สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ แนะรับมือภัยเสี่ยงลอยกระทง “ประทัด-จมน้ำ-อุบัติเหตุจราจร” ชี้ มีสถิติบาดเจ็บ เป็นรองแค่สงกรานต์ – ปีใหม่
น.พ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า เมื่อย้อนดูสถิติอุบัติเหตุ หรืออัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินย้อนหลังพบว่า เทศกาลลอยกระทง เป็นอีกเดือนที่สถิติการเกิดอุบัติเหตุและอัตราการเจ็บป่วยฉุกเฉินมากเป็น อันดับต้นๆ รองจากช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ เท่านั้น โดยสถิติที่มักเกิดมากที่สุด คือ อุบัติเหตุจากประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ ซึ่งมักเกิดในเด็กอายุ 10 – 14 ปี ดังนั้นการเตรียมพร้อมคือ ผู้ปกครอง ควรอธิบายให้เด็กเข้าใจอันตราย ที่สำคัญ ไม่ควรให้เด็กจุดเล่นเองโดยเด็ดขาด และต้องจำไว้เสมอว่า ระยะปลอดภัยในการยืนดูพลุ คือ ระยะ 10 ม. ขึ้นไป
อย่าง ไรก็ตาม เมื่อได้รับอันตรายจากพลุ ให้รีบแจ้งขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินที่สายด่วน 1669 เพื่อให้นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยใช้ผ้าชุบน้ำ ประคบบริเวณบาดแผล หรือ ให้น้ำไหลผ่าน 10 นาที เพื่อบรรเทาความเจ็บปวด จากนั้นปิดด้วยผ้าสะอาดป้องกันการติดเชื้อ รองลงมาคืออันตรายจากการจมน้ำและตกน้ำ โดยมี 2 สาเหตุหลัก คือ พลัดตกน้ำ และการลงน้ำไปเก็บเศษเงินในกระทง ดังนั้นผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและหากพบคนตกน้ำ จมน้ำควรช่วยเหลือโดยคิดถึงความปลอดภัยตัวเองด้วย
ขอบคุณข่าว innnews.co.th