ที่มา: Thairath Online

ใกล้เทศกาลสงกรานต์แล้ว คนไทยถือว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่พ่อ แม่ พี่น้องได้มีโอกาสพบปะเจอหน้ากันอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นเรื่องดีและสิ่งที่จะขาดเสียไม่ได้คือ การรับประทานอาหารร่วมกันในครอบครัว 

ส่วนใหญ่ที่เห็นเกือบทุกบ้านคือ หมูกระทะ เนื้อกระทะ สุกี้ยากี้ หมูจุ่ม เนื้อจุ่ม เป็นต้น หากคนเยอะก็ซื้อเนื้อ ซื้อหมูมาทำกันเอง ส่วนน้ำจิ้มก็ชิมตามใจชอบ แต่ถ้าคนไม่เยอะก็ซื้อแบบสำเร็จ ไม่ต้องเสียเวลายุ่งยากในการเตรียม น้ำจิ้มก็มีทั้งแบบสำเร็จรวมอยู่ในถุงหรือถ้าต้องการรสชาติกลางๆ ก็หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เกตทั่วไป

10-35

น้ำจิ้มสุกี้ยากี้ ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมที่คล้ายๆกัน เช่น ซอสพริก พริก เต้าหู้ยี้ กระเทียมดอง น้ำมันงา งาคั่ว ผักชี เครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำตาล น้ำส้มสายชู

นอกจากนี้อาจมีส่วนผสมของสารกันบูดที่ใช้เพื่อถนอมน้ำจิ้มสุกี้ยากี้ให้เก็บรักษาได้ยาวนาน และสามารถช่วยยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ รา ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย หรือยับยั้งปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้อาหารเสื่อมเสียได้

ปกติสารกันบูดชนิดที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้นั้นมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง แต่การรับประทานอาหารที่มีสารกันบูดเป็นประจำ อาจส่งผลให้ร่างกายขับออกไม่ทัน จนอาจสะสมและตกค้างในร่างกาย และนำมาซึ่งความเจ็บป่วยได้

วันนี้สถาบันอาหารได้สุ่มเก็บตัวอย่างซอสสุกี้จำนวน 5 ตัวอย่าง (5 ยี่ห้อ) เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณของสารกันบูด 2 ชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ผลปรากฏว่า พบสารกันบูดในทุกตัวอย่าง ซึ่งพบในปริมาณที่แตกต่างกันไป

ทางที่ดีควรทานอาหารที่หลากหลาย เน้นทานอาหารสด สะอาดและอาหารที่ปรุงสดใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของสารต่างๆในร่างกายมากเกินไป เพื่อความปลอดภัย

10-36

เรื่องน่าสนใจ