การใช้เนื้อเยื่อเทียมเสริม และรองปลายจมูก กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่คนไข้ชาวเอเชีย เพราะลักษณะทางกายวิภาคของจมูกชนเชื้อชาติชาวเอเชีย มีความแตกต่างจากจมูกของชาวตะวันตก จมูกคนเอเชียมีสันจมูกที่ต่ำกว่า มีความกว้างของฐานจมูกมากกว่า ปีกจมูกบานกว่า ลักษณะปลายจมูกที่ใหญ่ และเนื้อเยอะกว่าจมูกชาวตะวันตก การผ่าตัดทางด้านจมูกของคนเอเซีย จึงเป็นในรูปแบบของการเสริมจมูกให้มีสันจมูกที่โด่งขึ้น และปลายจมูกที่พุ่งขึ้น
มีวัสดุหลายอย่างที่ใช้ในการเสริมสันจมูกและปลายจมูก แบ่งออกเป็น
วัสดุที่ได้จากร่างกายผู้ป่วยเอง
เช่น กระดูกอ่อนที่ผนังกั้นโพรงจมูก กระดูกอ่อนหลังใบหู และกระดูกซี่โครง เป็นต้น
วัสดุที่ได้จากการสังเคราะห์
เช่น Gore-Tex และซิลิโคน (silicone) ซิลิโคนเป็นหนึ่งในวัสดุที่นิยมใช้ในการเสริมจมูกมากที่สุด เพราะสามารถขึ้นรูปได้ง่าย สามารถเสริมสันและปลายจมูกได้ดี โดยไม่ต้องมีแผล ในการเลาะกระดูกอ่อนจากร่างกายของผู้ป่วย แต่ก็มีผลแทรกซ้อนหลายอย่างที่เกิดจากซิลิโคน เช่น แท่งซิลิโคนเบี้ยว การเกิดการหดรั้ง ความตึงทำให้ผิวหนังบริเวณปลายจมูกบางลง การติดเชื้อและแท่งซิลิโคนทะลุ
Chuangsuwanich A. ได้ทำการศึกษาการเสริมจมูกด้วยซิลิคนในผู้ป่วยชาวไทยจำนวน 548 ราย พบว่าอัตราผลแทรกซ้อนจากซิลิโคนที่พบได้ คือ ร้อย 6.5 (เบี้ยวร้อยละ 4.9, ทะลุร้อยละ 0.7, เลือดคั่งร้อยละ 0.5 และอักเสบและติดเชื้อร้อยละ 0.3) ซึ่งการใช้วัสดุสังเคราะห์ เช่น gore-tex และซิลิโคน พบอัตราการเกิดผลแทรกซ้อนมากกว่าการใช้วัสดุจากร่างกายผู้ป่วย แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (2).
Tham C.et al. ทำการศึกษาในผู้ป่วยชาวจีน 335 ราย พบอัตราการแทรกซ้อนร้อยละ 7.9 จากการใช้ซิลิโคนเสริมจมูก เหตุผลสำคัญเกิดจากการใส่แท่งซิลิโคนที่ใหญ่เกินไป ไม่เหมาะสมกับร่างกายผู้ป่วย เขาสรุปว่า การเสริมที่มากเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อและทะลุของซิลิโคน
มีหลายวิธีในการลดผลแทรกซ้อนของการเสริมซิลิโคน เช่น การรองปลายซิลิโคนด้วยกระดูกอ่อนหลังหู เพื่อให้เกิดปลายจมูกพุ่งได้อย่างปลอดภัย แต่บางครั้ง แม้ว่าจะนำกระดูกอ่อนมารองที่ปลายแท่งซิลิโคนแล้ว ในผู้ป่วยบางรายที่มีผิวหนังบาง อาจมองเห็นขอบของกระดูกอ่อนหลังหูได้ ถ้าขาดการเตรียม และตัดแต่งกระดูกอ่อนหลังหูที่พิถีพิถันพอ
เนื้อเยื่อเทียม (Acellular Dermal Matrix (ADM)
คือโครงเนื้อเยื่อ( biocompatible scaffold) ที่ผลิตมาจากผิวหนังมนุษย์ หรือผิวหนังสัตว์ เช่น หมู นำมาผ่านกระบวนการเพื่อกำจัดเซลล์ร่างกายของผู้บริจาค และทำการปลอดเชื้อ พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในแผลไฟไหม้แบบลึก แผลอุบัติเหตุที่สูญเสียเนื้อเยื่อผิวหนัง หรือใช้ในการผ่าตัดเสริมสร้าง เช่น การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม เป็นต้น
การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า เนื้อเยื่อเทียมสามารถจะเป็นโครงสร้างที่เหมาะสม ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายสัตว์ทดลอง สามารถเข้าแทนที่ในโครงเดิมได้ และมีการสร้างคอลลาเจนขึ้นทดแทน สามารถประยุกต์ใช้ในการผ่าตัดเสริมจมูก โดยเสริมสันจมูกทั้งแท่ง หรือใช้หุ้มแท่งซิลิโคนเพื่อลดพังผืดหดรั้ง และการมองเห็นแท่งซิลิโคนที่ชัดเจน โดยการลดการผลิตการสร้างพังผืด
อาจารย์หวานได้ประยุกต์เนื้อเยื่อเทียม ( acellular dermal matrix) มาใช้ในการเสริมปลายจมูกและสันจมูก หุ้มแท่งซิลิโคน และใช้ในการแก้ไขความผิดปกติเล็กน้อยของจมูก( corrected minor nasal deformities)
ประสบการณ์การใช้งาน
ได้มีการประยุกต์ใช้เนื้อเยื่อเทียมในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และคลินิกเอกชน โดยศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า 4 ท่าน โดยใช้รูปแบบและเทคนิคการผ่าตัดเดียวกัน ช่วงระยะเวลา
รวมทั้งหมด 1,763 ราย โดยใช้เนื้อเยื่อเทียม MegaDerm® Plus (L&C BIO.,South Korea) สำหรับเสริมรองปลายและเสริมสันจมูก (ใช้ขนาด 1×5 ซม. สำหรับเสริมจมูกทั้งแท่ง รวม 14 ราย)
การใช้เนื้อเยื่อเทียมรองปลายจมูก (Tip augmentation) มีการใช้เนื้อเยื่อเทียมรองปลายจมูก 2 รูปแบบ ดังนี้
ในผู้ป่วยบางรายที่สันจมูกไม่ได้ต่ำมาก และต้องการเสริมเฉพาะปลายจมูกให้พุ่ง
สามารถใช้เนื้อเยื่อเทียมตัดแต่งรูปโล่ เสริมเฉพาะช่วงปลายจมูกได้ โดยไม่ต้องใช้ซิลิโคน
………………………………………………….
ใช้เนื้อเยื่อเทียมขนาด 1×1 ซม. มาตัดแต่งเป็นทรงคล้ายรูปทรงสามเหลี่ยม ทำโดยการตัดเนื้อเยื่อเทียมขนาด 1×1 ซม. ในแนวทะแยงมุม และเย็บติดกันด้วยไหมละลาย เทคนิคนี้ สามารถเพิ่มความหนาของเนื้อเยื่อเทียมขนาด 1×1 ซม. จาก 4 มม. เป็น 6-7 มม. หลังจากนั้น ชุบในยาปฏิชีวนะ และเสริมที่ปลายจมูก การใช้เนื้อเยื่อเทียมรูปทรงนี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่มี hump เล็กน้อย หรือผู้ป่วยที่ต้องการการเสริมปลายให้โด่งมาก
………………………………………………….
การใช้เนื้อเยื่อเทียมเสริมสันและปลายจมูกทั้งแท่ง (Dorsal augmentation)
เนื้อเยื่อเทียมสามารถเสริมสันและปลายจมูกได้ทั้งแท่ง โดยประยุกต์ใช้เนื้อเยื่อเทียมขนาด 1×5 ซม. หนา 4 มม. ออกแบบและเหลา block type หรือใช้แบบ preform สำหรับเสริมสันจมูกบริเวณหัวตา เนื้อเยื่อเทียมจะถูกวางไว้ใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูก ส่วนตำแหน่งอื่นจะถูกวางไว้ที่ชั้น sub SMAS
………………………………………………….
การใช้เนื้อเยื่อเทียมหุ้มแท่งซิลิโคน (Camouflage silicone implant)
การใช้เนื้อเยื่อเทียมหุ้มรอบแท่งซิลิโคน จะใช้ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดแก้ไขจมูกที่มีผิวหนังบาง โดยประยุกต์ใช้เนื้อเยื่อเทียมขนาด 1×5 ซม. หนา 2-3 มม. ในการหุ้มสันซิลิโคนและใช้เนื้อเยื่อเทียมขนาด 1×1 ซม. ในการรองปลายแท่งซิลิโคน หลังการใช้เนื้อเยื่อเทียมหุ้มแท่งซิลิโคนให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น
………………………………………………….
การใช้เนื้อเยื่อเทียมแก้ไขความผิดปกติของจมูก (Deformities correction)
เนื้อเยื่อเทียมสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขความผิดปกติของจมูกและปลายจมูกโดยสามารถแก้ไขได้ทั้งความผิดปกติโดยกำเนิด หรือความผิดปกติในภายหลังจากอุบัติเหตุ และภายหลังจากการผ่าตัด ตัวอย่างการแก้ไขความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ผู้ป่วยมีปลายจมูกบาง มองเห็นร่องที่ปลายจมูกชัดจากกระดูกอ่อนจมูก สามารถแก้ไขได้ด้วยเนื้อเยื่อเทียมขนาด 1×1 ซม. เนื้อเยื่อเทียมสามารถแก้ไขความผิดปกติของความไม่สมมาตรของรูปทรงปลายและปีกจมูกภายหลังจากการผ่าตัดครั้งก่อน
ผู้ป่วยจำนวน 1,763 ราย ได้รับการผ่าตัดเสริมจมูกและรองปลายด้วยเนื้อเยื่อเทียมหรือรองปลายด้วยเนื้อเยื่อเทียมทั้งแท่ง ที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ฟอร์จูนคลินิก ทำการผ่าตัดในช่วงระยะเวลา ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ผู้ป่วยที่มารับการตรวจติดตามผล 3 เดือนหลังผ่าตัดร้อยละ 60 และ 6 เดือน ร้อยละ 30 ผู้ป่วยทุกคนทำการผ่าตัดโดยทีมศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้า 4 ท่าน (1 ท่านเป็น อาจารย์มหาวิทยาลัย และอีก 3 ท่านเป็นศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้างใบหน้าในคลินิกเอกชน) โดยใช้เทคนิคการผ่าตัดวิธีเดียวกัน
มีผู้ป่วย 36 รายที่มีภาวะแทรกซ้อน โดยแบ่งเป็น
ในอนาคต มีแนวโน้มที่จะนำ Regenerative medicine มาประยุกต์ใช้ในการสร้างวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งอาจจะมีคุณสมบัติในการพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดไปเป็นกระดูกอ่อน ซึ่งจะสามารถช่วยลดการเสื่อมสลายของโครงสร้าง เนื้อเยื่อเทียม และอาจจะมีการใช้วัสดุบางอย่างเพื่อช่วยให้เนื้อเยื่อของผู้ป่วยสามารถผลิตเซลล์ทดแทนการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อเทียมได้
……………………………………………….
เนื้อเยื่อเทียม เป็นทางเลือกใหม่ของวัสดุที่ใช้ในการเสริมปลายจมูก และสันจมูก เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีกระดูกอ่อนของตนเองจากการผ่าตัดหลายครั้ง หรือไม่ต้องการที่จะใช้ กระดูกอ่อนของตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ในการรองปลาย กระดูกอ่อนหรือซิลิโคนให้ปลายจมูก ดูเป็นธรรมชาติ ใช้ได้อย่างปลอดภัย โดยมีความเสี่ยงการติดเชื้อต่ำ ส่วนอัตราการเสื่อมสลาย ยังต้องการศึกษาการต่อเนื่องในอนาคต
เนื้อหาโดย Dodeden.com
สนใจหาข้อมูลและปรึกษาศัลยกรรมได้ที่นี่