ศาลเจ้าไต่ฮงกง (เทพเจ้าแห่งสุขภาพ) ต้นตำรับปอเต็กตึ้งในไทย อยู่ทางด้านเหนือของเมืองเฉาหยาง เดิมเป็นสุสานของซ่งไต่ฮงกงโจวซื่อ และได้มีการปฏิสังขรณ์ให้มีอาณาบริเวณกว้างขึ้น ซึ่งที่นี่นั้นถือได้ว่าเป็นที่นับถือของชาวจีนในพื้นที่และชาวจีนโพ้นทะเล ได้รวบรวมกันบริจาคเงินในการซ่อมแซมบูรณะสุสานแห่งนี้จนใหญ่โต สวยงาม และเป็นแหล่งกำเนิดของปอเต็กตึ้งในประเทศไทยด้วย

ศาลเจ้าไต่ฮงกง
ภาพจาก Phachara Phuvanart

ศาลเจ้าไต่ฮงกง (เทพเจ้าแห่งสุขภาพ) ต้นตำรับปอเต็กตึ้งในไทย

ศาลเจ้าไต่ฮงกง อยู่ทางด้านเหนือของเมืองเฉาหยาง เดิมเป็นสุสานของซ่งไต่ฮงกงโจวซื่อ และได้มีการปฏิสังขรณ์ให้มีอาณาบริเวณกว้างขึ้น สิ่งที่ดึงดูดใจผู้คนมากที่สุดคือ ศาลาไต่ฮงกง ซึ่งมีความยาว 22 เมตร. สูง 14 เมตร โดยใช้เสาหินขนาดยักษ์ 16 ตันค้ำไว้ ภายในศาลามีรูปแกะสลักของท่านไต่ฮงกงประดิษฐานอยู่ โดยใช้หยกขาวที่นำเข้ามาจากประเทศพม่ามาแกะสลัก มีความสูงประมาณ 2.8 เมตร น้ำหนักประมาณ 3.5 ตัน เป็นที่นับถือของชาวจีนในพื้นที่และชาวจีนโพ้นทะเล ได้รวบรวมกันบริจาคเงินในการซ่อมแซมบูรณะสุสานแห่งนี้จนใหญ่โต สวยงาม และเป็นแหล่งกำเนิดของปอเต็กตึ้งในประเทศไทยด้วย 

ศาลเจ้าไต่ฮงกง

ตามชีวประวัติของหลวงปู่ไต้ฮง หรือไต้ฮงกงโจวซือ ได้ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุอำเภอเตี้ยเอี้ย เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวไว้ว่า ท่านเกิดที่เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง เมื่อ พ.ศ. 1582 สมัยราชวงศ์ซ่ง จากตระกูลลิ้ม เดิมมีชื่อว่า หลิงเอ้อ ครอบครัวของท่านนั้นสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สิน โดยท่านได้รับการศึกษาทั้งทางวิชาการและพุทธศาสนา จนสามารถสอบได้เป็นบัณฑิตระดับจิ้นซือ (บัณฑิตชั้นเอก) และเข้ารับราชการเป็นนายอำเภอ เมื่ออายุ 54 ปี ได้มาบวชเป็นพระในพุทธศาสนา ปฏิบัติธรรมเผยแพร่ธรรมะเป็นเวลายาวนานในมณฑลฮกเกี้ยน

 

ศาลเจ้าไต่ฮงกง

เมื่อท่านเจริญอายุ ได้ 81 ปี ก็ได้ธุดงค์มาถึงอำเภอเตี้ยเอี้ย เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง เข้าจำพรรษาที่อารามเล่งจั๊วโก๋วยี่ ในปักซัว และต่อมาจึงย้ายไปที่วัดเมี่ยนอันกวน ในตำบลฮั่วเพ้ง ซึ่งมักจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอยู่เป็นประจำ ทั้งเวลามีพายุ น้ำท่วม ไฟไหม้ โรคระบาด ภัยแล้ง ซึ่งจะมีผู้คนล้มตายจำนวนมาก ท่านก็ได้ออกไปช่วยเหลือผู้คนในการเก็บศพไปฝังให้โดยไม่รังเกียจ ทั้งยังตั้งศาลารักษาโรค และจัดหาอาหารสิ่งของให้ผู้ยากไร้ที่เดือดร้อน

 

ศาลเจ้าไต่ฮงกง

วัดของท่านนั้นอยู่ใกล้กับแม่น้ำเหลียงเจียง ทำให้ท่านได้เห็นผู้คนข้ามแม่น้ำเหลียงเจียงที่กว้างใหญ่ถึง 300 วา และมีสายน้ำเชี่ยวกรากตลอดปี ได้เกิดเรือล่มคนจมน้ำตายเสมอๆ ท่านจึงได้ชักชวนชาวบ้านบริจาคกำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อลงมือสร้างสะพานฮั่วเพ้ง เป็นสะพานหินที่มีความยาวมากให้ผู้คนได้ข้ามแม่น้ำอย่างปลอดภัย หลังจากการสร้างสะพานเสร็จสิ้น ท่านก็ได้อาพาธและมรณภาพในปี 1670 สิริรวมอายุได้ 88 ปี

 

ศาลเจ้าไต่ฮงกง

ชาวเมืองจึงได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล และฝังร่างของท่านไว้
และสร้างศาลเจ้าประดิษฐานรูปเหมือนของท่านไว้สักการบูชา
มีนามว่า “ศาลเจ้าป่อเต็กตึ๊ง” มาจนทุกวันนี้

ศาลเจ้าไต่ฮงกง

ภายในบริเวณศาลเจ้านั้น มีสุสานที่ฝังศพของหลวงปู่ไต้ฮง และโต๊ะไม้สำหรับดูดวงอยู่ด้วย
สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดของศาลเจ้านั้น ล้วนเป็นศิลปะจีนที่มีความโหญ่โต และวิจิตรสวยงาม

 

………………………………………………..

ในประเทศไทย ประมาณปีพ.ศ.2453 ชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้เข้ามาอาศัยร่มพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระมหากษัตริย์ไทย ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรสงเคราะห์สาธารณภัย เพื่อเจริญรอยตามกุศลเจตนาของท่านไต้ฮงกงโจวซือ โดยใช้ชื่อว่า “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” หรือที่เรารู้จักกันในนาม “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง” นั่นเอง

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : วิหารเซียน-พัทยา Viharnra Sien

เรียบเรียงเนื้อหาโดย : Dodeden.com

 

 

เรื่องน่าสนใจ