทัวร์พอดี แต่ไม่สนิท (ผมฟังแล้วไม่แฟร์) เลยไปช่วยคุยและอยากรู้เหตุผลด้วยว่าไม่ผ่านเพราะอะไร
ไปถึงก็มีนักวิชาการอย่างว่าออกมาคุย
ผมถามไปว่า “กระเป๋าใบเดียว” ทำไมผ่านไม่ได้ครับ
นักวิชาการ ; กระเป๋าแบรนด์เนม ราคาเกิน 100,000 บาท ต้องโดนภาษีเพิ่ม 37,000 บาทค่ะ
ผม ; โทษนะครับ เค้าซื้อกระเป๋าใบนี้มาจากญี่ปุ่นแพงว่าซื้อในไทย จะต้องโดนภาษีอีกหรอครับ (ใบนี้หายากมั้งครับ) เค้าไม่ได้ซื้อมาขายนะครับ
นักวิชาการ ; ถ้าเป็นแบรนด์เนมมีราคา ทางเราก็ต้องให้เสียภาษีค่ะ ไม่งั้นคนก็ซื้อมาขายกันเยอะค่ะ
ผม ; มันแค่ใบเดียวนี่นะ อีกอย่างราคาก็แพงกว่าเมืองไทย เค้าจะเอาไปขายได้ไงครับ ช่วยหน่อยได้ไหมครับ
นักวิชาการ ; จะให้ช่วยยังไงอ่ะ ว่ามา
ผม ; 10,000 บาทก็พอครับ (ปรึกษากับลูกทัวร์แล้ว)
นักวิชาการ ; ไม่ได้หรอก อย่างน้อยก็ต้อง 30,000 บาท ช่วยได้แค่นี้จริงๆ
ผม ; งั้นถ้าช่วยไม่ได้คุณก็ทำตาม process คุณแล้วกัน ผมก็ขอถ่ายรูปคุณลงเฟซฯ นะครับ
นักวิชาการ ; ไม่ได้ๆ คุณหยุดถ่ายเดี๋ยวนี้
ผม ; คุณทำตาม process คุณ ผมถ่ายแค่นี้แล้วคุณกลัวอะไรครับ ถ้าคุณจะเอาหลักกฎหมายมาหากินกับประชาชน ก็ตัองแฟร์กับประชาชน ให้ประชาชนรับรู้ทั่วกันด้วยครับ
ไม่ใช่มีคนรู้แค่ 10% คุณต้องออกสื่อมากกว่านี้ครับ (นักวิชาการแตกกระเจิงตอนผมถ่ายรูป)
ตอนนี้ไม่มีนักวิชาการคุยกับผมเลย หนีเข้าห้องกันหมด อีกสักพักนักวิชาการคนเดิมก็เดินมา บอกให้ลูกทัวร์เข้ามาคุยกับหัวหน้าอีกคน ในห้องฝ่ายบริการผู้โดยสาร โดยไม่ยอมให้ผมเข้าไปเลย
ผ่านไปสัก 5 นาที ลูกทัวร์ก็ออกมาพร้อมกับการเสียเงิน 10,000 บาท
จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องของผมหรอกครับ แต่ผมถามหน่อย คนไทยไปต่างประเทศ จะซื้อของมาใช้เอง แค่ใบเดียวไม่ได้หรอ ? รัฐบาลควรกำหนดมาเลยว่า ได้กี่ใบ/คน
ถ้าไม่ได้ก็ควรออกสื่อให้ทราบทั่วกัน ว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่????เหมือนเราเล่นกีฬา ต้องมีกฎเกณฑ์ในการเล่นให้ผู้เล่นรับรู้ทั้งสองฝ่ายมันถึงจะแฟร์ ใช่ไหมครับ”
ทั้งนี้ เจ้าของโพสต์ ได้คอมเมนต์เพิ่มเติมด้วยว่า ด้วยความเคารพ…..ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยสำหรับสิ่งที่ผมโพสต์นะครับ คือจริงๆแล้วผมต้องการจะสื่อให้ประชาชนรับรู้ให้มากกว่านี้ครับ ไม่มีเจตนาจะว่าใครทั้งนั้น
สิ่งที่กฎหมายมีอยู่ผมเคารพ แต่ตอนนี้หลายท่านเข้าใจผิดในสิ่งที่ผมโพสต์ ลองอ่านดูดีๆนะครับว่าผมต้องการสื่ออะไร ยังไงผมต้องขอโทษด้วยนะครับ ที่อาจจะสื่อแล้วทำให้ท่านเข้าใจผิด ต้องขอโทษจริงๆ ครับ
หลังจากนั้น เจ้าของโพสต์ ได้คอมเม้นอีกว่า ตัดสินใจอยู่นานว่าจะลงข้อมูลนี้ดีหรือไหม สรุปว่าลงดีกว่า ด้วยความบริสุทธิ์ใจ คือว่าเมื่อคืน มีนักวิชาการคนหนึ่งโทรมาหาผมเวลา 20:42 น. บอกว่าผมลงไปอย่างนั้นได้อย่างไร
ก่อนอื่นผมต้องขอโทษท่านด้วยนะครับ ที่ทำให้ท่านเข้าใจผิด ผมลงเฟซไปมีเจตนาที่จะให้ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้ถึงกฎหมายข้อนี้เท่านั้น ช่วยเป็นประชาสัมพันธ์ให้กับองค์กรของท่านอีกเสียงหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงตัวท่านแม้แต่น้อย
ผมเคารพในกฎหมาย ไม่ได้บอกว่ากฎหมายไม่ดี แต่ประชาชนส่วนใหญ่เค้าไม่รู้นะครับ ก็เลยลงไปเพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับรู้โดยทั่วกันเท่านั้นครับ
ผมไม่ได้ว่าท่านหรือองค์กรของท่าน เพียงแต่ผมอธิบายขั้นตอนการทำงานขององค์กรท่านเพื่อให้ประชาชนเห็นภาพชัดขึ้นเท่านั้นครับ หวังว่าท่านเข้าใจและหันมามองมุมของผมและประชาชนส่วนใหญ่บ้างนะครับ ด้วยความเคารพ
อย่างไรก็ตามอีกมุมหนึ่ง นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงใกล้ปิดภาคเรียนเดือน เม.ย.และ พ.ค.มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองถือโอกาสพาครอบครัวเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
และเมื่อเดินทางกลับจะซื้อของฝากของที่ระลึกหรือสินค้าแบรนด์เนมที่นิยมกลับมาด้วย โดยไม่ทราบกฎระเบียบการนำของติดตัวเข้าประเทศว่ามีข้อกำหนดไว้อย่างไรบ้าง
เมื่อผ่านการตรวจจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร อาจต้องชำระอากรสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่ากฎหมายอนุญาตหรืออาจต้องเสียค่าปรับ หรือถูกริบของบางรายการที่เป็นของต้องห้ามด้วย