ประเพณียี่เป็ง เป็นเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคเหนือ ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนยี่ คือเดือนสอง ถ้านับตามปฏิทินล้านนา จะตรงกับเดือนสิบสองในปฏิทินจันทรคติไทย) ซึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำแล้ว ชาวล้านนายังนิยมไปปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่างๆ และช่วยกันประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางสายต่างๆ ด้วยช่อประทีป รวมทั้งชักโคมยี่เป็งรูปแบบต่างๆ ในภาษาพื้นเมืองเรียกว่าโคมแขวน โคมติ้ว และโคมผัด

 

ประเพณียี่เป็ง
ภาพจาก สมาชิกหมายเลข 1459826

 

ประเพณียี่เป็ง ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวล้านนา

โคมเหล่านี้ จะถูกชักขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ทําให้ท้องถนนสว่างไสวไปด้วยแสงไฟหลากสีสันตระการตา พอตกกลางคืน จะมีมหรสพและการละเล่นมากมาย มีการจุดดอกไม้ไฟ แห่โคมไฟพร้อมกับมีการจุดประทีป หรือผางปะติ๊บ เพื่อบูชาพระรัตนตรัย 

 

ประเพณียี่เป็ง
ภาพจาก thailandholiday.info

 

และที่เห็นจะเป็นเอกลักษณ์สําคัญที่ขาดไม่ได้ ก็คือการจุดประทีปโคมไฟลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า ชาวล้านนาจะนิยมประดิษฐ์ โคมลอย หรือว่าวไฟ ซึ่งทําจากซีกไม้ไผ่ ประกอบกับเป็นโครงคล้ายบอลลูน และห่อโครงนั้นด้วยกระดาษว่าวสีขาวบาง เมื่อจุดไฟบริเวณเชื้อไฟข้างใต้ที่เรียกว่าขี้ไต้ ความร้อนจากไฟจะทําให้แรงดันอากาศลอยตัวสูงขึ้น เป็นตัวส่งทําให้โคมลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า

…………………………………………………..

เมื่อสิ้นเสียงสวดมนต์อันอื้ออึง โคมนับพันจะถูกปล่อยพร้อมกันขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และอธิษฐานจิตให้เรื่องราวร้ายๆ ลอยหายไปพร้อมกับโคม บ้างก็เชื่อว่าเป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตามประเพณีที่สืบต่อกันมาหลายร้อยปีในแผ่นดินล้านนานั่นเอง

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ