เนื้อหาโดย Dodeden.com

หากเทียบความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสังคมในชีวิตจริง เราจะพบว่าสังคมในโลกออนไลน์นั้นกลับทวีความรุนแรงที่รวดเร็วและกว้างไกลกว่ามาก รวมทั้งผู้ที่เคยถูกกลั่นแกล้งมาก่อน เช่น เคยถูกคอมเมนต์ด่าในโซเชียล ก็มักมีแนวโน้มที่จะคอมเมนต์ด่าคนอื่นต่อไปโดยไม่รู้สึกว่าเป็นความรุนแรง เมื่อความรุนแรงถูกส่งต่อออกไป ผู้ที่ได้รับผลกระทบจึงอาจเป็นใครหลายๆ คนที่เข้ามาอ่านและมีภูมิต้านทานทางจิตใจอ่อนแอ

Cyberbully เป็นความรุนแรงรูปแบบใหม่ โดยผู้กระทําอาจตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ แต่ส่วนใหญ่มักทําไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การแชร์ข้อมูลบางอย่างด้วยความตั้งใจดี แต่กลับไปกระทบใจคนอื่นโดยไม่คาดคิด ส่วนประเด็นที่เป็นการกลั่นแกล้งโดยตั้งใจนั้น มักจะพบในเด็กนักเรียน ซึ่งประเด็นที่ถูกโจมตีมากที่สุดคือ การใช้ถ้อยคําที่รุนแรงหรือด่าทอ ซึ่งหากคนในสังคมไม่สนใจ ก็จะกลายเป็นมาตรฐานความรุนแรง ที่เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนพิมพ์ด่ากันธรรมดา ในขณะที่ความอดทนของคนก็จะต่ำลง เพราะฉะนั้น บางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จึงมีการรณรงค์ เรื่องของ Zero Tolerance (ความอดทนต่อความ รุนแรงเท่ากับศูนย์) คือหากมีคนโพสต์ข้อความที่รุนแรง คนญี่ปุ่นก็จะออกมาต่อต้านทันที

สําหรับกลุ่มเสี่ยงที่มักได้รับผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจได้ง่ายนั้น ประกอบด้วย 6 กลุ่ม คือ

กลุ่มคนไอคิวต่ำ
โดยเฉพาะเด็กๆ ที่มักจะถูกชักจูงและล่อลวงได้ง่าย

คนที่ใช้คอมพิวเตอร์บ่อยๆ
อยู่หน้าจอนานๆ ในระหว่างวัน ซึ่งจะมีความถี่ในการรับสารสูงกว่าผู้ที่อยู่หน้าจอน้อย

ผู้ที่มี Self-Esteem ต่ำ
หรือมีความมั่นใจในตัวเองต่ำ ทําให้ถูกกระทบได้ง่าย และมักรู้สึกว่ากําลังโดนต่อว่า

คนซึมเศร้าง่าย
เพราะคนกลุ่มนี้มักจะมองทุกอย่างในแง่ลบ ทั้งกับตัวเองและสิ่งแวดล้อม

คนที่ไม่มีเพื่อน
ทําให้
ขาดประสบการณ์และความสัมพันธ์กับผู้อื่น จึงรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว เมื่อเห็นโพสต์ต่างๆ จึงอาจรู้สึกขัดใจ ไม่ถูกหู หรือมีอารมณ์โกรธเศร้าได้ง่าย

กลุ่มที่มีผลการเรียนต่ำ
ซึ่งมักเป็นคนที่มี self-esteem ต่ำด้วย เมื่อมีคนพูดถึงความเก่ง ก็มักจะเข้าใจว่าโดนข่ม และทําให้รู้สึกแย่ได้ง่าย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึง Cyberbully เรามักจะกังวลกับเด็กๆ มากกว่า เนื่องจากเด็กมีโอกาสที่จะถูก Bully มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะด้วยพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์ทางความคิด เด็กจึงเป็นกลุ่มที่เปราะบางกว่า ส่วนเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศ โอกาสที่จะถูก Bully พบไม่ต่างกันสําหรับชายและหญิง แต่ผู้หญิงมักจะ แสดงออกทางอารมณ์มากกว่าผู้ชาย เช่น แสดงความอ่อนแอหรือถูกกระทําได้มากกว่าและง่ายกว่า

เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจ และก็ไม่ใช่ทุกวันที่เราจะมีอารมณ์หนักแน่นไม่หวั่นไหวกับข้อมูลมากมายที่ผ่านมากระทบสายตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิตอล ที่ทุกคนต่างใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจําวัน การเลิกใช้สื่อออนไลน์ไปเลยจึงทําได้ยาก

เคล็ดลับในการรับมือกับโลกไซเบอร์อย่างชาญฉลาด

  • อย่าเพิ่งเชื่อหรือด่วนสรุปกับสิ่งที่เห็น ต้องรู้จักกรองข้อมูลโดยถามจากคนใกล้ชิด
  • ใช้สื่ออย่างมีสติและอย่าใช้บ่อย เพราะยิ่งใช้บ่อย ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการถูก Bully
  • พยายามลดเวลาใช้งานตามความจําเป็น รวมทั้งเลือกช่วงเวลาในการใช้งานที่เหมาะสม เช่น ในช่วงพักผ่อน การรับรู้ข้อมูลจากสื่อจะเป็นกลางมากกว่าช่วงที่คุณรู้สึกเครียด เพราะความเครียดจะแปรความจากสารที่อ่านให้เครียด ตามไปด้วย
  • คนรอบข้างต้องเตือนสติ ชวนไปทํากิจกรรมนอกบ้านบ้าง

และที่สำคัญที่สุด สังคมไม่ควรละเลยเรื่องของความรุนแรง ต้องช่วยกันรณรงค์เพื่อลดความรุนแรง อย่าพยายามสร้างมาตรฐานใหม่ของความรุนแรงหรือวาทกรรมที่รุนแรงว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ป้ายกำกับ: |

เรื่องน่าสนใจ