ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจมีการเต้นเร็ว หรือช้าเกินไปก็ได้ ในขณะที่จังหวะหัวใจของคุณ กําลังเต้นเป็นปกติอยู่นี้..อาจมีอีกหลายคนที่กําลังเผชิญอยู่กับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบไม่รู้ตัว…แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า จังหวะหัวใจของเรายังดีอยู่? มารู้จักกับ Cardioinsight เทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความแม่นยําในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้มากยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยโรคหัวใจ กับข้อควรระวังในการใช้ยารักษา เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ
ป้องกันโรคหัวใจ และหลอดเลือด สาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของคนไทย
เส้นเลือดหัวใจตีบ กับ 9 เคล็ดลับสำคัญที่สามารถช่วยป้องกันโรคอันตรายนี้ให้หางไกลจากคุณได้
คือการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจมีการเต้นเร็ว หรือช้าเกินไปก็ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ทําให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่ทราบมาก่อน ว่าตัวเองมีปัญหา แต่จะพบภาวะนี้จากการตรวจสุขภาพ เมื่อไปพบแพทย์ด้วยโรคหรือความเจ็บป่วยอื่นๆ ขณะเดียวกัน มีผู้ป่วยบางรายที่มีอาการปรากฏให้สังเกตได้ เช่น วิงเวียน หน้ามืด ตาลาย ใจสั่น บริเวณหน้าอก หายใจขัด เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก เป็นลม และถึงขั้นหมดสติ เป็นต้น
โดยปกติแล้ว การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลากหลาย ตั้งแต่การซักประวัติ ไปจนถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography : EKG) ซึ่งยังไม่สามารถให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ในการวิเคราะห์ตําแหน่งที่หัวใจ มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าได้ รวมถึงวิธีการวินิจฉัยอื่นๆ ที่แพทย์อาจมีการใช้ท่อสอดเข้าไปในร่างกาย ซึ่งทําให้เราอาจเกิดความกังวลใจขึ้นมาก แต่ด้วยเทคโนโลยี Cardioinsight ทําให้สามารถตรวจจับการนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้แม่นยํา และเฉพาะเจาะจงมากขึ้น โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ หรือสายสวนเข้าสู่ร่างกาย
เครื่องมือ Cardiolnsight หรือที่เรียกเต็มๆ ว่า Cardioinsight Mapping Solution มีลักษณะเป็นเสื้อก็กที่ฝังอิเล็กโทรค เพื่อใช้ในการตรวจจับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อยู่มากถึง 252 จุด ซึ่งครอบคลุมทั่วพื้นที่ผนังทรวงอกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงสามารถตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจได้ทั่วทั้งตัว และจากข้อมูลที่ได้นี้ เมื่อนําไปประมวลผลร่วมกับผลตรวจที่ได้จากการทํา CT Scan แพทย์จะเห็นภาพจังหวะการเต้นของหัวใจทุกๆ จังหวะได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเห็นการเดินทางของกระแสไฟฟ้าทั่วหัวใจด้วย จึงสามารถบอกได้ว่าเกิดความผิดปกติที่จุดใด ทําให้สามารถประเมินการรักษาต่อไปได้
……………………………………………………………………….
จะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีนี้ช่วยทําให้การใช้ชีวิตเป็นไปได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น และช่วยป้องกันการไหลตายได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย ทําให้ผู้ที่ประสบกับภาวะนี้ ตื่นขึ้นมาพบกับอนาคตที่สดใสได้ และถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีดีๆ มาให้เราได้ใช้มากขึ้น แต่เราต้องไม่ลืมฟังเสียงจังหวะของหัวใจที่เต้นอยู่ด้วย และสังเกตอาการความผิดปกติของตัวเอง ว่าเข้าข่ายต้องดูแลหัวใจได้แล้วหรือยัง
เนื้อหาโดย Dodeden.com