ที่มา: ไทยรัฐ

ตําแหน่งของแผลผ่าตัดในการเสริมเต้านมนั้นเป็นไปได้ 4 ตําแหน่งหลักๆ คือ แผลผ่าตัดในรอยย่นใต้เต้านม (Inframammary Crease) แผลผ่าตัดรอบปานนม (Areola) แผลผ่าตัดที่รักแร้ และแผลผ่าตัดบริเวณสะดือ ซึ่งไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากทํายากและผลการผ่าตัดไม่ดี

500_12

การเลือกตําแหน่งชั้นของเนื้อเยื่อที่จะใส่ซิลิโคนเสริมเต้านม

ซิลิโคนเสริมเต้านมสามารถนําไปวางไว้ได้ในช่องเนื้อเยื่อของร่างกายดังนี้

  1. ใต้เนื้อเต้านมเหนือกล้ามเนื้อ (Subglandularpocket)
  2. ใต้กล้ามเนื้อหน้าอก (Submuscularpocket)
  3. ใต้กล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนและใต้เนื้อเต้านมบางส่วน (Biplanarpocket, Dualplane)

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเสริมเต้านม

เป็นที่ทราบกันดีว่าการทําหัตถการทุกอย่างนั้นมีความเสี่ยงไม่มากก็น้อย การผ่าตัดเสริมเต้านมก็เช่นกัน ก่อนอื่น ควรทําความเข้าใจก่อนว่าภาวะแทรกซ้อนต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ ถึงแม้จะได้รับการผ่าตัดอย่างดีแล้วก็ตาม

  • แผลเป็นที่มองเห็นได้ชัด เช่น แผลเป็นนูน แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid)
  • เลือดออกหน้าอกเขียวช้ำ
  • ภาวะติดเชื้อที่แผลผ่าตัดหรือติดเชื้อรอบซิลิโคนเสริมเต้านม
  • ความรู้สึกบริเวณหัวนมเปลี่ยนแปลงเช่นรู้สึกชา ซึ่งภาวะนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นชั่วคราวแต่บางรายก็เป็นแบบถาวร
  • ภาวะพังผืดหดรัดตัวซึ่งอาจทําให้เต้านมผิดรูปต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
  • ซิลิโคนเหลวหรือน้ําเกลือแตกรั่วออกจากถุงซิลิโคน
  • การย่นตัวเป็นคลื่นของผิวหนังเต้านม
  • ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ
  • อาการปวดจากการผ่าตัดซึ่งส่วนมากจะค่อยๆ ลดลงจนหายไปภายในไม่กี่สัปดาห์หลังผ่าตัดแต่สามารถพบผู้ป่วย บางรายที่ปวดแผลนานกว่าปกติ
  • ความเสี่ยงต่อภาวะเลือดในหลอดเลือดดําที่ขาจับตัวเป็นลิ่มซึ่งในบางรายสามารถหลุดไปที่ปอดได้ (เป็นความเสี่ยง ที่พบได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดประเภทอื่นๆ)
  • มีโอกาสจะต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข !

ปัจจัยอื่นๆ ที่ควรพิจารณา

– ซิลิโคนเสริมเต้านมของทุกบริษัทไม่ได้รับการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน ดังนั้นอาจต้องเตรียมใจสําหรับการผ่าตัดเปลี่ยนซิลิโคนคู่ใหม่ในอนาคต

– รูปร่างของเต้านมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลาหรือภาวะอื่นๆ เช่น การตั้งครรภ์ การลดน้ําหนัก และช่วงที่ ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงหลังจากประจําเดือนหมด เป็นต้น

จากข้อมูลดังกล่าว ผู้ป่วยก็ไม่ควรวิตกกังวลให้มากเกินไป เนื่องจากโอกาสในการเกิดภาวะข้างต้นมีไม่มาก และแทบทุกชนิดมีหนทางในการรักษาและเยียวยาได้ อย่างไรก็ตาม การรู้รายละเอียดของความเสี่ยง จะช่วยให้สามารถรู้เท่าทันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ซึ่งศัลยแพทย์ตกแต่งที่ดีจะต้องนําวิทยาศาสตร์ทางด้านการแพทย์มาร่วมคิดวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลทางศิลปะตามที่คาดหวัง อาทิ ความรู้เรื่องการสมานของแผล กลไกการบวม การอักเสบ การติดเชื้อ การเกิดแผลเป็น เป็นต้น

นายแพทย์กิดากร กิระนันทวัฒน์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เรื่องน่าสนใจ