ภาวะดื้ออินซูลิน ความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่ต้องระวัง! เพราะโดยทั่วไปเมื่อเรากินอาหาร นํ้าตาลที่เรียกว่ากลูโคสซึ่งได้จากกระบวนการย่อยอาหาร จะเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อที่ร่างกายจะดึงไปใช้ในรูปของพลังงาน กรณีที่เกิดความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถดึงนํ้าตาลชนิดนี้จากกระแสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ ซึ่งนั่นก็หมายถึง นํ้าตาลยังหลงเหลืออยู่ในกระแสเลือดจํานวนมาก เราเรียกความผิดปกตินั้นว่าเบาหวานนั่นเองค่ะ

ภาวะดื้ออินซูลิน ความไม่สมดุลของฮอร์โมน

การวินิจฉัยเบาหวาน
การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานหรือไม่นั้นทําได้โดยการตรวจเลือด ดังนี้ค่ะ

  • ภาวะนํ้าตาลกลูโคสในเลือด หลังอดอาหารข้ามคืนมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะมีค่าอยู่ที่ประมาณ 70-99 มิลลิกรัมในเลือด 100 มิลลิลิตร (1 เดซิลิตร)
    แสดงว่า ไม่เป็นเบาหวาน
  • ในผู้ที่มีนํ้าตาลกลูโคสอยู่ในช่วง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่า เป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน หรือเบาหวานแอบแฝง หากเท่ากับหรือเกิน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าเป็นเบาหวานค่ะ
ภาวะดื้ออินซูลิน
ภาพจาก verywellhealth.com

โรคเบาหวาน กับ อินซูลิน
โรคเบาหวาน มีสาเหตุเกี่ยวข้องโดยตรงกับอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสําคัญในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนเมื่อกินอาหารจำพวกแป้งและนํ้าตาลที่ถูกซึมจากลําไส้เข้าสู่กระแสเลือด จะกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลิน เซลล์ทั่วร่างกาย จะมีโปรตีนตัวรับอินซูลิน (Insulin receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดขบวนการดึงกลูโคสผสานตัวรับกลูโคส (Glucose transporter) จากเลือดเข้าสู่ภายในเซลล์ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออินซูลินในเลือดจับกับตัวรับอินซูลินที่เยื่อหุ้มเซลล์เท่านั้น เมื่อกลูโคสเข้าสู่ภายในเซลล์ ก็จะถูกนําไปใช้ในกระบวนการเพื่อสร้างพลังงานให้แก่เซลล์ หรือเก็บไว้ในรูปของไกลโคเจนที่สะสมในตับและกล้ามเนื้อ 

ภาวะดื้ออินซูลิน
ภาพจาก pharmrev

ภาวะนี้ มักพบในผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 จะเกิดขึ้นเมื่อฮอร์โมนอินซูลินที่สร้างจากตับอ่อนในปริมาณที่ปกติ แต่ฮอร์โมนอินซูลินกลับไม่สามารถทําหน้าที่ควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ สาเหตุหลักเนื่องจากโมเลกุลของอินซูลินไม่สามารถเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภายในเซลล์ได้ตับอ่อนจึงจําเป็นต้องสร้างและหลั่งอินซูลินออกมาเพิ่มเติมจนกระทั่งในที่สุดเกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้น ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้ และเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขึ้น 

………………………………………………………..

ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ หรือสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะนี้  ได้แก่ ความอ้วน พันธุกรรม ขาดการออกกําลังกายหรือขาดการทํากิจกรรม อายุ ยาบางกลุ่ม ภาวะนี้จะส่งผลต่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ และเส้นเลือดตีบแข็ง (Atherosclerosis) เพราะฉะนั้น หากคุณเป็นบุคคลที่คิดว่าน่าจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คสภาพร่างกายของตัวเองตั้งเเต่เนิ่นๆ กันนะคะ

 

เนื้อหาโดย Dodeden.com

เรื่องน่าสนใจ