ฟอร์มาลีนในอาหารทะเล พิษต่อระบบทางเดินอาหาร ที่ต้องระวัง เพราะอาหารทะเลเป็นอาหารสด เน่าเสียง่าย จึงต้องเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศา เซลเซียส เพื่อป้องกันการเน่าเสีย ผู้ประกอบการหลายราย จึงได้หาวิธีต่างๆ เพื่อเก็บรักษาอาหารทะเลให้คงความสดได้นานขึ้น
ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงเลือกใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้องและผิดกฎหมาย คือการแช่สารฟอร์มาลีน โดยพบมากในปลาหมึกกรอบ เมื่อกินเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพตามมา นอกจากนั้น สารฟอร์มาลีนยังเป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหารตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข หากใครใส่สารนี้ในอาหาร จะต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
อาการของผู้ที่ได้รับฟอร์มาลีนเข้าไปในปริมาณมาก จะเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะ อาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะไม่ออก หมดสติ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจเสียชีวิต เพราะระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว
เพื่อความปลอดภัย ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคควรปฏิบัติดังนี้
ผู้ประกอบการ ต้องนําอาหารทะเลมาแช่เย็น
หรือแช่นํ้าแข็งที่สะอาดปริมาณเพียงพอ
ในภาชนะสําหรับแช่อาหารทะเลเท่านั้น
และน้ําแข็งที่แช่นั้น ต้องไม่นํากลับมาบริโภคอีก
ผู้ประกอบการต้องทําความสะอาดภาชนะบรรจุอาหารทะเลให้สะอาด
จากนั้น ฆ่าเชื้อโรค โดยการแช่น้ําผสมคลอรีน
ที่มีความเข้มข้น 100 ppm. อย่างน้อย 2 นาที
ควรเลือกชื้ออาหารทะเลจากแหล่งทีเชื่อถือได้
เช่น ตลาดสดน่าซื้อ ตลาดนัดน่าซื้อ ของกรมอนามัย
ก่อนนำอาหารทะเลมาปรุงอาหาร ต้องล้างด้วยน้ําสะอาดหลายๆ ครั้ง
เลือกกินอาหารทะเลที่ปรุงสุกใหม่ๆ หลีกเลี่ยงการกินดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ
ควรแยกอาหารทะเลที่ปรุงสุก และยังไม่สุกออกจากกัน
เมื่อซื้ออาหารทะเลมาแล้ว หากไม่นํามาปรุงทันที ควรเก็บใส่ตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส หรือช่องแช่แข็ง เพื่อชะลอการเน่าเสีย ถ้ารู้จักการเลือกซื้อจากแหล่งจําหน่าย ที่ไว้ใจได้ และปรุงประกอบอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้บริโภคอาหารทะเลได้อย่างปลอดภัย