วันที่ ๑๑ มีนาคม ถือเป็นวันหยุดของอินเดียในเทศกาลเล่นสี (Holi festival) ที่ฉลองกันทั่วประเทศ เเทศกาลสีโฮลี Holi นี้ เป็นเทศกาลเริ่มในช่วงต้นของฤดูใบไม้ผลิ ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงจากหนาว เป็นอากาศร้อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อมนุษย์ต่อสุขภาพและต่อจิตใจของมนุษย์ เพราะเมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยนจากหนาวมาเป็นร้อน คนก็จะไม่สบายเป็นหวัดกันเพราะอากาศเป็นเหตุ ก็ทราบว่าเบื้องหลังเทศกาลนี้มิใช่เพื่อโปรยสีกันเพื่อสนุกสนานอย่างเดียวเท่านั้น แต่คนโบราณได้แฝงเอาธรรมชาติบำบัดเอาไว้ด้วย โดยใช้ผงสีจากพืชและพืชสมุนไพรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีคราม สีเขียว มาโปรยใส่กันทำนองกายบำบัดเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายด้วย
นอกจากนั้น การเปลี่ยนฤดูหนาวเข้าสู่หน้าร้อน ธรรมชาติเองก็เปลี่ยนแปลงสีสันอย่างมาก ดอกไม้สีสันสด บานสะพรั่งเต็มที่ คนอินเดียแต่โบราณ ก็ปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม สีสันที่ใช้จึงเป็นสีที่เกิดตามธรรมชาติแท้ๆ ชาวอินเดียจะเปลี่ยนการแต่งตัวจากเสื้อผ้าหน้าหนาวเป็นหน้าร้อน ส่าหรีสีสันสดใสฉูดฉาด อาหารการกินก็เปลี่ยน…. ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่เขาฉลองกัน จึงเป็นเทศกาลแห่งสีสันที่น่าทึ่งของมนุษย์ที่แสดงถึงความใกล้ชิดธรรมชาติ มองว่าอินเดียนั้นมองเห็นธรรมชาติ จึงปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับธรรมชาติและใกล้ชิดธรรมชาติให้มากที่สุด
ตำนานของ Holi Festival นั้นมีอยู่หลายเรื่อง เช่น เรื่องเจ้าแห่งอสูรนามว่า Hiranyakashyap ได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะ ซึ่งต่อมาด้วยความที่ไม่มีใครฆ่าได้ ทำให้เจ้าอสูรต้องการให้ทุกคนบูชาตนเองเท่านั้นแต่ลูกชายที่ชื่อ Prahlad กลับบูชาแต่พระวิษณุ Lord Vishanu ทำให้อสูรโกรธมาก พยายามหาวิธีทำให้ลูกตัวเองตาย หนึ่งในวิธีคือการหลอกให้ถูกเผา ทั้งเป็น โดยให้ Prahlad เข้าพิธีบูชาไฟพร้อมน้องสาวของตนที่ชื่อ Holika น้องสาวคนนี้ได้รับพรพิเศษว่าไฟไม่สามารถทำร้ายเธอได้ แต่ปรากฏว่าเมื่ออยู่ในกองไฟ เธอกลับถูกเผาไหม้โดย Prahlad กลับไม่เป็นอะไรเลย ที่เป็นเช่นนี้เพราะพรที่เธอได้นั้นมีเงื่อนไขว่าเธอเข้ากองไฟคนเดียว สำหรับ Prahlad นั้นด้วยการยึดมั่นบูชาถึงพระวิษณุเสมอจึงไม่เป็นอะไรจากไฟ การบูชา Holi มาจากคำว่า Holika สื่อความว่าไฟเผา จึงเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเพื่อจะบอกว่าผู้ใดที่ยึดมั่นบูชาพระเจ้าจะไม่เป็นอันตรายและธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ
มีอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของพระกฤษณะที่หลงรักในตัวพระนางที่ชื่อ Radha ความรักระหว่างทั้งสองนั้นลึกซื้งและโรแมนติกมากกล่าวกันว่าพระกฤษณะชอบที่จะเล่นโปรยสีบนตัว Radha จึงกลายมาเป็นประเพณีกันต่อมา นอกจากนั้นก็มีเรื่องของพระศิวะกับนาง Kamadeva ที่รวมความแล้วตำนานต่างๆ สื่อถึงคุณธรรมคือการบูชาที่ดีย่อมนำมาซึ่งความอยู่รอดปลอดภัยของผู้บูชา……นี้ก็เป็นตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาแต่โบราณของอินเดีย
และคนอินเดียปัจจุบัน เมื่อถึงเทศกาลนี้ก็จะกลับบ้าน ไปหาครอบครัว มอบของขวัญให้กันและกัน อันแสดงถึงความมั่นคงและความรักสามัคคีแห่งสถาบันครอบครัวอย่างเหนียวแน่นของอินเดียได้อย่างชัดเจน โดยมีเทศกาล Holi นี้เป็นห่วงเวลาแห่งการแสดงออก
อีกนัยหนึ่งเทศกาลนี้….ในสมัยพุทธกาลน่าจะเรียกว่า พาลนักษัตร คือเทศกาลเล่นของคนพาลทั้งหลาย เพราะว่า บรรดาเด็กหนุ่ม ๆ ทั้งหลาย เมื่อถึงเทศกาลนี้ ก็จะดื่มสิ่งมึนเมากันในวันนี้…และจะเมาได้และทำอะไรตามใจได้ตามเวลาที่กำหนด..ดังนั้นจึงไม่เหมาะโดยประการทั้งปวงที่สุภาพสตรีจะเดินทางออกนอกบ้านในเทศกาลนี้ เท่าที่สังเกตช่วงที่ประกาศเทศกาลHoli ในปีนี้นั้นคือ วันที่ ๑๑ มี.ค. ๒๕๕๒ เริ่มเวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๓.๐๐ น. จะเป็นช่วงเวลาแห่งการปล่อยผี ปล่อยความชั่วร้ายทั้งหลาย จะไม่มีรถยนต์วิ่งเลยสักคัน นอกจากมอเตอร์ไซด์ที่วัยรุ่นอินเดียขับออกมาเล่นสีกัน แม้แต่ชาวต่างชาติ ผู้แสวงบุญต่างก็ต้องงดเว้น การเดินทางในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย เมื่อเลยเวลาที่ประกาศแล้ว ทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม….ฯ
เทศกาล Holi นี้มักจะเล่นสาดสีใส่กันฉลองเทศกาลวันปีใหม่ที่อินเดีย..ถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนเข้าสู่วันพระจันทร์เต็มดวงของฮินดู เป็นนิมิตแห่งชัยขนะสิ่งเลวร้ายทั้งหลาย และฉลองต้อนรับสิ่งดีในปีใหม่ (Holi is also considered a New Year’s celebration! This festival finally arrives on the full moon of the Hindu lunar month of Phagan. The Holi on the Western calendar is March 11, 2009 )