เป็นกรณีขึ้นมาอีกครั้งกับ การใช้บริการสถาบันลดน้ำหนัก แล้วเสียชีวิต โดยรายการสถานีประชาชน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้เชิญพ่อแม่ของผู้เสียชีวิตรวมทั้ง นายแพทย์สุวัฒิ เชียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มาพูดคุยในรายการเมื่อวันที่ 31 ม.ค. ที่ผ่านมา ผู้เสียชีวิตคือหญิงสาววัย 29 ปี ซึ่งเข้ารับบริการดูดไขมันบริเวณใต้ท้องแขนที่คลินิค เฉพาะทางด้านศัลยกรรมที่จดทะเบียนถูกต้อง และเสียชีวิตในระหว่างรับบริการ
โดย เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 54 แพทย์ได้โทรแจ้งกับครอบครัวว่า หญิงสาวมารับบริการและได้หยุดหายใจไปถึง 5 นาที เมื่อพ่อและแม่ไปถึงก็พบว่าลูกสาวของเสียชีวิตแล้ว แต่พยาบาลยังช่วยกันปั๊ม หัวใจอยู่จนเวลาผ่านไปกว่า 3 ชม. และทางด้านของแพทย์ผู้ให้บริการไม่ได้ให้ความกระจ่างว่าทำไมลูกสาวถึงมี อาการเช่นนี้
จากนั้นทางคลินิคจึงแจ้งไปยังสถานีตำรวจ การชันสูตรศพของกองพิสูจน์หลักฐานสันนิษฐานเบื้องต้นว่า เกิดอาการหัวใจล้มเหลวจากปอดบวมน้ำและเลือดคั่งอย่างรุนแรง ต่อมาได้ส่งชิ้นเนื้อไปชันสูตรพลิกศพที่ศูนย์อำนวยการชันสูตรพลิกศพ นิติเวช จุฬาฯ ซึ่งขณะนี้ผ่านมากว่า 2 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ทราบผล เนื่องจากชิ้นเนื้อย้อมสีไม่ติด
ขณะ ที่เมื่อสอบถามไปยังเื่พื่อนสนิทของผู้เสียชีวิต ซึ่งเดินทางไปรอผู้เสียชีวิตขณะรับบริการดูดไขมันด้วย เธอเล่าว่า เมื่อวันที่ 15 พ.ย. เธอและผู้เสียชีวิตได้เข้าพบกับตัวแทนขาย (เซลล์) ของคลินิค เพื่อทำความเข้าใจวิธีการและขั้นตอนของการผ่าตัด โดยเซลล์อธิบายว่า การดูดไขมันครั้งนี้จะใช้เข็มเจาะให้ไขมันแตกตัวและดูดออกมา และ่ได้จ่ายค่ามัดจำไว้ก่อน
เหตุการณ์ ดังกล่าวทำให้ทางครอบครัวของผู้เสียชีวิตเกิดความสงสัยถึงขั้นตอนในการักษา รวมทั้งการชันสูตรศพที่ชิ้นเนื้อน้อมสีไม่ติด ดังนั้นทางรายการจึงติดต่อผู้ที่เกี่ยวข้อกับกรณีดังกล่าว เพื่อสอบถามถึงข้อเท็จจริงต่างๆ
ทั้งนี้ นายแพทย์สุวัฒิ ได้ชี้แจงถึงกรณีการเอาผิดต่อสถานประกอบการว่า มีความเป็นไปได้ 3 กรณีคือ
1. สถานประกอบการนั้นขออนุญาตถูกต้องหรือไม่
2. ผู้ให้บริการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถจริงเฉพาะทางนั้นหรือไม่
3.กระบวนการในการรักษามีวิธีอย่างไร ลำดับขั้นตอนอย่างไร ใช้เครื่องมือใดบ้าง ได้มาตรฐานหรือไม่ อีกทั้งจะต้องตรวจสอบด้วยว่า คลินิคมีการเตรียมพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมือหากเกิดกรณีฉุกเฉินไว้หรือ ไม่ โดยจะต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย เช่น การใช้ยาสลบ อาจต้องมีวิสัญญีแพทย์อยู่ด้วย
นอก จากนี้ กรณีการใช้เซลล์เพื่อแนะนำบริการ เป็นประเด็นที่ทางรองอธิบดี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพวิเคราะห์ว่า วัตถุประสงค์ของการเปิดสถานพยาบาลนั้นก็เพื่อช่วยชีวิตคน มากว่าการโฆษณาเพื่อไม่ใช่ธุรกิจ ซึ่งกฎหมายไม่ได้อนุญาตให้มีการโฆษณา ซึ่งอาจทำให้ผู้รับบริการถูกชักชวนได้ง่าย เกิดความคาดหวังมากเกินไป ถูกชังจูงได้ง่าย เกิดการตัดสินใจมากเกินไป
ทั้งนี้ จะใช้เวลาตรวจสอบอย่างน้อย 2 -3 สัปดาห์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงของคลินิคดังกล่าว
ทางด้านนายแพทย์กมล วัฒนไกร เลขาธิการศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจ้งถึงขั้นตอนการให้บริการของคลินิคว่า หากเกิดกรณีที่คลินิคไม่มีความสามารถให้บริการได้ อาจต้องส่งการรักษาต่อไปที่โรงพยาบาลซึ่งมีเครื่องมือที่พร้อมกว่า โดยคลินิคจะต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้นก่อน แต่จะต้องดูสภาพร่างกายของผู้ป่วยประกอบด้วยว่าสามารถเคลื่อนย้ายได้หรือไม่ ในส่วนของการปั๊มหัวใจจะต้องดูการตอบสนองของร่างกายเป็นหลัก หากมีการตอบสนองก็สามารถปั๊มเพื่อช่วยเหลือได้
นอก จากนี้ ทางรายการยังได้โทรศัพท์ไปยัง แพทย์หญิง คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เพื่อขอคำชี้แจงความคืหน้าของการชันสูตรศพ
โดยหมอพรทิพย์กล่าวว่า หากต้องการผลการพิสูจน์ที่แน่นอนควรรอคำยืนยันจากแพทย์ผู้ทำการชันสูตรศพโดย ตรง แต่ทางหมอพรทิพย์ได้สันนิษฐานสาเหตุการเสียชีวิตเบื้องต้นไว้ 3 กรณี คือ
1. การสำลักอาหาร เนื่องจากไมได้อดอหาร
2. การแพ้ยา
3. เกิดภาวะแทรกซ้อน จากก้อนไขมันหลุดแล้วไปในเส้นเลือดที่ฉีกขาด และเกิดการอุดตันเส้นเลือดที่ปอด ซึ่งจะต้องใช้การย้อมสีพิเศษเพื่อตรวจ
อย่าง ไรก็ตาม ครอบครัวของผู้เสียชีวิตต้องการความเป็นธรรมให้แก่ลูกสาวและเตือนใจผู้ที่ ต้องการลดความอ้วน โดยให้ผู้กี่ยวข้องติดตามและตรวจสอบความถูกต้องของคลินิคดังกล่าว