ที่มา: marketingoops

Yik Yak เป็นแอพพลิเคชั่นโซเชียล มีเดียบนสมาร์ทโฟนตัวใหม่มาแรง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากในหมู่นักศึกษาต่างประเทศ สร้างสรรค์โดย 2 ซีอีโอหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง ซึ่งมีมุมมองที่สร้างสรรค์และผลงานของเขาถูกนำมาเปรียบกับ Facebook

700x430xYikyakCeo1.jpg.pagespeed.ic.Z-jp5B78-6

Yik Yak แอพฯแชทใหม่ที่มีอัตราการเติบโตอย่ารวดเร็ว สร้างสรรค์โดย 2 นักศึกษาที่จบการศึกษา จาก Furman University ได้แก่ “Tyler Droll” และ “Brooks Buffington” ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้งานกว่าล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากวิทยาลัยกว่า 1,600 แห่ง ทั้งจากไอร์แลนด์และนิวซีแลนด์

โดยแอพฯ ดังกล่าวนี้สามารถส่งข้อความเป็น text และ chat ได้ แต่สิ่งที่ทำให้แตกต่างจากโซเชียล มีเดียหลักๆ อย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก ก็คือผู้ใช้งาน Yik Yak จะไม่ระบุตัวตนที่แท้จริง ซึ่งสาเหตุนี้เองอาจจะทำให้เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น ซึ่งก็ถือเป็นว่าเป็นดาบสองคมที่อันตรายสำหรับแอพฯ แชทนี้ โดยวัยรุ่นส่วนใหญ่มองว่ามันดูเจ๋งแต่ก็อันตรายไม่แพ้กัน ส่วนโพสต์ที่ขึ้นบนแอพฯ นี้จะถูกเรียกว่า “yaks”

700x538xYikyakCeo2.jpg.pagespeed.ic.Xt8wys-Qe1

อย่างไรก็ตาม แม้จะได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น แต่ก็มีนักศึกษาส่วนหนึ่งที่ไม่ยอมรับอย่างนักศึกษาจากวิทยาลัยไอดาโฮก็เคยมีการรวมตัวกันแบนแอพฯ นี้ เพราะมองเห็นถึงภัยสำหรับการใช้แอพฯ ดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุวุ่นวายเมื่อช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่โรงเรียนไฮศคูลในลอสแองเจลิสประกาศล็อคดาวน์โรงเรียนจากคำขู่ผ่านแอพฯ ดังกล่าว จนกระทั่งทางบริษัทจะต้องเพิ่มป็อปอัพเตือนให้ระวังการโพสต์คำขู่ต่างๆ เอาไว้ด้วย

และเพื่อเป็นการกลบด้านไม่ดีออกไป Yik Yak ก็ได้พยายามพัฒนาปรับปรุงแอพฯ ให้มีแต่ข้อดีหรือประโยชน์การใช้งานให้มากขึ้นอยู่หลายครั้ง เช่น เมื่อนักศึกษาร้องไห้ขอความช่วยเหลือ หรือรู้สึกอยากจะฆ่าตัวตาย ก็จะมีหลายคอมเม้นต์เข้าไปให้กำลังใจกันมากมาย คือพยายามนำเสนอว่าเป็นสังคมออนไลน์ที่ดีนั่นเอง

และอย่างแย่ที่สุดก็คือ การเป็นแอพฯ ที่ใช้ในการพบปะสังสรรค์เพื่อจัดปาร์ตี้ ดินเนอร์ ติวหนังสือ หรือแม้กระทั่งนัดเดท ซึ่งข้อเท็จจริงพบว่ามีคู่ที่นัดเดทกันผ่านแอพฯ นี้จำนวมาก ซึ่งบางคู่ถึงขั้นหมั้นหมายกันแล้วก็มี

000

“แม้ว่าเราไม่ได้ตั้งใจสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นแอพฯ สำหรับเดท หรือเป็นแอพฯ สำหรับการพบกันเป็นกลุ่ม อันที่จริงเราสร้างแพล็ทฟอร์มนี้เพื่อคอนเน็คผู้คนเข้าสู่สังคมของเรา” Droll ซีอีโอ วัย 24 ปีกล่าว

ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้น ซีอีโอหนุ่มอธิบายถึงช่วงเวลาที่แอพฯ เติบโตไปอย่างรวดเร็ว ว่า “มันเป็นอะไรที่บ้ามากๆ” สำหรับตัวบริษัทนั้นมีพนักงานทำงานอยู่ทั้งสิ้น 45 คน ซึ่งขณะนี้กำลังย้ายมายังออฟฟิศใหม่ในแอตแลนต้า

ทั้งนี้ Droll เผยว่า บริษัทมีแผนจะเพิ่มฟีเจอร์ที่น่าสนใจให้มากขึ้น เช่น สามารถแสดงตัวตนโดยการแชร์ภาพบนเท็กซ์ได้ด้วย ซึ่งฟีเจอร์นี้ทางบริษัทพัฒนาอย่างระมัดระวังในการทดสอบอย่างมากกับการทดสอบในกรุ๊ปเล็กๆ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ข้อระวังที่ว่าก็คือ ไม่ต้องการให้มีภาพนู้ด หรือภาพการล่วงละเมิดทางเพศโผล่ขึ้นในสังคมของ Yik Yak ดังนั้น จึงทำการทดสอบอย่างดีที่สุด ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ค่อนข้างคล้ายกับโซเชียล เน็ตเวิร์คใหญ่อย่าง Instagram

อย่างไรก็ตาม น่าจับตาต่อไปว่าแอพฯ นี้จะสามารถเติบโตได้อย่างรุ่นพี่อย่าง Facebook หรือไม่

เรื่องน่าสนใจ