ที่มา: bangkokbiznews

เรียบเรียงโดย โดดเด่นดอทคอม

ภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ

เรื่องราวของการดูแลรักษาสุขภาพ เมื่อ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาวะขาดวิตามินบี 1 กลายเป็นปัญหาที่ถูกมองข้าม

เนื่องจากอุบัติการณ์ภาวะพร่องวิตามินบี 1 ไม่เด่นชัด แต่จากการลงพื้นที่สำรวจร่วมกับสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(คร.) เมื่อปี 2557 พบผู้ป่วยที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงและชา 78 ราย มีอาการรุนแรง 3 ราย และเสียชีวิต 2 ราย

8z

โดยผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเรือนจำในจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งการขาดวิตามินบี 1 ถือเป็นปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะในกลุ่มที่ติดเชื้อต่างๆ อย่างเชื้อไวรัสก่อโรคไข้หวัดใหญ่ หรือแม้แต่เชื้อก่อโรคท้องเสีย จะส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้น และหากแพทย์ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ จะส่งผลต่อการรักษาด้วย

“วิตามินบี 1 มีส่วนสำคัญทำให้เซลล์มีชีวิต ซึ่งในกรณีที่ขาดวิตามินบี 1 และป่วยด้วยโรคติดเชื้อต่างๆ ก็จะยิ่งฉุดให้วิตามินบี 1 ลดระดับลงมาก

และจะส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ มีอาการทางจิตเวช หัวใจวาย และเสียชีวิตได้ รวมไปถึงอาการชาปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้อของแขนและขาอ่อนแรงเป็นอัมพาตภายในเวลา 2-3 วัน

นอกจากนี้ยังขณะเดียวกันอาจมีอาการบวม มีน้ำคั่งในช่องท้อง และปอด ซึ่งเมื่อเกิดกรณีน้ำท่วมปอด แพทย์มักให้ยาขับปัสสาวะ แต่วิธีนี้จะไม่ช่วยในกลุ่มที่ขาดบี 1 เพราะจะทำให้ยิ่งทำให้วิตามินบี 1 ถูกขับออกไปกับปัสสาวะ

ดังนั้นแพทย์ต้องฉีดวิตามินบี 1ให้กับผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ และระบบต่างๆทำงานดีขึ้นได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่การวินิจฉัย หากมีการตรวจพบปัญหาเร็วก็จะรักษาได้ทันท่วงที” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า การป้องกันภาวะพร่องวิตามินบี 1 สำคัญที่สุด โดยควรหันมารรับประทานข้าวกล้อง แทนข้าวขาวที่ผ่านการขัดสี แต่ประเด็นนี้ค่อนข้างลำบาก

เพราะทุกคนล้วนบริโภคข้าวขาวมานาน จึงอาจต้องเลี่ยงรับประทานพวกสารทำลายวิตามินบี 1

คือ ปลาน้ำจืด หอยลาย ปลาร้า เป็นต้น แต่ในกรณีที่ขาดวิตามินบี 1 มากๆอาจต้องหันมาทานวิตามินสำเร็จรูป ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ทั้งนี้ ทีมศึกษาที่จุฬาฯ ได้มีการพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยไวรัสต่างๆ เพื่อหากลุ่มไวรัสที่ถูกต้อง

รวมไปถึงการตรวจหาสาเหตุของอาการป่วยต่างๆ ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าควรจะรักษาอย่างไรต่อไปนอกจากนี้ ที่อยากเตือนประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภูมิภาค กลุ่มผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย แม้แต่ป่วยด้วยไข้หวัดก็มักหาซื้อยาต้มยาสมุนไพรมารับประทานเอง

ตรงนี้อันตรายเพราะส่วนใหญ่ผสมสารสเตียรอยด์ โดยเมื่อรับเข้าไปในช่วงแรกอาการจะดีขึ้น ทำให้ติดยา สุดท้ายรับประทานไปเรื่อยๆ จะทำให้ร่างกายทรุดโทรม และเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ที่ผ่านมาในจำนวนผู้ป่วยที่เข้าห้องไอซียูด้วยอาการช็อคกว่า 2,000 ราย พบว่าร้อยละ 70-80 มาจากการได้รับยาสเตียรอยด์

เรื่องน่าสนใจ