ที่มา: BBCThai

เรียบเรียงโดย โดดเด่นดอทคอม

การสูญพันธุ์ในยุคไดโนเสาร์เมื่อหลายล้านปีก่อน ยังเป็นประเด็นสำคัญที่มนุษย์พยายามจะศึกษาหาคำตอบ เพราะเชื่อกันว่าเหตุการณ์ในยุคนั้น ไม่ต่างอะไรกับการล้างโลก และเหตุการณ์ในทำนองนั้นอาจจะหวลกลับมาอีกก็เป็นได้และครั้งนี้อาจจะมาจากฝีมือมนุษย์ที่ค่อยๆทำลายโลกทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ทาง BBC Thai รายงานว่า มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารไซแอนซ์ พบว่า น้ำในมหาสมุทรที่กลายเป็นกรดนั้น เป็นหนึ่งในสาเหตุที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก

00

สาเหตุการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic mass extinction) ยังคงเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวาง แต่การศึกษาล่าสุดของคณะวิจัยที่นำโดย ดร.แมทธิว คลาร์กสัน แห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างหินในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งเป็นตำแหน่งของพื้นมหาสมุทรในยุคนั้นพบว่า การระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟในแถบไซบีเรีย ได้พ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในปริมาณมาก ซึ่งสัดส่วนที่ก๊าซถูกปล่อยออกมาในปริมาณมากอย่างรวดเร็วนั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำในมหาสมุทรเป็นกรด และอัตราการปลดปล่อยก๊าซดังกล่าวยังก็เป็นอัตราเดียวกับในยุคปัจจุบัน

ดร.คลาร์กสัน บอกว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์เคยตั้งข้อสงสัยกันมานานว่า ปรากฏการณ์น้ำทะเลเป็นกรดได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในยุคการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่นี้ แต่ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดจนกระทั่งมีการค้นพบดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าวิตก เมื่อประเมินจากการที่เราเริ่มเห็นปรากฏการณ์น้ำทะเลเป็นกรดเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของมนุษย์นั่นเอง

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก ที่เกิดขึ้นเมื่อ 252 ล้านปีก่อนนั้น ทำให้สัตว์ทะเลกว่า 90% และกว่า 2 ใน 3 ของสัตว์บกต้องสูญพันธุ์ไป เชื่อกันว่าเหตุการณ์นี้กินเวลานานกว่า 60,000 ปี และยังทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเป็นกรดนานราว 10,000 ปี

01

เรื่องน่าสนใจ