ตาแห้ง เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของน้ำตาและบริเวณผิวส่วนหน้าของดวงตา ทําให้ไม่สบายตา รบกวนการมองเห็น ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ ดังนั้น เมื่อสงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคตาแห้ง ควรเข้ารับการตรวจรักษาจากจักษุแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการและหาสาเหตุที่แท้จริงของโรค โดยเป้าหมายสําคัญของการรักษาโรคตาแห้ง คือบรรเทาอาการตาแห้ง ดังนั้น น้ำตาเทียมจึงเป็นตัวเลือกหลักสําหรับการรักษาโรคตาแห้งทุกชนิด นอกจากนี้ อาจมีการใช้ยาหรือการรักษาอื่นๆ ตามประเภทโรคร่วมด้วย เช่น ยาต้านการอักเสบ ยากระตุ้นการสร้างเมือก หรือการผ่าตัด เป็นต้น
น้ำตาเทียม สามารถแบ่งได้หลายประเภท คือ
– Multiple Dose Unit
เป็นรูปแบบที่หลังจากเปิดใช้งานแล้ว สามารถเก็บไว้ใช้ได้หลายครั้ง มักจะแนะนําให้ใช้งานไม่เกิน 30 วัน หลังเปิดใช้ โดยน้ำตาเทียมประเภทนี้ จะมีส่วนผสมของสารกันเสีย สิ่งที่ต้องคํานึงถึงสําหรับสารกันเสียที่นิยมใช้ในสูตรน้ำตาเทียมชนิด Multiple Dose Unit คือสารประเภท Benzalkonium Chloride แม้ว่า Benzalkonium Chloride จะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีกว่าสารกันเสียอื่นๆ แต่มีข้อเสีย คือทําลายเซลล์ผิวกระจกตา (Corneal Epithelium) และทําให้ฟิล์มน้ำตาแตกตัวทันทีที่ใช้ จึงไม่สามารถตอบโจทย์การรักษาตาแห้งได้ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์น้ำตาเทียม ที่ผสมสารกันเสียชนิดใหม่ๆ ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น
โดยสารสําคัญที่อยู่ในสูตรตํารับ จะส่งผลต่อคุณสมบัติของน้ำตาเทียม ได้แก่ ความหนืด การยึดเกาะ และการกระจายตัว เคลือบผิวหน้าของดวงตาอย่างสม่ำเสมอ พบว่าน้ำตาเทียมที่มีความหนืดสูง มักถูกเลือกใช้ในคนที่ไม่ตอบสนองต่อน้ำตาเทียมที่มีความหนืดต่ำ แต่อย่างไรก็ตามน้ำตาเทียม กลุ่มที่มีความหนืดมาก มีข้อเสียคือ มีผลต่อการมองเห็น โดยทําให้เห็นภาพเบลอ จึงเป็นข้อจํากัดในการใช้น้ำตาเทียมกลุ่มนี้ จะใช้เฉพาะช่วงกลางคืนหรือก่อนนอน
การเลือกใช้น้ำตาเทียมให้เหมาะสมนั้น การศึกษาของ Malid Moshifar ในปี 2014 ได้แนะนําการเลือกใช้น้ำตาเทียม โดยพิจารณาจากความรุนแรงของโรคและความต้องการของตัวเราเอง ซึ่งแบ่งเป็นขั้นการรักษาดังนี้
การรักษาขั้นที่ 1
เริ่มต้นการรักษา โดยพิจารณาเลือกใช้น้ำตาเทียมที่ประกอบด้วย Hyaluronic acid เนื่องจากสารสําคัญข้างต้น ให้ประโยชน์ในการเพิ่มความสบายตาได้สูงสุด
การรักษาขั้นที่ 2
หากการรักษาขั้นแรกที่เลือกใช้ ไม่สามารถควบคุมอาการตาแห้งได้ อาจพิจารณาใช้สูตรตํารับที่มี Polyethylene Glycol 400 (PEG 400) หริอ Propylene Glycol (PG) หรือ glycerin
การรักษาขั้นที่ 3 และ 4
หากการ รักษาในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ยังไม่สามารถ ลดอาการตาแห้งได้ หรือในกรณีที่มีอาการ ตาแห้งแบบรุนแรง อาจพิจารณาให้การ รักษารูปแบบอื่นเพิ่มเติม เช่น รูปแบบเจล รูปแบบที่ผสมน้ํามัน หรือรูปแบบขี้ผึ้ง
………………………………………………………………..
ทั้งนี้ ความถี่และระยะเวลาในการรักษาแต่ละขั้น คือใช้น้ำตาเทียมประมาณ 3 – 4 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือน หากไม่สามารถลดอาการตาแห้งได้ อาจเปลี่ยนการรักษาไปในขั้นต่อไป นอกจากนี้ หากจําเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมมากกว่า 4-6 ครั้งต่อวัน ควรใช้น้ำตาเทียมชนิดปราศจากสารกันเสีย (Single Dose Unit)
เนื้อหาโดย Dodeden.com