ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในสังคมออนไลน์ได้มีการทำภาพและข้อความระบุว่าเคยสงสัยเหมือนกันว่าทำไมรูป ร.5 ถึงมีเยอะแยะแทบทุกที่ ทั้งๆ ที่ผ่านมานานแล้ว จนตอนนี้เข้าใจแล้ว ก็เหมือนที่เรารัก ร.9 นั่นแหละ #ฉันเกิดในรัชกาลที่๙ จากเพจคิดถึงกันมั้ย
ทั้งนี้ สมาชิกเฟสบุ๊ค คุณปริญญา เปรมชัย ได้เผยแพร่ภาพฉายาลักษณ์สยามใช้ชื่ออัลบั้มว่า “ผมจะไม่ยอมเก็บรูปเหล่านี้ไว้ดูคนเดียว” ซึ่งเป็นภาพเจ้านายในพระบรมราชจักรีวงศ์ที่หาดูได้ยากมาก
นายกิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวประวัติศาสตร์และราชวงศ์ไทย ซึ่งมีผลงานด้านหนังสือออกมาเป็นจำนวนมาก และได้เคยรวบรวมการสืบเชื้อสายราชสกุลวงศ์แห่งราชวงศ์จักรี
ช่วงเวลาที่ผ่านมา ราชวงศ์จักรีเสด็จขึ้นครองราชสมบัติมาถึง 9 รัชกาล มีราชสกุลวงศ์สืบสายมาถึง 131 ราชสกุล ซึ่งในคราวนี้ถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่สำคัญมาก
แต่เดิมนั้นคนไทยมีแต่ชื่อตัว ยังไม่มีนามสกุลใช้ หากเป็นชาวบ้านทั่วไปก็มักจะใช้ชื่อที่เป็นพยางค์เดียวสั้นๆ หรือใครที่เป็นขุนนางก็จะมีบรรดาศักดิ์ยืดยาว และต้องใส่ชื่อตัวไว้ในวงเล็บท้ายนามบรรดาศักดิ์นั้น เพื่อให้รู้ว่าเป็นใคร ส่วนบรรดาสร้อยพระนามพระราชวงศ์ ก็ล้วนแต่มีสร้อยพระนามสั้นยาวต่างกันไป ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่มีนามสกุลใช้เช่นกัน
ซึ่งถ้าเป็นเจ้านายชั้นหม่อมเจ้าที่มีพระบิดาทรงพระยศเป็นถึงชั้นเจ้าฟ้า ชั้นพระองค์เจ้า หรือเป็นเจ้านายที่ทรงกรม ก็จะใช้การเอ่ยพระนามว่าหม่อมเจ้า….ในสมเด็จเจ้าฟ้า,หม่อมเจ้า…ในพระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า…ในกรม เพื่อให้รู้ว่าทรงเป็นธิดา หรือโอรสของเจ้านายพระองค์ใดเท่านั้น
จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.๖) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตรา พ.ร.บ. ขนานนามสกุลขึ้นเป็นครั้งแรกของสยาม เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2461 นับจากนั้นคนไทยทุกคนจึงมีนามสกุลใช้กันทั่วไป เฉพาะล้นเกล้าฯ ร.๖ ทรงพระราชทานนามสกุลแก่ผู้มาร้องขอทั้งสิ้นประมาณ 6,500 นามสกุล
ภายหลังทรงตรา พ.ร.บ. นามสกุลขึ้นแล้ว ไม่เพียงแต่ชาวบ้านเท่านั้น ที่เริ่มมีนามสกุลของตัวเอง สำหรับราชสกุลวงศ์ในพระราชวงศ์จักรีก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำว่า “ณ กรุงเทพ” ให้ทุกราชสกุลใช้ต่อท้ายนามราชสกุลของเหล่าเชื้อพระวงศ์ที่เป็นชั้นลูกหลานหม่อมหลวงสืบต่อลงมา ถือเป็นการพระราชทานนามสกุลให้บรรดาสายราชสกุลต่างๆ ย้อนหลังจนถึงรัชกาลของพระองค์
ต่อมาวันที่ 6 เม.ย.2468 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้คำว่า “ณ อยุธยา” แทน “ณ กรุงเทพ” ด้วยเหตุผลว่า องค์ปฐมพระบรมราชจักรีวงศ์นี้ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงสืบเชื้อสายมาจากสกุลใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จึงใช้ “ณ อยุธยา” สืบทอดกันมาตามพระราชบัญญัตินับแต่นั้นเรื่อยมา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิธีมุรธาภิเษก
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
โดย ณ ที่นี้จะเริ่มที่สายราชสกุลในรัชกาลที่ 5
เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์” พระราชโอรสลำดับที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงเสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระราชโอรส 32 พระองค์ และพระราชธิดา 44 พระองค์ และที่ได้รับพระราชทานนามสกุลแล้วมีทั้งสิ้น 15 ราชสกุลดังนี้
บริพัตร องค์ต้นราชสกุลคือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์”ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 33 และที่ 2 ในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
จักรพงษ์ องค์ต้นราชสกุลคือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 40 และที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถฯ
มหิดล องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 69 และที่ 7 ในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี
จุฑาธุช องค์ต้นราชสกุลคือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย มีพระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 72 และที่ 8 ในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ
ยุคล องค์ต้นราชสกุลคือ นายพลโท สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ายุคลทิฆัมพร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 41 และที่ 1 ในพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏฯ
กิติยากร องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์” พระราชโอรสลำดับที่ 12 ในเจ้าจอมมารดาอ่วม
รพีพัฒน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์” พระราชโอรสลำดับที่ 14 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ
ประวิตร องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงปราจิณกิติบดี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม” พระราชโอรสลำดับที่ 15 ในเจ้าจอมมารดาแช่ม
จิรประวัติ องค์ต้นราชสกุลคือ จอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช” พระราชโอรสลำดับที่ 17 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาทับทิม
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวง
อาภากร องค์ต้นราชสกุลคือ นายพล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงษ์” พระราชโอรสลำดับที่ 28 และที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด
ฉัตรชัย องค์ต้นราชสกุลคือ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร” ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ 35 ในเจ้าจอมมารดาวาด
เพ็ญพัฒน์ องค์ต้นราชสกุลคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์” พระราชโอรสลำดับที่ 38 และที่ 2 ในเจ้าจอมมารดามรกฎ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า
กระทั่งมาถึง สายราชสกุล ร. 8 และ ร. 9 เมื่อ รัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นจึงมีมติให้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศในขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีด้วยพระชนมายุเพียง 9 พรรษาเท่านั้น
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอ
ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงเป็นโอรสองค์ที่ 2 ของพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงอุ้มพระบาทสมเด็จพระเจ้า
รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนม์ได้ 21 พรรษาและไม่ได้ทรงอภิเษกสมรสจึงไม่มีพระราชโอรสสืบสายสกุล
วันที่ 9 มิถุนายน 2489 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระราชอนุชาธิราชได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอ
ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 4 พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ , สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ สยามมกุฎราชกุมาร , สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี , สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
พร้อมพระราชหัตถเลขา ” ถึง ลูกชายเล็ก”
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจ
พิธีอัญเชิญพระโกศพระบาทสมเ
แหล่งอ้างอิงข้อมูล สืบค้นจาก นายกิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร ผู้เชี่ยวชาญเรื่องราวประวัติศาสตร์และราชวงศ์ไทย และ สมาชิกเฟสบุ๊ค คุณปริญญา เปรมชัย