จากกระแสรูปเค้กที่มีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา เต็มโลกโซเชียล หลายคนอาจยังไม่ทราบที่มา วันนี้ทางเว็บไซต์ “ไทยรัฐออนไลน์” ได้มีโอกาสพูดคุยกับทางผู้จัดทำเค้กตัวจริง เดี๋ยวเราไปฟังเรื่องราวของเค้กก้อนพิเศษกัน ว่ามีส่วนผสม และมีวิธีการจัดทำอย่างไรบ้าง??

03 (2)

03 (3)

 

เค้กถวายพระพรในหลวง 27 มกราคม 2549

“ภัทรา ศิลาอ่อน” ประธานกรรมการ บริษัทเอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยเรื่องเค้กที่ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ “ไทยรัฐออนไลน์” ถึงเรื่องราว ขั้นตอน กรรมวิธีต่างๆ เพื่อให้ได้เค้กที่พิเศษที่สุด

04 (2)

เค้กถวายพระพรในหลวง 23 กรกฎาคม 2549

จุดเริ่มต้น

“คือมีอยู่ปีหนึ่ง ครอบครัวมีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และหลังจากนั้นได้ทำเค้กทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเริ่มทำเค้กถวายเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 ตั้งแต่นั้นเรื่อยมาเราก็ทำเค้กทูลเกล้าฯ ถวายอยู่ทุกปีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะมีอยู่ 2 ปี ที่ไม่ได้ทำไปทูลเกล้าฯ ถวาย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรอยู่ในขณะนั้น”

13 (2)

เค้กถวายพระพรในหลวง 22 ตุลาคม 2550

สถานที่

“ปีที่แล้วนำไปทูลเกล้าฯ ถวาย ที่พระตำหนักเปี่ยมสุข ส่วนปีนี้ พ.ศ.2557 ทำเสร็จ ก็นำไปถวายที่โรงพยาบาลศิริราช การไปถวายที่ใดในแต่ละปีนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประทับอยู่ที่ใด ซึ่งจากนั้นจะมีผู้แทนพระองค์มารับ”

17

เค้กถวายพระพรในหลวง 5 พฤศจิกายน 2550

ฝีมือการตกแต่งหน้าเค้ก

“งานตกแต่งหน้าเค้ก จะมีช่างคนหนึ่งที่เก่งและมีฝีมือมากๆ จะเป็นคนออกแบบ ร่างแบบ เขียนลายขึ้นมาก่อน และก็จะมีทีมช่วยกันทำตามแบบที่ร่างไว้ ซึ่งช่างคนนี้อยู่กับเรามานานแล้ว ฝีมือสุดยอดไปเลย และก็จะเป็นคนเดิม ที่ตกแต่งหน้าเค้กที่จะนำไปทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อยู่ทุกปี ซึ่งเขาจะดีใจ และปลื้มใจมากๆ”

19

เค้กถวายพระพรในหลวง 26 มกราคม 2553

รสชาติของเค้ก

“เนื้อเค้กที่เป็นแป้ง เราจะใช้สูตรการทำเค้กของเอสแอนด์พีเลย ซึ่งเราก็มีหลายเนื้อ ส่วนที่เด่นที่สุด ก็เป็นเนื้อบัทเทอร์ ทุกปีเราก็ใช้ส่วนผสมแบบนี้ จริงๆ ไม่อยากบอกว่าเค้กเราอร่อย แต่มันก็อร่อยจริงๆ”

25

เค้กถวายพระพรในหลวง 5 ธันวาคม 2553

ขณะที่ “พิมพิศา ศิลาอ่อน” ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) อีกคน ร่วมเปิดข้อมูลของการจัดทำเค้กกับเราเพิ่มเติมด้วยว่า 

13 (2)

เค้กถวายพระพรในหลวง 5 ธันวาคม 2554

ส่วนผสมที่ลงตัว

“แป้ง ไข่ เนย นม เป็นส่วนผสมปกติในการทำเค้ก แต่เราจะเลือกใช้ของดีๆ ส่วนผสมดีๆ มาปรุงเนื้อเค้ก ครีมก็เลือกแต่ครีมดีๆ ทำให้รสชาติออกมาดีด้วย ไม่ว่าวัตถุดิบจะแพงแค่ไหน ถ้ามันอร่อย เราจะนำมาใช้เสมอ นี่คือหัวใจของเอสแอนด์พีเลยค่ะ เค้กที่ทำทูลเกล้าฯ ถวาย จึงต้องมีความอร่อยอยู่แล้ว”

03 (3)

เค้กถวายพระพรในหลวง 5 ธันวาคม 2555

เวลาที่ใช้ทำ

“การออกแบบจะมีแผนงานอยู่แล้ว ว่าใกล้ถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ส่วนเวลาที่ใช้ในการออกแบบไม่นาน จะใช้เวลานานในการตกแต่งหน้าเค้กมากกว่า รวมถึงการปั้นน้ำตาลด้วยที่จะต้องปั้นก่อน แต่ตัวเนื้อเค้กเอง ก็จะต้องทำให้วันนั้นเลย เพื่อให้ได้เค้กที่สดและใหม่”

04 (2)

เค้กถวายพระพรในหลวง 5 ธันวาคม 2556

หน้าเค้กในแต่ละปี 

“ส่วนใหญ่ในแต่ละปี ทางเราอาจจะแจ้งไปยังช่างว่า อยากให้มีอะไรบ้าง เช่นปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 87 พรรษา เราก็ทำเนื้อเค้กให้มีจำนวน 88 ปอนด์ ส่วนเรื่องหน้าเค้ก ช่างจะเป็นคนออกแบบทุกอย่างตามความเหมาะสม เหมือนเช่นปีนี้”

03 (3)

เค้กถวายพระพรในหลวง 5 ธันวาคม 2557

สุดยอดแห่งความอร่อย 

“ความหอม หวาน ความละเมียด ความอร่อยทั้งหมด อยู่ที่เทคนิคในการทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นเค้ก หรืออาหารทั่วๆ ไป มันควรใส่อะไรก่อน อะไรควรใส่ทีหลัง และอีกอย่างที่สำคัญ คือ การใส่ส่วนผสมที่ดีลงไป และขั้นตอนการตีเค้ก สรุปว่า สูตร วัตถุดิบ และขั้นตอนการทำ นั่นแหละที่มาของความอร่อย”

03 (3)

เค้กถวายพระพรพระราชินี 18 สิงหาคม 2551

สุดท้าย “ภัทรา ศิลาอ่อน” กล่าวถวายพระพร ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง และทรงอยู่กับประชาชนนานๆ ทางเราก็จะจัดทำเค้กทูลเกล้าฯ ถวายพระองค์ท่านทุกปี ไปอีกนานๆ และตลอดไป

04 (2)

เค้กถวายพระพรพระราชินี 8 สิงหาคม 2553

03 (3)

เค้กถวายพระพรพระราชินี 12 สิงหาคม 2553

03 (3)

 

เค้กถวายพระพรพระราชินี 8 สิงหาคม 2555

03 (3)

เค้กถวายพระพรพระราชินี 11 สิงหาคม 2556

03 (3)

เค้กถวายพระพรพระราชินี 12 สิงหาคม 2557 ^^

 

ที่มา ไทยรัฐ 

เรื่องน่าสนใจ