งานหนัก พักผ่อนน้อย บันไดสู่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น และภาวะร่างกายที่ไม่สมดุล เพราะนาฬิกาในตัวคุณตั้งระบบวงจรการนอนและการตื่นไว้โดยอัตโนมัติ วงจรดังกล่าวเป็นตัวควบคุมระบบร่างกายทั้งหมด รวมไปถึงสภาวะจิตใจ ด้วยกลไกนาฬิกาในตัวถูกควบคุมด้วยสมองส่วนที่เรียกว่า Suprachiasmatic NucleuS หรือ SCN
ดังนั้น กลไกดังกล่าวจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามใจคุณ เพราะระบบนี้ถูกเซ็ตมาเรียบร้อยนับตั้งแต่วินาทีแรกที่ลืมตาดูโลก เปรียบง่ายๆ ก็คือ แต่ละคนจะถูกตั้งเวลาให้ตื่นและหลับเป็นแพตเทิร์นที่แน่นอน ทุกครั้งที่ฝึนกลไกดังกล่าว เพราะคุณฝึนแฮงก์เอาต์จนข้ามวันหรือตื่นแต่เช้าตรู่มาขึ้นเครื่องบินก็ตาม สมองส่วน SCN จะกระทบกระเทือนและออกอาการต่อต้านโดยอัตโนมัติ และถ้าคุณเข้านอนและตื่นไม่เป็นเวลาเลยในแต่ละวัน สมองส่วนนี้จะเกิดอาการช็อต ส่งผลให้ร่างกายคุณรู้สึกแย่
ไม่มีอะไรกระตุ้นอาการนี้ ได้ดีไปกว่าพฤติกรรมการนอนหลับแย่ๆ แบบที่ทําอยู่ พฤติกรรมนอนน้อยระหว่างสัปดาห์ แล้วเลยเถิดมานอนอุตุ ปลุกไม่ตื่นในช่วงสุด สัปดาห์นั้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการเดียวกับการบินไปกลับนิวยอร์ก-อลาสกาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์เลยทีเดียว ซึ่งปัญหาก็คือสภาวะเจ็ตแล็กอย่างเช่น เหนื่อยล้า ไม่สามารถจดจ่อกับอะไรได้นานๆ สมาธิสั้น ส่งผลร้ายต่อร่างกายยาวนานกว่าอาการเจ็ตแล็กจากการเดินทางแบบที่เราคุ้นชิ นการฝึนกลไกนาฬิกาภายในตัว ไม่ได้แปลว่าจะก่อปัญหาเรื่องการนอนหลับเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันส่งผลร้ายต่อเนื่องทั้งเรื่องหน้าที่การงาน สุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงโรคอ้วนด้วย
ค่าเหนื่อยที่คุณต้องจ่ายสะสม
เรื่องน่าเศร้าก็คือ หญิงสาวหลายคนที่ยอมอดหลับอดนอนเพื่อไปให้ถึงจุดสูงสุดของหน้าที่การงานนั้น เป็นตัวการให้หน้าที่การงานของพวกเธอหยุดชะงัก เมื่อฝึนไม่ ยอมนอน คุณจะคิดอะไรไม่ค่อยออกและสมองตื้อ คุณจะทํางานได้ไม่เต็มที่ อาจเป็นเพราะว่าการนอนหลับให้เพียงพอนั้นช่วยกระตุ้นการทํางานของสมองได้ดีที่สุด
ผลวิจัยจากสถาบันวิจัยการทํางานของสมองรายงานว่า หากร่างกายต้องการพักผ่อน แต่ไม่ได้พักสมอง สามารถหยุดทํางาน (หรือนอนหลับ) ไปเฉยๆ แม้ว่าร่างกายจะยังตื่นอยู่ก็ตาม ภาวะดังกล่าวส่งผลให้คุณมีพฤติกรรมน่าอายแปลกๆ (เช่น ใจลอยระหว่างการประชุมครั้งสําคัญ) ถ้าแย่กว่านั้นคุณมีสิทธิ์ทําผิดพลาดครั้งใหญ่โดยไม่รู้ตัว (เช่นหลับในขณะขับรถ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุถึง 100,000 ครั้งต่อปี)
ภาวะนี้ ส่งผลร้ายต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ หนำซ้ำยังลดการสร้างเซลล์สมอง ซึ่งเป็นเหตุทําให้สมองตื้อ ความจําไม่ดีในระยะยาว นอกจากนั้น กลไกนาฬิกาที่โดนรบกวนจนกระทั่งรวนไปหมด ทําให้ภาวะสมดุลของสารเคมีในสมองเสียไป ส่งผลให้คุณประสบปัญหาทางจิต อย่างเช่น ขาดวุฒิภาวะในการตัดสินใจได้ ไม่ได้ส่งผลร้ายต่อสมองอย่างเดียวเท่านั้น แต่มันกระทบต่อระบบอื่นๆของร่างกายด้วย คุณจะแก่เร็ว เพราะระบบการผลิตฮอร์โมนถูกรบกวน ทําให้ระบบดังกล่าวทํางานเท่ากับผู้สูงอายุ (นั่นคือประสบกับภาวะผิวขาดความยืดหยุ่นและเกิดริ้วรอยได้ง่าย)
ไม่ว่าคุณจะออกกําลังกายหนักหน่วงแค่ไหนก็ตาม การอดนอนมีส่วนให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะร่างกายดึงเอากลูโคสในเลือดไปใช้ (ซึ่งร่างกายใช้ย่อยสลายน้ำตาลในสภาวะปกติ) ฮอร์โมนความหิวพลุ่งพล่าน ส่งผลให้คุณโหยหาน้ำตาลตลอดเวลา มีผล การวิจัยออกมาเร็วๆ นี้ว่าภาวะเจ็ตแล็กทางสังคมนั้น (แม้ว่าคุณจะนอนชดเชยในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็ตาม) ส่งผลให้น้ำหนักตัวเกินปกติได้ถึง 33% เลยทีเดียว
………………………………………………………………..
นอกจากนั้นการพักผ่อนไม่เพียงพอ ยังส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพราะมันไปลดการผลิตโปรตีนที่จําเป็นต่อระบบ คุณเลยมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นหวัดสูงกว่าคนปกติ นอกจากนั้นยังมีผลวิจัยอีกหลายชิ้น รับรองว่าการนอนไม่พอเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังอย่างความดันสูง โรคหัวใจ แม้กระทั่งโรคเบาหวาน ทางแก้คือ คุณควรนอนใช้หนี้ให้กับร่างกาย แต่ต้องอาศัยความพยายามมากกว่าการนอนหลับรวดเดียว 12 ชั่วโมง เพื่อรักษาภาวะเจ็ตแล็กจากการเดินทางเท่านั้นเอง เริ่มแรกคุณต้องหลีกเลี่ยงการนอนชดเชยแบบรวดเดียวไปก่อน “ไม่จําเป็นต้องนอนชดเชยแบบชั่วโมงต่อชั่วโมงหรอกค่ะ แค่นอนพักผ่อนให้มากขึ้นแล้วร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวเอง
เนื้อหาโดย Dodeden.com