ภาวะแทรกซ้อน เสริมจมูก ด้วย ซิลิโคนแท่ง

เสริมจมูก(Augmentation Rhinoplasty)ด้วย Silicone แท่งในประเทศไทย มีมานานกวา่ 80 ปี ในสมัยนั้นการแพทย์ของไทยยังไม่เจริญมากนักจึงมีหมอชาวจีนจากใต้หวันที่มาตั้งรกรากในเมืองไทยทำการผ่าตัดเสริมจมูกที่กรุงเทพฯ ต่อมาไม่นานจึงมีแพทย์ไทยเริ่มทำบ้างแต่เป็นศัลยแพทย์ตกแต่ง และศัลยแพทย์หูคอจมูกแต่ก็ยังไม่แพร่หลายและยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับประชาชนทั่วไป ในระยะ 40 ปีผ่านมานี้เริ่มมีแพทย์ทั่วไปและแพทย์สาขาต่าง ๆ ทำกันมากขึ้นโดยการไปศึกษาและดูงานต่างประเทศเช่น ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น และมี Silicone แท่ง ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นมาจำหน่ายอย่างแพร่หลาย

ต่อมาในระยะ20 ปีหลังมานี้ความนิยมการเสริมจมูกมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบันประชาชนนิยมเสริมจมูกจนเป็นแฟชั่น ถือเป็นเรื่องปกติไม่มีการปิดบังกันอีกต่อไปเหมือนในสมัยแรกที่ทำ

การเสริมจมูกในประเทศไทยนั้นจะใช้ Silicone แท่งรูปตัว I (I Shape Silicone)

siri01

ต่อมาในระยะ10 ปีหลังนี้จะนิยมทำให้จมูกโด่ง ยาว แหลม มากขึ้น

siri02

จึงนิยมใช้ L-Shape Silicone

siri03

แต่อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ภาวะแทรกซ้อนจากการทำจมูก(Augmentation Rhinoplasty) ด้วย Silicone นั้นเปรียบเหมือนการฝังระเบิดซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อใดซึ่งเป็นภาวะที่อาจจะแบ่งได้หลายประการกล่าวคือ
– การบิดเบี้ยวหรือเอียง (Deviation)

siri04

– ภาวะหนังบาง (Skin Atrophy) ซึ่งมีโอกาสทะลุ(Impending) ต่อไป

siri05

– การทะลุผ่านออกทางผิวหนัง (Skin Extrusion)

siri06

อย่างไรก็ดี ณ ที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะเรื่องอันตรายที่ร้ายแรง คือการทะลุ(Extrusion) ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่แพทย์ทุกสาขาที่ได้มีโอกาสพบเห็นคนไข้ จะได้ให้คำแนะนำในการรักษาที่ถูกต้องแก่คนไข้ต่อไป

ระยะแรกที่พบได้คือผิวหนังบาง (Skin Atrophy) แนบกับ Silicone จนเหนแท่ง Silicone ลอยเด่นขึ้นมาและผิวหนังจะสะท้อนแสงเป็นเงาชัดเจน (Visible)

siri07

ระยะที่สองต่อมาจะพบเห็นผิวหนังบริเวณที่จะทะลุเป็นสีแดง (Redness) ซึ่งระยะนี้อาจจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียได้โดยเชื้อโรคจะเข้ามาจากรูขุมขนหรือบริเวณที่หนังเปราะบาง

siri08

ระยะที่สาม จะเห็นผิวหนังอักเสบคล้ายเป็นสิว (Acne) ซึ่เป็นระยะติดเชื้อแลว(Abscess)

siri09

ระยะที่สี่จะเหนรอยแตกของผิวเปนรูเล็กๆ อาจเรียกว่าเป็น Microperforation

siri10

ระยะสุดท้ายจะเห็น Silicone ทะลุผ่านผิวหนัง(Extrusion) ชัดเจน

siri11

สมัยก่อนแพทย์ที่พบเห็นการทะลุเช่นนี้จะให้การรักษาโดยการให้ Antibiotic แล้วถอด Silicone ทิ้งไว้ 3– 6 เดือน อันเป็นการรักษาที่ทำให้เกิดผังผืด (Fibrosis) บริเวณที่ทะลุจนทำ ให้เกิดรูปบิดเบี้ยวผิดปกติจากการหดตัวของผังผืด (Scar Contracture)อันเป็นเหตุให้เกิดแผลเป็นโดยถาวร(PermanentScar and Deformities) ทำให้การผ่าตัดแก้ไขต่อมาทำได้ยากขึ้น

siri12

การแก้ไข้คือการใช้ไขมันปลูกถ่าย (Fat Grafting) ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่มที่พบเห็นปัญหาจากการทะลุ (Extrusion) ดังนี้

1. ให้ Antibiotic ตามต้องการเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค
2. เมื่อแผลแห้งดีแล้ว 3 –5 วัน หลังการให้ยา Antibiotic ก็ให้พิจารณาถอด Silicone ออกให้หมด
3. การนำ Silicone ออกจากจมูกให้เปิดแผลใหม่(Incision) ในรูจมูกด้านขวา (Endonasal)และดึง Silicone ออกให้หมด

siri13

4. ใช้Fat ที่นำมาจากหน้าท้อง, ต้นขา (Donor site), หรือบริเวณอื่นที่มากพอ นำมาคัดแยกเอาส่วนที่เป็นเยื่อไขมัน(Adipose Tissue) ที่มีส่วนประกอบของ SVF (Stromal Vascular Factor) มาใส่ในโพรงของสันจมูก

siri14

5. ติดตามผลการรักษาทุกวัน ใน 7 วันแรกจะพบว่า แผลที่เกิดจากรอยทะลุจะหายภายใน 7 – 14 วัน โดยไม่มี Deformities ผลจากการรักษาและติดตามของคนไข้ในระยะที่ Silicone ทะลุ แล้วรักษาโดยการใช้ Fat Grafting นั้นจะได้ผลดีเกือบ 100 % ซึ่งตรงนี้จะจัดเตรียมรายงานในวารสารการแพทย์ต่างประเทศต่อไป

siri15

และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การใช้ Fat Graft รักษาดังกล่าวจะเป็นมาตรฐานใหม่ของแพทย์ไทยและของเอเชีย หรือของทั้งโลกในอนาคตอันใกล้นี้

 

บทความ นายแพทย์ชลธิศ สินรัชตานันท์
นำเสนอโดย โดดเด่นดอทคอม

เรื่องน่าสนใจ