เนื้อหาโดย Dodeden.com
“การรักษาแบบผสมผสาน” (Integrative Medicine-IM) จริงๆ แล้วมันมีชื่อเรียกอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางเลือก การรักษาแบบองค์รวม หรือการรักษาแบบบูรณาการ แต่แพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้คําว่า”การรักษาแบบผสมผสาน” เนื่องจากเป็นศัพท์ที่อธิบายการผสมผสานการแพทย์แผนตะวันตกเข้ากับการรักษาตามวิถีตะวันออก เพื่อประสิทธิผลสูงสุดในการรักษา ปัจจุบันมีศูนย์การแพทย์เพื่อรักษาแบบผสมผสานเกิดขึ้นทั่วไป เพื่อทําวิจัยเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยค่ะ
กว่าสี่สิบเปอร์เซ็นต์ของคนไข้วัยผู้ใหญ่ เริ่มเปิดใจให้กับการรักษาแบบผสมผสานแล้ว พวกเขามีสมมติฐานต่อการรักษาดังกล่าวว่า “จะใช้วิธีการใดๆ ก็ได้ หากว่ามันสัมฤทธิผลและคงดีมาก ถ้าเริ่มจากวิถีที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด” ดังนั้น หากคุณมีอาการข้อเข่าอักเสบ แพทย์ที่ใช้วิธีรักษาแบบผสมอาจจะสั่งให้คุณเข้ารับการฝังเข็มแบบไม่รุนแรงมากนัก ก่อนตัดสินใจจับคุณฉีดยาระงับปวดชนิดเข้มข้น เป็นต้น
“สิ่งสําคัญก็คือ การรักษา “กายและใจ” ของคนไข้ ไม่ใช่การรักษาอาการบาดเจ็บแต่เพียงอย่างเดียว แพทย์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยยาตัวที่แรงที่สุดเท่าที่พวกเขามีอํานาจสั่งจ่าย ซึ่งส่งผลข้างเคียงกว่ารักษาอาการเจ็บป่วยที่ต้นตอจริงๆ (ตัวอย่างเช่นการจ่ายยาแก้ปวดหัวอาจทําได้ง่ายกว่าแต่แพทย์ที่รักษาด้วยการรักษาแบบผสมผสานจะหาทางป้องกันอาการปวดหัวที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไปพร้อมๆ กัน)
แน่นอน อาการป่วยทุกอย่างใช่จะสามารถรักษาให้หายด้วยศาสตร์แห่งการผสมผสานนี้ และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะบอกว่าการรักษาทางเลือกตัวใดประสบผลสําเร็จ รวมทั้งวิธีไหนถือเป็นหนทางที่ถูกต้องที่สุด ส่วนที่เหลือของบทความนี้ จะช่วยคุณคัดกรองและแยกแยะการรักษาทางเลือกได้ง่ายขึ้น
การฝังเข็ม
การรักษาคนป่วยด้วยการใช้เข็มเล่มเล็ก เป็นศาสตร์ที่ใช้กันมากว่าพันปีแล้วในโลกตะวันออก และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ก็พิสูจน์แล้วว่าศาสตร์นี้ใช้ได้ผลจริง งานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนว่าการฝังเข็มมีส่วนช่วยลดการเจ็บปวดทางร่างกายได้จริง ไม่ว่าจะเป็นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาการกระวนกระวายก่อนมีประจําเดือนไปจนถึงการเป็นหมัน ภาวะซึมเศร้า และภาวะเครียดหลังเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง สิ่งสําคัญก็คือ ศาสตร์ชนิดนี้อาจมีส่วนช่วยลดอาการเจ็บป่วยและเจ็บปวดเรื้อรังอย่างเห็นผล มีการวิจัยที่ตีพิมพ์ลงในวารสารการรักษาตามแนวทางธรรมชาติบําบัด ระบุว่า หนูทดลองที่ได้รับการฝังเข็มจะมีสารคัดหลั่งตามธรรมชาติที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบและเจ็บป่วยทางร่างกาย มากกว่าหนูที่ไม่ได้รับการฝังเข็มถึง 24 เท่า การแพทย์แผนจีนอ้างว่า การฝังเข็มนั้นมีส่วนช่วยจัดระเบียบพลังงานที่เรียกว่า “ชี่” หรือพลังงานที่ไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกาย (ถ้าหากว่าพลังงานชี่ไม่สมดุล ร่างกายจะออกอาการเจ็บป่วย) เรื่องแบบนี้สามารถอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ได้ว่า จุดที่ใช้ฝังเข็มอาจเรียงตัวเป็นระเบียบอยู่บนร่างกาย ขนานไปกับจุดที่เนื้อเยื่อสําคัญ หลอดเลือด เส้นประสาท และต่อมน้ำเหลืองวางตัวอยู่ โดยเข็มที่เจาะลงไปบนผิวร่างกายนั้นเปรียบเสมือนตัวกระตุ้นที่แจ้งเตือนสมองให้รักษาเยียวยาตัวเอง “ก็คล้ายๆ กับการกดปุ่มรีเซตให้กับร่างกายยามร่างกายไม่ปกตินั่นเอง”
เราคาดหวังอะไรได้จากการฝังเข็ม
ถ้าคุณเป็นคนกลัวเข็มอย่าเพิ่งกังวล เข็มที่ใช้นั้นบางเฉียบขนาดประมาณเส้นผม และฝังลึกลงไปในผิวหนังคุณไม่เกิน 1 เซนติเมตร คุณแทบไม่รู้สึกเลยว่ามีอะไรผ่านผิวหนังลงไป คนไข้จะนอนคว่ำลงบนเตียงลักษณะเดียวกับเตียงนวด ในขณะที่ผู้รักษาเปิดเพลงคลอเบาๆ การรักษาส่วนใหญ่กินเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้เข็มประมาณ 12 เล่ม หรือมากกว่านั้น ฝังลงบนจุดต่างๆ ตามร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นที่น่อง ฝ่าเท้า ลําตัว หน้าอก แผ่นหลัง หรือศีรษะที่ตอบสนองต่ออาการป่วยของคนไข้ คุณมีหน้าที่เพียงทําตัวให้ผ่อนคลายในระหว่างการรักษา
คุณอาจรู้สึกหมดแรงและอ่อนเพลียบ้าง หลังการรักษาจบลง แต่อย่าลืมว่าฝังเข็มเป็นการรักษาที่กินเวลาหลายเดือน และส่วนใหญ่ถือว่าเป็นการรักษาทางเลือกที่แพทย์เจ้าของไข้แนะนําแม้ราคาของการฝังเข็มจะค่อนข้างสูง