Obesogenic ภาวะความอ้วนจากพฤติกรรม และประเภทของอาหารที่กิน  จากรายงานสุขภาพคนไทยในกลุ่มที่อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า 1 ใน 3 คนมีภาวะน้ำหนักเกิน และ 1 ใน 10 คน เป็นโรคอ้วน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยหรือเด็กวัยเรียนที่ มีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นเท่าตัว

ที่น่าตกใจคือพบมากในประเทศกําลังพัฒนาในแถบเอเชีย โดยเฉพาะในระดับภูมิภาค พบว่าคนไทยอ้วนสูงสุดเป็นอันดับ 2 จาก 10 ประเทศอาเซียน รองจากมาเลเซียประเทศเดียว ซึ่งปัจจัยส่วนหนึ่ง WHO กล่าวว่ามาจากพฤติกรรมและประเภทของอาหารที่กิน จึงทําให้อ้วนง่ายมาก หรือที่เรียกว่า Obesogenic

 

Obesogenic ภาวะความอ้วนจากพฤติกรรม และประเภทของอาหารที่กิน

สังคมยุคนี้ เป็นสังคมเร่งรีบ การบริโภคอาหารมักเป็นแบบ Take Away ซื้อกลับและถือง่าย ส่วนใหญ่จึงเป็นของทอด ซึ่งมีแคลอรี่สูง อีกทั้งสถานที่ที่เราเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นทางกลับบ้าน ไปทํางาน ห้างสรรพสินค้า โรงหนัง ส่วนใหญ่ก็จะขายสินค้าแคลอรี่สูง อย่างเฟรนช์ฟรายด์ น้ำอัดลม ป๊อปคอร์น กลายเป็นอาหารที่ หาซื้อง่าย เดินไปทางไหนก็เจอ ดังนั้น สิ่งแวดล้อมรอบตัวจึงมีส่วนผลักดันให้คนบริโภคอาหารที่ทําให้เสียสุขภาพ

รวมถึงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ส่งเสริมให้คนออกกําลังกาย ใช้ชีวิตแบบกินๆ นั่งๆ นอนๆ ไม่ได้ออกแรงเท่าที่ควร อย่างการเดินทางก็ใช้แต่รถจนแทบไม่ได้ขยับตัว หรืออยู่ที่ทํางานก็ใช้ลิฟต์ โดยไม่ยอมใช้บันได ปัจจัยดังกล่าวเหล่านี้จึงอาจทําให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนตามมาได้

ความอ้วนนั้น ไม่ใช่แค่รูปร่างภายนอกที่ดูหนา เพราะมีไขมันสะสมพอกพูนมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบการทํางานภายในที่ผิดปกติ จนอาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่งมักเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด และสภาวะหายใจลําบาก หรือหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep Apnea v5a OSA)

Obesogenic
ภาพจาก health.harvard.edu

นอกจากนี้ สําหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรคต่างๆ เหล่านี้ จะมีสาเหตุอื่นร่วมด้วย แต่ในทางการแพทย์ระบุว่า ความอ้วน ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทําให้เกิดโรคเหล่านี้ได้อย่างแน่นอน การหมั่นสํารวจตัวเองอยู่เป็นประจํา จะช่วยให้เราสามารถควบคุม และรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้มากจนเกินสมดุล

สําหรับหลักการคํานวณแบบง่ายๆ คือ สํารวจจากเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ทุกวัน หากเริ่มฟิตและสวมใส่ลําบากขึ้น แสดงว่าน้ำหนักคุณอาจเพิ่มขึ้น สองคือการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักต่อส่วนสูง ใช้บ่งชี้ว่าอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป หากค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ขึ้นไป หมายถึงคุณเข้าสู่ภาวะน้ำหนักเกินแล้ว ส่วนอีกวิธีคือการวัดขนาดรอบเอว หากเป็นชายที่มีรอบเอวเกิน 90 ซม. และผู้หญิงมากกว่า 80 ซม. ถือว่าอ้วนลงพุง ต้องรีบหาทางลดโดยด่วนค่ะ

ภาพจาก sjfitindia.com

เปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง ง่ายกว่าแก้ไขสิ่งแวดล้อม
วิธีเริ่มต้นเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่ง่ายสุด โดยใช้สูตร Basic Metabolic Rate  (BMR) ของ Harris Benedict Formula ซึ่งเป็นสูตรคํานวณพลังงานที่ ร่างกายต้องการในแต่ละวัน โดยคํานวณจากค่าคงที่ตามกิจกรรมของแต่ละคน น้ำหนัก ส่วนสูง และอายุ สําหรับคนที่ไม่ได้ออกกําลังกายเลย การบริโภคอาหาร ต่อวันจึงไม่ควรเกิน 1,500-1,700 กิโลแคลอรี ส่วนผู้ที่ทํางานหนักปานกลางหรือออกกําลังกายบ้าง ไม่ควรเกิน 2,000 กิโลแคลอรี่ เพราะหากมีการรับเข้ากับ ใช้ไปไม่สมดุล ก็จะเกิดโรคอ้วนตามมาอย่างแน่นอน เราต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน และที่สําคัญต้องมีความรู้เรื่องแคลอรี่ที่ควรได้รับต่อวันเพื่อจะได้บริโภคอาหารได้อย่างเหมาะสม แม้แต่คนที่ไม่มีภาวะอ้วน ซึ่งหมายถึงภาวะรับเข้ากับใช้ออกไปในแต่ละวัน มีระดับสมดุลก็ควรจะได้รับความรู้เรื่องสัดส่วนของอาหารกับสารอาหารที่ถูกต้องด้วย

…………………………………………………………….

สําหรับคนอ้วนที่ต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แนะนําให้เริ่มต้นการกินอาหารที่ถูกต้อง โดยกําหนดแคลอรี่ในแต่ละวัน และออกกําลังกายให้เหมาะสมกับตัวเอง ห้ามอดอาหาร และไม่ควรกินยาลดน้ำหนัก เพราะอาจทําให้เกิดอันตรายได้

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ